เมนู

คนใดละกิเลส 5 ประการ (คือ
สังโยชน์เบื้องต่ำ) ได้แล้ว เป็นพระเสขะ
บริบูรณ์ มีอันไม่เสื่อมคลายเป็นธรรมดา
ได้วสีทางใจ มีอินทรีย์อันมั่นคง คนนั้น
ท่านเรียกว่า ผู้ตั้งตัวได้แล้ว เพราะได้
ตรัสรู้แล้ว ธรรมทั้งหลายทั้งยิ่งและหย่อน
ของบุคคลใด สิ้นไปดับไป ไม่มีอยู่
บุคคลนั้น เป็นผู้บรรลุซึ่งยอดความรู้
สำเร็จพรหมจรรย์ ถึงที่สุดโลก เรียกว่าผู้
ถึงฝั่งแล้ว.

จบอนุโสตสูตรที่ 5

อรรถกถาอนุโสตสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอนุโสตสูตรที่ 5 ดังต่อไปนี้ :-
บุคคลชื่อว่า อนุโสตคามี เพราะไปตามกระแส. ชื่อว่าปฏิโสต
คามี
เพราะไปทวนกระแสของกระแสคือกิเลส โดยการปฏิบัติที่เป็นข้าศึก.
บทว่า ฐิตตฺโต คือมีภาวะตั้งตนได้แล้ว. บทว่า ติณฺโณ ได้แก่ ข้ามโอฆะ
ตั้งอยู่แล้ว. บทว่า ปารคโต ได้แก่ ถึงฝั่งอื่น. บทว่า ถเล ติฏฺฐติ ได้แก่
อยู่บนบก คือนิพพาน. บทว่า พฺราหฺมโณ ได้แก่ เป็นผู้ประเสริฐ หาโทษ
มิได้. บทว่า อิธ แปลว่า ในโลกนี้. บทว่า กาเม จ ปฏิเสวติ ได้แก่
ส้องเสพวัตถุกามด้วยกิเลสกาม. บทว่า ปาปญฺจ กมฺมํ กโรติ ได้แก่

ย่อมทำกรรมมีปาณาติบาตเป็นต้น อันเป็นบาปะ บทว่า ปาปญฺจ กมฺมํ น
กโรติ
ได้แก่ ไม่ทำกรรมคือเวร 5. บทว่า อยํ วุจฺจติ ภิกฺขเว ฐิตตฺโต
ความว่า อนาคามีบุคคลนี้ ชื่อว่า ตั้งตนได้แล้ว ด้วยอำนาจการไม่กลับมา
จากโลกนั้น โดยถือปฏิสนธิอีก.
บทว่า ตณฺหาธิปนฺนา ความว่า เหล่าชนที่ถูกตัณหางำ คือครอบไว้
หรือเข้าถึง คือหยั่งลงสู่ตัณหา. บทว่า ปริปุณฺณเสกฺโข ได้แก่ ตั้งอยู่ใน
ความบริบูรณ์ด้วยสิกขา. บทว่า อปริหานธมฺโม ได้แก่ มีอันไม่เสื่อมเป็น
สภาวะ. บทว่า เจโตวสิปฺปตฺโต ได้แก่ เป็นผู้ชำนาญทางจิต. บุคคลเห็น
ปานนี้ ย่อมเป็นพระขีณาสพ. แต่ในข้อนี้ ตรัสแต่อนาคามีบุคคล. บทว่า
สมาหิตินฺทฺริโย ได้แก่ ผู้มีอินทรีย์หกมั่นคงแล้ว. บทว่า ปโรปรา ได้แก่
ธรรมอย่างสูงและอย่างเลว อธิบายว่า กุศลธรรมและอกุศลธรรม. บทว่า
สเมจฺจ ได้แก่ มาพร้อมกันด้วยญาณ. บทว่า วิธูปิตา ได้แก่ อันท่าน
กำจัดหรือเผาเสียแล้ว. บทว่า วุสิตพฺรหฺมจริโย ความว่า อยู่จบมรรค
พรหมจรรย์. บทว่า โลกนฺตคู ความว่า ถึงที่สุดแห่งโลกทั้งสาม. บทว่า
ปารคโต ความว่า ผู้ถึงฝั่งด้วยอาการ 6. ในข้อนี้ตรัสแต่พระขีณาสพเท่านั้น
แต่วัฏฏะและวิวัฏฏะ (โลกิยะและโลกุตระ) ตรัสไว้ทั้งในพระสูตร ทั้งในคาถา
ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาอนุโสตสูตรที่ 5

6. อัปปสุตสูตร


ว่าด้วยบุคคลผู้มีสุตะ 4 จำพวก


[6] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล 4 จำพวกมีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล 4 คือใคร คือ บุคคลผู้สดับน้อย (เรียนน้อย) ทั้งไม่ได้ประโยชน์
เพราะการสดับ 1 บุคคลผู้สดับน้อย แต่ได้ประโยชน์เพราะการสดับ 1 บุคคล
ผู้สดับมาก (เรียนมาก) แต่ไม่ได้ประโยชน์เพราะการสดับ บุคคลผู้สดับ
มาก ทั้งได้ประโยชน์เพราะการสดับ
บุคคลผู้สดับน้อย ทั้งไม่ได้ประโยชน์เพราะการสดับเป็นอย่างไร ?
(นวังคสัตถุศาสนา คำสอนของพระศาสดามีองค์ 9 คือ) สุตตะ เคยยะ
เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมมะ เวทัลละ
บุคคลบางตนในโลกนี้ได้สดับน้อย ทั้งเขาหารู้อรรถ (คือเนื้อความ) รู้ธรรม
(คือบาลี) แห่งคำสอนอันน้อยที่ได้สดับนั้น แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
ไม่ บุคคลผู้สดับน้อย ทั้งไม่ได้ประโยชน์เพราะการสดับ เป็นอย่างนี้แล.
บุคคลผู้สดับน้อย แต่ได้ประโยชน์เพราะการสดับเป็นอย่างไร ?
(นวังคสัตถุศาสนา คำสอนของพระศาสดามีองค์ 9 คือ) สุตตะ ฯลฯ เวทัลละ
บุคคลบางตนในโลกนี้ได้สดับน้อย แต่เขารู้อรรถรู้ธรรมแห่งคำสอนอันน้อย
ที่ได้สดับนั้นแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม บุคคลผู้สดับน้อย แต่ได้
ประโยชน์เพราะการสดับ เป็นอย่างนี้แล.
บุคคลผู้สดับมาก แต่ไม่ได้ประโยชน์เพราะการสดับเป็นอย่างไร ?
(นวังคสัตถุศาสนา คำสอนของพระศาสดามีองค์ 9 คือ) สุตตะ ฯลฯ เวทัลละ
บุคคลบางคนในโลกนี้ได้สดับมาก แต่เขาหารู้อรรถรู้ธรรมแห่งคำสอนเป็นอัน