เมนู

แน่ะพราหมณ์ ดอกบัวย่อมขึ้นมา
อยู่พ้นน้ำ น้ำไม่กำซาบเข้าไปได้ ฉันใด
เราก็ฉันนั้น โลกไม่เข้ามากำซาบใจเราได้
เพราะฉะนั้น เราจึงเป็น พุทธะ.

จบโทณสูตรที่ 6

อรรถกถาโทณสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในโทณสูตรที่ 6 ดังต่อไปนี้ :-
ในบทว่า อนฺตรา จ อุกฺกฏฺฐํ อนฺตรา จ เสตพยํ นี้ บทว่า
อุกฺกฏฺฐา ได้แก่ นครที่เรียกกันอย่างนี้ เพราะเขาตามคบเพลิงสร้างแล้ว
บทว่า เสตพฺยํ ได้แก่ นครถิ่นเกิดของพระกัสสปสัมมาสัมมุทธเจ้าครั้งอดีต.
ส่วนอันตราศัพท์ใช้ในอรรถว่าเหตุ ขณะ จิต ท่ามกลาง และระหว่าง ใช้ใน
อรรถว่าเหตุ ได้ในบาลีเป็นอาทิว่า ตทนนฺตรํ โก ชาเนยฺย อญฺญตร
ตถาคตา
ใครเล่าจะพึงรู้เหตุนั้น นอกจากพระตถาคตประชุมและว่า ชนา สงฺคมฺม
มนฺเตนฺติ มญฺจ ตญฺจ กิมนฺตรํ พวกชนประชุมปรึกษาเราและท่านถึง
เหตุอะไร ดังนี้. ใช้ในอรรถว่าขณะ ได้ในบาลีเป็นอาทิว่า อทฺทสา มํ ภนฺเต
อญฺญตรา อิตฺถี วิชฺชนฺตริกาย ภาชนํ โธวนฺติ
ท่านขอรับ หญิงคนหนึ่ง
กำลังล้างภาชนะอยู่ ขณะฟ้าแลบ ก็เห็นเรา ดังนี้. ใช้ในอรรถว่าจิต ได้ใน
บาลีเป็นอาทิว่า ยสฺสนฺตรโต น สนฺติ โกปา ความแค้นเคืองย่อมไม่มี
แต่จิตของผู้ใดดังนี้. ใช้ในอรรถว่าท่ามกลาง ได้ในบาลีเป็นอาทิว่า อนฺตรา
โวสานมาปาทิ
ถึงการจบลงในท่ามกลาง ดังนี้. ใช้ในอรรถว่าระหว่าง