เมนู

บทว่า มจฺจุปาสา ปโมจนํ คือทางเป็นที่รอดพ้นจากบ่วงแห่งมัจจุ.
บทว่า ญายํ ธมฺมํ คือมรรคพร้อมด้วยวิปัสสนา. บทว่า ทิสฺวา จ สุตฺวา จ
ความว่า ได้เห็นและได้ฟังแล้วด้วยญาณนั้นเอง. บทที่เหลือในสูตรนี้ง่าย
ทั้งนั้น.
จบอรรถกถาวัสสการสูตรที่ 5

6. โทณสูตร


ว่าด้วยโทณพราหมณ์ทูลถามปัญหา


[36] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จพระพุทธดำเนินทางไกล
อยู่ในระหว่างเมืองอุกกัฏฐะกับเมืองเสตัพยะ แม้โทณพราหมณ์ก็เดิน-
ทางไกล อยู่ในระหว่างเมืองอุกกัฏฐะกับเมืองเสตัพยะ โทณพราหมณ์ได้เห็น
รูปจักรในรอยพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า ประกอบด้วยซี่กำนับ 1,000
มีกง มีดุม บริบูรณ์ด้วยลักษณาการพร้อมสรรพ เห็นประหลาดไม่เคยมี
ชะรอยจักไม่ใช่รอยเท้ามนุษย์
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จแวะไปประทับอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง
ทรงคู้บัลลังก์ ตั้งพระกายตรง ดำรงพระสติไว้จำเพาะหน้า.
โทณพราหมณ์เดินตามรอยพระบาทไป พบพระองค์ ดูผุดผ่อง
น่าเลื่อมใส อินทรีย์สงบ มีพระทัยอันสงบ ได้รับการฝึกฝนและความสงบ
อย่างยอดเยี่ยม มีตนฝึกแล้ว คุ้มครองแล้ว มีอินทรีย์อันรักษาแล้ว เป็นผู้
ประเสริฐ ครั้นแล้ว จึงเข้าไปใกล้แล้วทูลถามว่า ท่านผู้เจริญเป็นเทวดาหรือ.

พ. จรัสตอบว่า เราไม่เป็นเทวดา พราหมณ์.
โทณ. เป็นคนธรรพ์หรือ.
พ. ไม่เป็น.
โทณ. เป็นยักษ์กระมัง.
พ. ไม่เป็น.
โทณ. เป็นมนุษย์สิ.
พ. ไม่เป็น.
โทณ. ข้าพเจ้าถามว่า ท่านเป็นเทวดา...เป็นคนธรรพ์...เป็นยักษ์
เป็นมนุษย์หรือ ท่านก็ตอบว่า ไม่เป็น ๆ ถ้าเช่นนั้นท่านเป็นใครกัน.
พ. พราหมณ์ เราจะพึงเป็นเทวดา...เป็นคนธรรพ์...เป็นยักษ์...
เป็นมนุษย์ เพราะอาสวะเหล่าใดที่เราละไม่ได้ อาสวะเหล่านั้นเราละได้แล้ว
มีมูลอันขาดแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ทำให้ไม่มีในภายหลังแล้ว
มีอัน ไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา นี่แน่ะพราหมณ์ ดอกอุบลก็ดี ดอก
ปทุมก็ดี ดอกบุณฑริกก็ดี เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ แต่ขึ้นมาตั้งอยู่พ้นน้ำ
น้ำไม่กำซาบเข้าไปได้ ฉันใด เราก็ฉันนั้น เกิดในโลก เติบใหญ่มาในโลก
แต่เราอยู่เหนือโลก โลกไม่เข้ามากำซาบ (ใจเรา) ได้ แน่ะพราหมณ์ ท่าน
จงจำเราไว้ว่า เป็นพุทธะ
เราจะพึงได้กำเนิดเป็นเทวดา หรือ
ว่าเป็นคนธรรพ์ผู้เหาะเหินได้ เพราะ
อาสวะใด เราจะพึงได้อัตภาพยักษ์ และ
อัตภาพมนุษย์ เพราะอาสวะใด อาสวะ
เหล่านั้นของเราสิ้นไปแล้ว เราทำลาย ทำ
ให้ขาดสายแล้ว.

แน่ะพราหมณ์ ดอกบัวย่อมขึ้นมา
อยู่พ้นน้ำ น้ำไม่กำซาบเข้าไปได้ ฉันใด
เราก็ฉันนั้น โลกไม่เข้ามากำซาบใจเราได้
เพราะฉะนั้น เราจึงเป็น พุทธะ.

จบโทณสูตรที่ 6

อรรถกถาโทณสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในโทณสูตรที่ 6 ดังต่อไปนี้ :-
ในบทว่า อนฺตรา จ อุกฺกฏฺฐํ อนฺตรา จ เสตพยํ นี้ บทว่า
อุกฺกฏฺฐา ได้แก่ นครที่เรียกกันอย่างนี้ เพราะเขาตามคบเพลิงสร้างแล้ว
บทว่า เสตพฺยํ ได้แก่ นครถิ่นเกิดของพระกัสสปสัมมาสัมมุทธเจ้าครั้งอดีต.
ส่วนอันตราศัพท์ใช้ในอรรถว่าเหตุ ขณะ จิต ท่ามกลาง และระหว่าง ใช้ใน
อรรถว่าเหตุ ได้ในบาลีเป็นอาทิว่า ตทนนฺตรํ โก ชาเนยฺย อญฺญตร
ตถาคตา
ใครเล่าจะพึงรู้เหตุนั้น นอกจากพระตถาคตประชุมและว่า ชนา สงฺคมฺม
มนฺเตนฺติ มญฺจ ตญฺจ กิมนฺตรํ พวกชนประชุมปรึกษาเราและท่านถึง
เหตุอะไร ดังนี้. ใช้ในอรรถว่าขณะ ได้ในบาลีเป็นอาทิว่า อทฺทสา มํ ภนฺเต
อญฺญตรา อิตฺถี วิชฺชนฺตริกาย ภาชนํ โธวนฺติ
ท่านขอรับ หญิงคนหนึ่ง
กำลังล้างภาชนะอยู่ ขณะฟ้าแลบ ก็เห็นเรา ดังนี้. ใช้ในอรรถว่าจิต ได้ใน
บาลีเป็นอาทิว่า ยสฺสนฺตรโต น สนฺติ โกปา ความแค้นเคืองย่อมไม่มี
แต่จิตของผู้ใดดังนี้. ใช้ในอรรถว่าท่ามกลาง ได้ในบาลีเป็นอาทิว่า อนฺตรา
โวสานมาปาทิ
ถึงการจบลงในท่ามกลาง ดังนี้. ใช้ในอรรถว่าระหว่าง