เมนู

ภิกษุผู้หนักในความโกรธและความ
ลบหลู่ท่าน หนักในลาภและสักการะ ย่อม
ไม่งอกงามในพระสัทธรรม ดุจพืชที่หว่าน
ในนาเลวฉะนั้น.
ส่วนภิกษุเหล่าใดหนักในพระสัท-
ธรรมแล้ว และกำลังหนักในพระสัทธรรม
อยู่ ภิกษุเหล่านั้นย่อมงอกงามในธรรม
ดุจสมุนไพรได้ปุ๋ยฉะนั้น.

จบทุติยโกธสูตรที่ 4
ในทุติยโกธสูตรที่ 4 บทว่า โกธครุตา แปลว่า ความเป็นผู้หนัก
อยู่ในความโกรธ. ในบททั้งปวงก็นัยนี้นี่แล.

5. ปฐมโรหิตัสสสูตร


ว่าด้วยโรหิตัสสเทวบุตรทูลถามปัญหา


[45] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชต-
วัน อารามของอนาถบิณฑิกคฤหบดี กรุงสาวัตถี ครั้งนั้น เมื่อราตรีล่วง
(ปฐมยาม) แล้ว เทวบุตรชื่อโรหิตัสสะ มีฉวีวรรณงดงาม (ฉายรัศมี)
ยังพระเชตวันให้สว่างไปทั่ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นเข้าไปถึงแล้ว
ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง แล้วกราบทูลถามพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในที่สุดโลกใด สัตว์ไม่เกิดไม่แก่ไม่ตาย

ไม่จุติไม่อุปบัติ บุคคลอาจรู้หรือเห็นหรือไปถึงซึ่งที่สุดนั้นด้วยการเดินทางไป
ได้หรือ.
พ. ตรัสตอบว่า อาวุโส ในที่สุดโลกใดแล สัตว์ไม่เกิดไม่แก่ไม่ตาย
ไม่จุติ ไม่อุปบัติ เรากล่าวว่าที่สุดโลกนั้น บุคคลไม่พึงรู้ไม่พึงเห็นไม่พึงไป
ถึงได้ด้วยการเดินทางไป.
โร. น่าอัศจรรย์จริง พระพุทธเจ้าข้า ข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ถูกต้องตามที่ตรัส ว่า ในที่สุดโลกใดแล สัตว์ไม่เกิดไม่แก่ไม่ตายไม่จุติ
ไม่อุปบัติ เรากล่าวว่าที่สุดโลกนั้น บุคคลไม่พึงรู้ไม่พึงเห็นไม่พึงไป ถึงได้
ด้วยการเดินทางไป ดังนี้ เมื่อก่อนข้าพระพุทธเจ้าเป็นฤษีชื่อโรหิตัสสะ เป็น
บุตรนายบ้าน มีฤทธิ์ไปในอากาศได้ ความเร็วของข้าพระพุทธเจ้านั้นเปรียบ
ได้กับนายขมังธนูผู้กำยำ ได้ฝึกหัดธนูศิลป์แล้วอย่างดีจนชำนิชำนาญสำเร็จ
การยิงแล้ว และยิงลูกธนูอันเบาอันมีการปะทะน้อย ให้ผ่านเงาต้นตาลทาง
ขวางไปฉะนั้น การย่างเท้าก้าวหนึ่งของข้าพระพุทธเจ้าระยะเท่ากับจากสมุทร
เบื้องตะวันออกถึงสมุทรเบื้องตะวันตก ข้าพระพุทธเจ้าผู้มีความเร็วและก้าวเท้า
เห็นปานนี้ มีความปรารถนาเกิดขึ้นว่าจักไปให้ถึงที่สุดโลก เว้นการกิน ดื่ม
เคี้ยว ลิ้ม ถ่ายอุจจาระปัสสาวะ นอนและหยุดพักเหนื่อย ข้าพระพุทธเจ้า
มีอายุ 100 ปี ดำรงชีวิตอยู่ตลอด 100 ปี เดินทางไปจนสิ้น 100 ปี ก็หา
ถึงที่สุดโลกไม่ ตายเสียในระหว่างนั้นเอง น่าอัศจรรย์จริง พระพุทธเจ้าข้า
ข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสถูกต้องดังที่ตรัสว่า ในที่สุดโลกใด สัตว์ไม่เกิด
ไม่แก่ไม่ตายไม่จุติไม่อุปบัติ เรากล่าวว่าที่สุดโลกนั้น บุคคลไม่พึงรู้ไม่พึงเห็น
ไม่พึงไปถึงได้ด้วยการเดินทางไป ดังนี้.
พ. ตรัสย้ำความและไขความว่า อาวุโส ในที่สุดโลกใดแล ไม่เกิด
ไม่แก่ไม่ตายไม่จุติไม่อุปบัติ เรากล่าวว่าที่สุดโลกนั้น บุคคลไม่พึงจะไม่พึงเห็น

ไม่พึงไปถึงได้ด้วยการเดินทางไป แต่เราก็ไม่กล่าวว่า เมื่อยังไม่ถึงที่สุดโลก
แล้วจะทำที่สุดทุกข์ได้ เออ นี่แน่ะอาวุโส เราบัญญัติโลก และโลกสมุทัย
โลกนิโรธ โลกนิโรธคามินีปฏิปทา ในกเลวระ (ร่างกาย) อันยาวประมาณ
1 วา ซึ่งมีสัญญาและมีใจ.
ที่สุดโลก บุคคลไม่พึงถึงได้ด้วย
การเดินทางไป แต่ไหน ๆ มา แต่ว่ายัง
ไม่ถึงที่สุดโลกแล้วจะพ้นทุกข์ได้เป็นไม่มี
เพราะเหตุนั้น ผู้มีปัญญาดีรู้จักโลก ถึงที่
สุดโลก อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว รู้ที่สุดโลก
สงบบาปแล้ว ย่อมไม่ปรารถนาทั้งโลกนี้
ทั้งโลกอื่น.

จบปฐมโรหิตัสสสูตรที่ 5

อรรถกถาปฐมโรหิตัสสสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในปฐมโรหิตัสสสูตรที่ 5 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ยตฺถ ความว่า แผ่นดินให้โอกาสแห่งหนึ่งของโลกในจักรวาล.
บทว่า น จวติ น อุปปชฺชติ นี้ ทรงถือแล้วด้วยอำนาจจุติติและปฏิสนธิ
สืบๆกัน ไป. บทว่า คมเนน คือด้วยการใช้เท้าเดินไป. บทว่า โลกสฺส อนฺตํ
ความว่า พระศาสดาตรัสหมายถึงที่สุดของสังขารโลก. ในบทว่า ญาเตยฺยํ
เป็นต้น ความว่า อันบุคคลพึงรู้ พึงเห็น พึงถึง. ด้วยเหตุนั้น เทพบุตร