เมนู

อรรถกถาสังฆโสภณสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในสังฆโสภณสูตรที่ 7 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า วิยตฺตา ได้แก่ บุคคลผู้ประกอบด้วยปัญญาสามารถ. บทว่า
วินีตา ความว่า ผู้เข้าถึงวินัย อันท่านแนะนำดี. บทว่า วิสารทา ความว่า
ผู้ประกอบด้วยความกล้าหาญ คือญาณสหรคตด้วยโสมนัส. บทว่า ธมฺมธรา
คือ ทรงจำธรรมที่ฟังมาแล้วไว้ได้. บทว่า ภิกฺขุ จ สีลสมฺปนฺโน ความว่า
ในคาถาตรัสคุณแต่ละอย่าง แต่ละบุคคลไว้ก็จริง ถึงอย่างนั้น คุณธรรมทั้งปวง
ก็ย่อมควรแก่ท่านเหล่านั้นแม้ทั้งหมด
จบอรรถกถาสังฆโสภณสูตรที่ 7

8. เวสารัชชสูตร


ว่าด้วยเวสารัชชญาณของตถาคต


[8] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวสารัชชญาณ (ญาณเป็นเหาตุให้กล้าหาญ)
ของตถาคต 4 นี้ ตถาคตประกอบด้วยเวสารัชชญาณเหล่าไรเล่า จึงปฏิญญา
ฐานผู้เป็นโจก เปล่งสิงหนาทในบริษัททั้งหลาย ประกาศพรหมจักร เวสา-
รัชชญาณคืออะไรบ้าง คือเราไม่เห็นนิมิตนี้ว่า สมณะ หรือพราหมณ์ หรือ
เทวดา หรือมาร หรือพรหม หรือใคร ๆ ในโลก จักทักท้วงเราได้โดยชอบ
แก่เหตุ ในข้อว่า

1. ท่านปฏิญญาว่าเป็นสัมมาสัมพุทธะ แต่ธรรมเหล่านี้ท่านยังไม่
รู้แล้ว
2. ท่านปฏิญญาว่าเป็นขีณาสพ แต่อาสวะเหล่านี้ของท่านยังไม่สิ้น
แล้ว
3. ท่านกล่าวธรรมเหล่าใดว่าทำอันตราย ธรรมเหล่านั้น ไม่อาจทำ
อันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริง
4. ท่านแสดงธรรมเพื่อประโยชน์อย่างใด ประโยชน์อย่างนั้นไม่
เป็นทางสิ้นทุกข์โดยชอบแห่งบุคคลผู้ทำตาม
เมื่อไม่เห็นนิมิตอันนี้เสียเลย เราจึงโปร่งใจ จึงไม่ครั้นคร้าม จึง
กล้าหาญ
ภิกษุทั้งหลาย นี้แล เวสารัชชญาณของตถาคต ตถาคตประกอบ
ด้วยเวสารัชชญาณเหล่าไรเล่า จึงปฏิญญาฐานผู้เป็นโจก เปล่งสิงหนาทใน
บริษัททั้งหลาย ประกาศพรหมจักร
ถ้อยความ ที่ผูกแต่งขึ้นเป็นอันมาก
ทุกชนิด และสมณพราหมณ์ทั้งหลายอาศัย
วาทะใด วาทะนั้น มาถึงตถาคตผู้แกล้วกล้า
ผู้ย่ำยีเสียซึ่งวาทะแล้ว ย่อมพ่ายไป ท่านผู้
ใดครอบงำเสียซึ่งวาทะและสมณพราหมณ์
ทั้งสิ้น มีความเอ็นดูในสรรพสัตว์ ประกาศ
ธรรมจักร สัตว์ทั้งหลายย่อมกราบไหว้
ท่านผู้เช่นนั้น ผู้ประเสริฐแห่งเทวดา
และมนุษย์ ผู้ถึงฝั่งแห่งภพ.

จบเวสารัชชสูตรที่ 8

อรรถกถาเวสารัชชสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในเวสารัชชสูตรที่ 8 ดังต่อไปนี้ :-
ในบทว่า เวสารชฺชานิ นี้ ธรรมอัน เป็นปฏิปักษ์ต่อความขลาด
ชื่อว่า เวสารัชชะ ญาณเป็นเหตุให้กล้าหาญ. เวสารัชชะนี้ เป็นชื่อของ
โสมนัสญาณที่เกิดขึ้นแก่ตถาคต ผู้พิจารณาเห็นความไม่มีความขลาดใน
ฐานะ 4. บทว่า อาสภณฺฐานํ ความว่า ฐานะอันประเสริฐ คือฐานะสูงสุด.
หรือพระพุทธเจ้าในปางก่อนทั้งหลายเป็นผู้องอาจ ฐานะของพระพุทธเจ้า
ทั้งหลายเหล่านั้น . อีกนัยหนึ่ง โคจ่าฝูงของโคร้อยตัว ชื่อว่า อุสภะ โคจ่าฝูง
ของโคหนึ่งพันตัว ชื่อว่าวสภะ หรือโคอุสภะ เป็นหัวโจกโคร้อยคอก โค
วสภะเป็นหัวโจกโคพันคอก โคนิสภะ ประเสริฐสุดแห่งใดทั้งหมด อดทน
ต่ออันตรายทุกอย่าง เผือก น่ารัก ขนภาระไปได้มาก ทั้งไม่หวั่นไหวด้วย
เสียงฟ้าร้องร้อยครั้ง พันครั้ง โคนิสภะนั้น ท่านประสงค์ว่า โคอุสภะในที่นี้
นี้เป็นคำเรียกโคอุสภะนั้น โดยปริยาย. ที่ชื่อว่าอาสภะ เพราะฐานะนี้เป็นของ
โคอุสภะ. บทว่า ฐานํ ได้แก่ การเอาเท้าทั้ง 4 ตะกุยแผ่นดินยืนหยัด. ก็
ฐานะนี้ ชื่อว่าอาสภะ เพราะเหมือนการยืนหยัดของโคอุสภะ. โคอุสภะที่นับ
ว่า โคนิสภะ เอาเท้า 4 เท้าตะกุยแผ่นดินแล้ว ยืนหยัดโดยยืนไม่หวั่นไหว
ฉันใด ตถาคตก็ตะกุยแผ่นดินคือบริษัท 8 ด้วยพระบาทคือเวสารัชชญาณ 4
ไม่หวั่นไหวด้วยข้าศึกปัจจามิตรไร ๆ ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก ยืนหยัดโดย
ยืนไม่หวั่นไหวก็ฉันนั้น. ตถาคตเมื่อยืนหยัดอยู่อย่างนี้ จึงปฏิญญาฐานของผู้
องอาจ เข้าถึง ไม่บอกคืน กลับยกขึ้นไว้ในพระองค์ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
อาสภณฺฐานํ ปฏิชานาติ ดังนี้.