เมนู

ภิกษุทั้งหลาย นี้แล สมาธิภาวนา 4.
ก็แล คำที่เรากล่าวในปุณณกปัญหาในปารายนวรรคว่า
ความหวั่นไหวในโลกไหน ๆ ของ
ผู้ใดไม่มี เพราะพิจารณารู้อารมณ์อันยิ่ง
และหย่อนในโลก ผู้นั้นเป็นคนสงบไม่มี
โทษดุจควัน ไม่มีทุกข์ใจ ไม่มีความหวัง
เรากล่าวว่า ข้ามชาติและชราได้แล้ว

ดังนี้นี่ หมายเอาความที่กล่าวมานี้.
จบสมาธิสูตรที่ 1

โรหิตัสสวรรคที่ 5



อรรถกถาสมาธิสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในสมาธิสูตรที่ 1 วรรคที่ 5 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ญาณทสฺสนปฏิลาภาย ความว่า เพื่อได้ญาณทัสนะคือ
ทิพยจักษุ. บทว่า ทิวา สญฺญํ อธิฏฺฐาติ ความว่า ย่อมตั้งความกำหนด-
หมายอย่างนี้ว่า กลางวัน ดังนี้. บทว่า ยถา ทิวา ตถา รตฺตึ ความว่า
ทำในใจถึงอาโลกสัญญาความกำหนดหมายว่าแสงสว่างในเวลากลางวัน ฉันใด
ย่อมทำในใจถึงอาโลกสัญญานั้น แม้ในกลางคืนก็ฉันนั้นนั่นแหละ. แม้ในบท
ที่สองก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า สปฺปภาสํ ได้แก่ มีแสงสว่างคือทิพยจักษุ-
ญาณ แม้ทำจิตให้เป็นเสมือนแสงสว่างได้แล้วก็จริง ถึงกระนั้น บัณฑิตก็พึง

กำหนดเนื้อความอย่างนี้. แต่ในที่นี้ท่านประสงค์แสงสว่างคือทิพยจักษุญาณ.
บทว่า วิทิตา ได้แก่ปรากฏแล้ว . ถามว่า อย่างไร เวทนาที่รู้แล้ว ชื่อว่า
เกิดขึ้น ที่รู้แล้ว ชื่อว่าดับไป. ตอบว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมกำหนดวัตถุ
ย่อมกำหนดอารมณ์ เพราะภิกษุนั้นกำหนดวัตถุและอารมณ์แล้ว เวทนาที่รู้
อย่างนี้ว่า เวทนาเกิดขึ้นอย่างนี้ ตั้งอยู่อย่างนี้ ดับไปอย่างนี้ ชื่อว่าเกิดขึ้น
ที่รู้แล้ว ชื่อว่าตั้งอยู่ ที่รู้แล้ว ชื่อว่าดับไป. แม้ในสัญญาและวิตกก็นัยนี้
เหมือนกัน. บทว่า อุทยพฺพยานุปสฺสี แปลว่า พิจารณาเห็นความเกิดและ
ความเสื่อม. บทว่า อิติ รูปํ ความว่า รูปเป็นอย่างนี้ รูปมีเท่านี้ รูปอื่น
นอกนี้ไม่มี. บทว่า อิติ รูปสฺส สมุทโย ความว่า ความเกิดขึ้นแห่งรูป
เป็นอย่างนี้. ส่วนบทว่า อตฺถงฺคโม ท่านหมายถึงความแตกดับ. แม้ใน
เวทนาเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า อิทญฺจ ปน เม ตํ ภิกฺขเว สนฺธาย ภาสิตํ ความว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำเป็นต้นว่า สงฺขาย โลกสฺมิ ใด เรากล่าวแล้ว
ในปุณณกปัญหา (โสฬสปัญหา) คำนั้นเรากล่าวหมายถึงผลสมาบัตินี้ . ในบท
เหล่านั้น บทว่า สงฺขาย ได้แก่ รู้ด้วยญาณ. บทว่า โลกสฺมิ ได้แก่
ในโลกคือหมู่สัตว์. บทว่า ปโรปรานิ ได้แก่ ความยิ่งและหย่อน คือสูง
และต่ำ. บทว่า อิญชิตํ ได้แก่ ความหวั่นไหว. บทว่า นตฺถิ กุหิญฺจิ
โลเก
ความว่า ความหวั่นไหวของผู้ใด ในที่ไหน ๆ ไม่ว่าจะในขันธ์หนึ่งก็ดี
อายตนะหนึ่งก็ดี ธาตุหนึ่งก็ดี อารมณ์หนึ่งก็ดี ย่อมไม่มีในโลก. บทว่า
สนฺโต ความว่า ผู้นั้นเป็นคนสงบ เพราะสงบกิเลสที่เป็นข้าศึก. บทว่า
วิธูโม ความว่า เป็นผู้ปราศจากกิเลสดุจควัน เพราะควันคือความโกรธ.
ในพระสูตรนี้ ตรัสถึงเอกัคคตาในมรรค ในคาถาตรัสผลสมาบัติอย่างเดียว
ด้วยประการฉะนี้แล.
จบอรรถกถาสมาธิสูตรที่ 1

2. ปัญหาสูตร


ว่าด้วยปัญหาพยากรณ์ 4


[42] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัญหาพยากรณ์ (การกล่าวแก้ปัญหา)
4 อย่างนี้ ปัญหาพยากรณ์ 4 คืออะไรบ้าง คือปัญหาเป็นเอกังสพยากรณียะ
(ต้องแก้โดยส่วนเดียว) 1 ปัญหาเป็นวิภัชชพยากรณียะ (ต้องจำแนกแก้) 1
ปัญหาเป็นปฏิปุจฉาพยากรณียะ (ต้องย้อนถามแล้วจึงแก้) 1 ปัญหาเป็นฐปนียะ
(ต้องงดแก้) 1 ภิกษุทั้งหลาย นี้แล ปัญหาพยากรณ์ 4 อย่าง
ปัญหาพยากรณ์อย่างหนึ่งพึงแก้โดย
ส่วนเดียว อีกอย่างหนึ่งพึงจำแนกแก้
อย่างที่ 3 พึงย้อนถาม ส่วนที่ 4 พึง
งดแก้.
ก็ภิกษุใดรู้การที่จะกล่าวแก้ปัญหา
เหล่านั้นในฐานะนั้น ๆ ท่านเรียกภิกษุเช่น
นั้นว่า ผู้ฉลาดในปัญหา 4.
บัณฑิตผู้มั่นคง ยากที่ใครจะเทียบ
ยากที่ใครจะข่มเป็นผู้ลึกซึ้ง ยากที่ใครจะ
ทำลาย อนึ่งเป็นผู้ฉลาดในทางเจริญทาง
เสื่อมและในประโยชน์ 2 ฝ่าย เว้นทาง
เสื่อมทางที่ไม่เป็นประโยชน์ ถือเอาทาง
เจริญทางที่เป็นประโยชน์ เพราะได้
ประโยชน์ จึงได้ชื่อว่า บัณฑิต.

จบปัญหาสูตรที่ 2