เมนู

โยคะอยู่อย่างนี้ ชื่อว่าเป็นภิกษุยินดีใน
อัปปมาทธรรม หรือเห็นภัยในความประ-
มาทโดยปกติ ย่อมเป็นผู้ไม่พอที่จะเสื่อม
เป็นผู้ปฏิบัติใกล้พระนิพพานทีเดียว.

จบอปริหานิสูตรที่ 7

อรรถกถาอปริหานิสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอปริหานิสูตรที่ 7 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า นิพฺพานสฺเสว สนฺติเก ความว่า ภิกษุประพฤติอยู่ใน
ที่ใกล้พระนิพพานทีเดียว. บทว่า สีเล ปติฏฺฐิโต ได้แก่ ภิกษุตั้งอยู่ใน
ปาฏิโมกขศีล. บทว่า เอวํวิหารี แปลว่า เมื่ออยู่อย่างนี้. บทว่า อาตาปี
คือ ผู้ประกอบด้วยความเพียร. บทว่า โยคกฺเขมสฺส ความว่า เพื่อบรรลุ
คุณอันเกษมจากโยคะ 4 คือพระนิพพาน. บทว่า ปมาเท ภยทสฺสิ วา
ได้แก่ เห็นความประมาทโดยเป็นภัย.
จบอรรถกถาอปริหานิสูตรที่ 7

8. ปฏิลีนสูตร


ว่าด้วยธรรมเป็นเครื่องหลีกเร้น


[38] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถ่ายถอนปัจเจกสัจจะ (ความเห็น
ว่าจริงไปคนละทาง) แล้ว ผู้ละเลิกการแสวงหาสิ้นแล้ว ผู้มีกายสังขารอัน
ระงับแล้ว เราเรียกว่า ผู้มีการหลีกออกแล้ว.
ก็ภิกษุผู้ถ่ายถอนปัจเจกสัจจะแล้วเป็นอย่างไร ? ปัจเจกสัจจะมาก
อย่างแห่งสมณพราหมณ์ทั้งหลายมาก คือเห็นว่าโลกเที่ยงบ้าง ว่าโลกไม่เที่ยง
บ้าง ว่าโลกมีที่สุดบ้าง ว่าโลกไม่มีที่สุดบ้าง ว่าชีพกับสรีระเป็นอัน เดียวกันบ้าง
ว่าชีพกับสรีระต่างกันบ้าง ว่าสัตว์ตายแล้วเกิดอีกบ้าง ว่าสัตว์ตายแล้วไม่เกิด
อีกบ้าง ว่าสัตว์ตายแล้วเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มีบ้าง ว่าสัตว์ตายแล้วเกิดอีกก็
มิใช่ ไม่เกิดอีกก็มิใช่บ้าง ปัจเจกสัจจะทั้งปวงนั้น อันภิกษุในพระธรรมวินัย
นี้ถ่ายถอนแล้ว สละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้วละแล้วทิ้งเสียแล้ว ภิกษุผู้
ถ่ายถอนปัจเจกสัจจะเป็นอย่างนี้แล
ก็ภิกษุผู้ละเลิกการแสวงหาสิ้นแล้วเป็นอย่างไร ? (กาเมสนา) การ
แสวงหากาม ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ละได้แล้ว (ภเวสนา) การแสวงหาภพ
ก็ละได้แล้ว (พฺรหฺมจริเยสนา) การแสวงพรหมจรรย์รำงับไปแล้ว ภิกษุผู้ละ
เลิกการแสวงหาสิ้นแล้วเป็นอย่างนี้แล
ก็ภิกษุผู้มีกายสังขารอันระงับแล้วเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรม
วินัยนี้ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน ได้
จตุตถฌานอันไม่ทุกข์ไม่สุข มีความบริสุทธิ์ด้วยอุเบกขาและสติอยู่. ภิกษุผู้มี
กายสังขารอันระงับแล้วเป็นอย่างนี้แล