เมนู

อรรถกถาสังคหสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในสังคหสูตรที่ 2 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สงฺคหวตฺถูนิ คือเหตุแห่งการสงเคราะห์กัน. ในบทว่า
ทานญฺจ เป็นอาทิ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้. ก็บุคคลบางต้นควรรับสงเคราะห์
ด้วยทานอย่างเดียว ก็พึงให้ทานอย่างเดียวแก่เขา. บทว่า เปยฺยวชฺชํ คือ
พูดคำน่ารัก. จริงอยู่ บุคคลบางคนพูดว่า ผู้นี้ให้สิ่งที่ควรให้ แต่ด้วยคำ ๆ
เดียว เขาก็พูดลบหลู่หมดทำให้เสียหาย เขาให้ทำไม ดังนี้. บางคนพูดว่า ผู้นี้
ไม่ให้ทานก็จริง ถึงดังนั้น เขาก็พูดได้ระรื่นเหมือนเอาน้ำมันทา. ผู้เช่นนั้น
จะให้ก็ตามไม่ให้ก็ตาม แต่ถ้อยคำของเขา ย่อมมีค่านับพัน. บุคคลเห็นปานนี้
ย่อมไม่หวังการให้ ย่อมหวังแต่ถ้อยคำที่น่ารักอย่างเดียว ควรกล่าวแต่คำที่
น่ารักแก่เขาเท่านั้น. บทว่า อตฺถจริยา คือพูดแต่เรื่องที่เป็นประโยชน์และ
ทำความเจริญ. จริงอยู่ บางคนมิใช่หวังแต่ทานการให้ มิใช่หวังแต่ปิยวาจา
ถ้อยคำที่น่ารัก หากหวังแต่การพูดที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลการพูดที่ทำความ
เจริญแก่ตนถ่ายเดียว. พึงกล่าวแต่เรื่องบำเพ็ญประโยชน์แก่บุคคลผู้เห็นปานนั้น
อย่างนี้ว่า ท่านควรทำกิจนี้ ไม่ควรทำกิจนี้ บุคคลเช่นนี้ควรคบ เช่นนี้ไม่
ควรคบ. บทว่า สมานตฺตตา คือความเป็นผู้มีสุขมีทุกข์เสมอกัน. จริงอยู่
บุคคลบางคน ย่อมไม่หวังสังคหวัตถุมีทานเป็นต้น แม้แต่อย่างหนึ่ง หากหวัง
ความร่วมสุขร่วมทุกข์อย่างนี้ คือนั่งบนอาสนะเดียวกัน นอนบนเตียงเดียวกัน
บริโภคร่วมกัน. ถ้าเขาเป็นคฤหัสถ์ย่อมเสมอกันโดยชาติ บรรพชิตย่อมเสมอ
กันโดยศีล ความวางตนสม่ำเสมอนี้ ควรทำแก่บุคคลนั้น.

บทว่า ตตฺถ ตตฺถ ยถารหํ ความว่า ความวางตนสม่ำเสมอใน
ธรรมนั้น ๆ ตามสมควร. บทว่า รถสฺสาณีว ยายโต ความว่า สังคหธรรม
เหล่านี้ ย่อมยึดเหนี่ยวโลกไว้ได้ เหมือนสลัก (ที่หัวเพลา) ย่อมยึดรถที่แล่น
ไปอยู่ คือย่อมยึดยาน (คือรถ) ไว้ได้ฉะนั้น. บทว่า น มาตา ปุตฺตการณา
ความว่า ถ้ามารดาไม่พึงทำการสงเคราะห์เหล่านั้นแก่บุตรไซร้ ท่านก็ไม่พึง
ได้รับความนับถีอ หรือบูชา เพราะบุตรเป็นเหตุ. บทว่า สงฺคหา เอเต
เป็นปฐมาวิภัติใช้ในอรรถทุติยาวิภัติ อนึ่ง ปาฐะว่า สงฺคเห เอเต ก็มี.
บทว่า สมเวกฺขนฺติ คือ ย่อมพิจารณาเห็นโดยชอบ. บทว่า ปาสํสา จ
ภวนฺติ
คือ ย่อมเป็นผู้ควรสรรเสริญ.
จบอรรถกถาสังคหสูตรที่ 2

3. สีหสูตร


ว่าด้วยพระตถาคตเป็นผู้มีฤทธิ์มาก


[33] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ราชสีห์ออกจากที่อาศัยในเวลาเย็น สลัด-
กายแล้ว มองไปรอบทั้ง 4 ทิศ แผดเสียงขึ้น 3 ครั้ง แล้ว จึงออกไปหาเหยื่อ
ฝ่ายเหล่าสัตว์เดียรัจฉานได้ยินเสียงแผดของราชสีห์ โดยมากย่อมบังเกิดความ
กลัว สยอง หวาดสะดุ้ง จำพวก (พิลาสัย) อยู่ในปล่องในโพรง ก็เข้าปล่อง
เข้าโพรง จำพวก (อุทกาสัย) อยู่ในน้ำ ก็ลงน้ำ จำพวก (วนาสัย) อยู่ใน
ป่าในรก ก็เข้าป่าเข้ารก จำพวก (ปักษี) มีปีกก็บินขึ้นอากาศ แม้แต่
ช้างหลวงที่เขาผูกไว้ด้วยเชือกหนังอันเหนียวแน่น ในคามนิคมและราชธานี
ทั้งหลาย ก็กระชากเครื่องผูกยับเยิน กลัวจนมูตรคูถไหล วิ่งเตลิดไปไม่รู้ว่า