เมนู

อรรถกถาปฐมสมชีวิสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในปฐมสมชีวิตสูตรที่ 5 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า เตนุปสงฺกมิ ความว่า ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จ
เข้าไปหาเพื่ออะไร ? ตอบว่า เพื่อทรงอนุเคราะห์. แท้จริง พระตถาคต
เมื่อเสด็จไปแว่นแคว้นนั้น ย่อมเสด็จไปเพื่อทรงสงเคราะห์คนทั้งสองนี้เท่านั้น.
ได้ยินว่า นกุลบิดา ได้เป็นบิดาของพระตถาคตมาแล้ว 500 ชาติ เป็นปู่
500 ชาติ เป็นอา 500 ชาติ. แม้นกุลมารดา ก็ได้เป็นมารดามา 500 ชาติ
เป็นย่า 500 ชาติ เป็นน้า 500 ชาติ คนเหล่านั้นได้ความรักเพียงดังบุตร
จำเดิมแต่เวลาตนเห็นพระศาสดา จึงเข้าไปหาแล้วเกิดเป็นโสดาบันด้วยปฐม-
ทัสนะ (การเห็นครั้งแรก) เหมือนแม่โคเห็นลูกโคแล้วติดในลูกโค ร้องอยู่ว่า
หนฺตาต หนฺตาต ดังนี้. ในนิเวศน์เขาจึงได้จัดอาสนะไว้ถวาย แก่ภิกษุ
500 รูปเป็นประจำ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงเสด็จเข้าไปหาเพื่ออนุเคราะห์
คนเหล่านั้นด้วยประการฉะนี้. บทว่า อติจริตา ได้แก่ พระพฤตินอกใจ.
บทว่า อภิสมฺปรายญฺจ ได้แก่ และในโลกหน้า. บทว่า สมสทฺธา ได้แก่
เป็นผู้เสมอ เป็นเช่นเดียวกันด้วยศรัทธา. แม้ในศีลเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.
จบอรรถกถาปฐมสมชีวิสูตรที่ 5

6. ทุติยสมชีวิสูตร


ว่าด้วยภริยา-สามี-หวังพบกัน


[56] สูตรนี้ตรัสแก่ภิกษุ ความเหมือนสูตรก่อน ตอนที่ตรัสสอนว่า
ถ้าภริยาสามีหวังที่จะได้พบกัน ฯลฯ นิคมคาถาก็เหมือนกัน
จบทุติยสมชีวิสูตรที่ 6
ทุติยสมชีวิสูตรที่ 6 ทรงแสดงแก่พวกภิกษุอย่างเดียว. บทที่เหลือ
ในบททั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น.

7. สุปปวาสสูตร


ว่าด้วยนางสุปปวาสาอังคาสพระผู้มีพระภาคเจ้า


[57] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่นิคมของชาวโกลิยะ
ชื่อปัชชเนลนิคม ในโกลิยชนบท ครั้งนั้น เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงครองสบงแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จพระพุทธดำเนินไปนิเวศน์
ของนางสุปปวาสา ธิดาของเจ้าโกลิยะ ประทับ ณ อาสนะที่เขาจัดถวาย
นางสุปปวาสาอังคาสพระผู้มีพระภาคเจ้า บริบูรณ์พอเพียงด้วยขาทนียโภชนี-
ยาหารด้วยตนเอง ครั้นพระองค์เสวยเสร็จ นำพระหัตถ์จากบาตรแล้ว นั่ง
เฝ้าอยู่ในที่สมควรส่วนหนึ่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนสุปปวาสา อริยสาวิกา
เมื่อให้โภชนาหารเป็นทาน ชื่อว่าให้สถาน 9 แก่ปฏิคาหกทั้งหลาย ให้สถาน
4 คืออะไรบ้าง คือ ให้อายุ ให้วรรณะ ให้สุขะ ให้พละ ครั้นให้อายุ
แล้วย่อมเป็นผู้มีส่วน (ได้รับ ) อายุอันเป็นของทิพย์บ้าง ของมนุษย์บ้าง
ครั้นให้วรรณะ...สุขะ...พละแล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วน (ได้รับ) วรรณะ...
สุขะ...พละ อันเป็นของทิพย์บ้าง ของมนุษย์บ้าง ดูก่อนสุปปวาสา อริย-
สาวิกาเมื่อให้โภชนาหารเป็นทาน ชื่อว่าให้สถาน 4 นี้ แก่ปฏิคาหกทั้งหลาย.