เมนู

ก็ดี ทาผู้มีจิตเลื่อมใสจัดไทยธรรมให้
เป็นของควรบูชาตามสมควรแล้ว บริจาค
ในท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ทั้งหลายซึ่ง
เป็นเนื้อนาดี การบูชา การบริจาคที่
กระทำในท่านเหล่านั้น ผู้เป็นทักษิไณย-
บุคคล ย่อมเป็นการบูชาอย่างดี เป็นการ
บริจาคอย่างดีพร้อมมูล ยัญย่อมมีผล
ไพบูลย์ และเทวดา เลื่อมใส.
ปราชญ์ผู้ศรัทธา มีใจปลอดโปร่ง
(จากความตระหนี่) ครั้นบูชายัญอย่างนี้
แล้ว ย่อมเป็นบัณฑิตเข้าถึงโลกอันไม่มี
ความเบียดเบียนเป็นสุข.

จบอุทายิสูตรที่ 10
จบจักกวรรคที่ 4

อรรถกถาอุทายิสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอุทายิสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อภิสงฺขตํ คือทำให้เป็นกอง. บทว่า นิรารมฺภํ คือ
เว้นความปรารภสัตว์. บทว่า ยญฺญํ คือ ไทยธรรม. ที่จริงไทยธรรมนั้น
เขาเรียกว่า ยัญ เพราะเขาพึงบูชา. บทว่า กาเลน คือ ตามกาลอันควร
คือเหมาะ. บทว่า อุปสํยนฺติ คือย่อมเข้าไปถึง. บทว่า กุลํ คตึ ความว่า

ผู้ก้าวล่วงแล้วซึ่งตระกูลในวัฏฏะ และคติในวัฏฏะ. บทว่า ปุญฺญสฺส โกวิทา
ความว่า ความฉลาดในบุญที่เป็นไปในภูมิ 4. บทว่า ยญฺเญ คือในทาน
ตามปกติ. บทว่า สทฺเธ คือ ในทานอุทิศเพื่อผู้ตาย. บทว่า หุญฺญํ กตฺวา
ความว่า จัดไทยธรรมให้เป็นของควรบูชา. บทว่า สุกฺเขตฺเต พฺรหฺมจาริสุ
ความว่า ในเนื้อนาที่ดี กล่าวคือผู้ประพฤติพรหมจรรย์. บทว่า สมฺปตฺตํ
คือถึงดีแล้ว. บทว่า ทกฺขิเณยฺเยสุ ยํ กตํ ความว่า ยัญที่สำเร็จใน
ทักษิไณยบุคคลผู้สมควร เป็นอันบุคคลบูชา เช่นสรวงถึงดีแล้ว. บทว่า สทฺโธ
ความว่า ชื่อว่า ผู้มีศรัทธา เพราะเธอในคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรมและ
พระสงฆ์. บทว่า มุตฺเตน เจตสา ได้แก่ มีใจสละแล้ว. ท่านแสดงการ
บริจาคด้วยน้ำใจเสียสละด้วยบทนี้แล.
จบอรรถกถาอุทายิสูตรที่ 10
จบจักกวรรควรรณนาที่ 4

รวมพระสูตรในจักกวรรคนี้ คือ


1. จักกสูตร 2. สังคหสูตร 3. สีหสูตร 4. ปสาทสูตร 5.
วัสสการสูตร 6. โทณสูตร 7. อปริหานิสูตร 8. ปฏิลีนสูตร 9. อุช-
ชยสูตร 10. อุทายิสูตร และอรรถกถา.