เมนู

ก็ดี ทาผู้มีจิตเลื่อมใสจัดไทยธรรมให้
เป็นของควรบูชาตามสมควรแล้ว บริจาค
ในท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ทั้งหลายซึ่ง
เป็นเนื้อนาดี การบูชา การบริจาคที่
กระทำในท่านเหล่านั้น ผู้เป็นทักษิไณย-
บุคคล ย่อมเป็นการบูชาอย่างดี เป็นการ
บริจาคอย่างดีพร้อมมูล ยัญย่อมมีผล
ไพบูลย์ และเทวดา เลื่อมใส.
ปราชญ์ผู้ศรัทธา มีใจปลอดโปร่ง
(จากความตระหนี่) ครั้นบูชายัญอย่างนี้
แล้ว ย่อมเป็นบัณฑิตเข้าถึงโลกอันไม่มี
ความเบียดเบียนเป็นสุข.

จบอุทายิสูตรที่ 10
จบจักกวรรคที่ 4

อรรถกถาอุทายิสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอุทายิสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อภิสงฺขตํ คือทำให้เป็นกอง. บทว่า นิรารมฺภํ คือ
เว้นความปรารภสัตว์. บทว่า ยญฺญํ คือ ไทยธรรม. ที่จริงไทยธรรมนั้น
เขาเรียกว่า ยัญ เพราะเขาพึงบูชา. บทว่า กาเลน คือ ตามกาลอันควร
คือเหมาะ. บทว่า อุปสํยนฺติ คือย่อมเข้าไปถึง. บทว่า กุลํ คตึ ความว่า