เมนู

ย่อมฆ่า. บทว่า ยชนฺติ อนุกุลํ สทา ความว่า ชนเหล่าใดย่อมบูชายัญ
ตามตระกูล แม้พวกคนเหล่านั้นเกิดในภายหลัง ก็ยังบูชาตาม เพราะบรรพบุรุษ
ทั้งหลายได้บูชากันมาแล้ว. บทว่า เสยฺโย โหติ แปลว่า ย่อมวิเศษ
แน่แท้. บทว่า น ปาปิโย ได้แก่ ไม่เลวทรามอะไรเลย.
จบอรรถกถาอุชชยสูตรที่ 9

10. อุทายิสูตร


ว่าด้วยอุทายิพราหมณ์ทูลถามปัญหา


[40] ความเหมือนสูตรก่อน ต่างแต่สูตรนี้พราหมณ์ชื่ออุทายิมาเฝ้า
และมีนิคมคาถาดังนี้
พรหมจารีทั้งหลาย ผู้สำรวนแล้ว
ย่อมสรรเสริญยัญ (คือทาน) ที่ไม่มีการ
อันจะต้องเป็นธุระริเริ่มมา จัดทำให้เป็น
กัปปิยะ (คือให้เป็นของควร ปราศจาก
การเบียดเบียนสัตว์) ตามกาล เช่นนั้น.
อนึ่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้มีหลังคา
(คือกิเลส) อันเปิดแล้ว ผู้ก้าวล่วงแล้วซึ่ง
ตระกูลและคติ ผู้ฉลาดในเรื่องบุญ ทรง
สรรเสริญยัญอันนั้น
ในยัญ (คือการบริจาคทานปกติ)
ก็ดี ในศราทธะ (คือทำบุญอุทิศผู้ตาย)

ก็ดี ทาผู้มีจิตเลื่อมใสจัดไทยธรรมให้
เป็นของควรบูชาตามสมควรแล้ว บริจาค
ในท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ทั้งหลายซึ่ง
เป็นเนื้อนาดี การบูชา การบริจาคที่
กระทำในท่านเหล่านั้น ผู้เป็นทักษิไณย-
บุคคล ย่อมเป็นการบูชาอย่างดี เป็นการ
บริจาคอย่างดีพร้อมมูล ยัญย่อมมีผล
ไพบูลย์ และเทวดา เลื่อมใส.
ปราชญ์ผู้ศรัทธา มีใจปลอดโปร่ง
(จากความตระหนี่) ครั้นบูชายัญอย่างนี้
แล้ว ย่อมเป็นบัณฑิตเข้าถึงโลกอันไม่มี
ความเบียดเบียนเป็นสุข.

จบอุทายิสูตรที่ 10
จบจักกวรรคที่ 4

อรรถกถาอุทายิสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอุทายิสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อภิสงฺขตํ คือทำให้เป็นกอง. บทว่า นิรารมฺภํ คือ
เว้นความปรารภสัตว์. บทว่า ยญฺญํ คือ ไทยธรรม. ที่จริงไทยธรรมนั้น
เขาเรียกว่า ยัญ เพราะเขาพึงบูชา. บทว่า กาเลน คือ ตามกาลอันควร
คือเหมาะ. บทว่า อุปสํยนฺติ คือย่อมเข้าไปถึง. บทว่า กุลํ คตึ ความว่า