เมนู

อรรถกถาปฏิลีนสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในปฏิลีนสูตรที่ 8 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปนุณฺณปจฺเจกสจฺโจ ได้แก่ ภิกษุชื่อว่า ผู้มีปัจเจกสัจจะ
อันถ่ายถอนได้แล้ว เพราะว่า ทิฏฐิสัจจะกล่าวคือความเห็นแต่ละอย่าง เพราะ
ยึดถือความเห็นแต่ละอย่าง อย่างนี้ว่า ความเห็นนี้เท่านั้นจริง นี้เท่านั้นจริง
เธอถ่ายถอนคือกำจัดละได้แล้ว. ในบทว่า สมวยสฏฺเฐสโน นี้ บทว่า สมวย
แปลว่า ไม่บกพร่อง. บทว่า สฏฺฐา แปลว่า สละแล้ว ชื่อว่าสมวย-
สฏฺเฐสโน
เพราะละเลิกการแสวงหาโดยสิ้นเชิง อธิบายว่า ผู้ละเลิกการ
แสวงหาหมดทุกอย่างโดยชอบ. บทว่า ปฏิลีโน แปลว่า ผู้หลีกเร้น คืออยู่
ผู้เดียว. บทว่า ปุถุสมณพฺราหฺมณานํ ได้แก่ สมณะเเละพราหมณ์เป็น
อันมาก. ในคำว่า สมณพฺราหฺมณานํ นี้ ก็คนที่เข้าไปบวช ชื่อสมณะ
คนที่กล่าวว่า โภผู้เจริญ ชื่อว่าพราหมณ์.
บทว่า ปุถุปจฺเจกสจฺจานิ ได้แก่ สัจจะแต่ละอย่างเป็นอันมาก.
บทว่า นุณฺณานิ แปลว่า นำออกแล้ว. บทว่า ปนุณฺณานิ แปลว่า นำออก
ดีแล้ว. บทว่า จตฺตานิ แปลว่า สลัดแล้ว. บทว่า วนฺตานิ แปลว่า
คายออกแล้ว. บทว่า มุตฺตานิ คือ ทำเครื่องผูกให้ขาดแล้ว. บทว่า ปหีนานิ
แปลว่า ละได้แล้ว. บทว่า ปฏินิสฺสฏฺฐานิ แปลว่า สละทิ้งไปแล้ว โดย
ที่จะไม่งอกขึ้นที่ใจอีก. บทเหล่านี้ทุกบท เป็นคำใช้แทนความเสียสละ ซึ่งความ
ยึดถือที่ยึดถือไว้แล้ว. บทว่า กาเมสนา ปหีนา โหติ ได้แก่ การแสวงหากาม
เป็นอันละได้แล้วด้วยอนาคามิมรรค. ส่วนการแสวงหาภพ เป็นอันกำลังละด้วย
อรหัตมรรค แม้การแสวงหาพรหมจรรย์ คือ อัธยาศัยที่เป็นไปแล้ว อย่างนี้ว่า
เราจักเสาะแสวงพรหมจรรย์ดังนี้ ก็สงบระงับไปด้วยอรหัตมรรคนั่นเอง. ส่วน
การแสวงหาทิฏฐิพรหมจรรย์ ก็พึงพูดได้ว่า ย่อมระงับไปด้วยโสดาปัตติมรรค
อย่างเดียว. บทว่า เอวํ โข ภิกฺขเว ความว่า กายสังขารระงับแล้วด้วยจตุตถ-