เมนู

ควรหลีกคนบอดและคนตาเดียวเสีย
ให้ไกล ควรคบแต่คนสองตาซึ่งเป็นบุคคล
ประเสริฐ.

จบอันธสูตรที่ 9

อรรถกถาอันธสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในอันธสูตรที่ 9 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า จกฺขุ น โหติ ได้แก่ไม่มีปัญญาจักษุ. บทว่า ผาตึ
กเรยฺย
ความว่า พึงทำโภคะ (ที่ได้มาแล้ว) ให้คงอยู่ คือ ให้เจริญ
บทว่า สาวชฺชานวชฺเช ได้แก่ ธรรมที่มีโทษ และไม่มีโทษ บทว่า
หีนปฺปณีเต ได้แก่ ธรรมขั้นต่ำ และขั้นสูง. บทว่า กณฺหสุกฺกสปฺปฏิภาเค
ความว่า ธรรมดำและธรรมขาวนั่นเอง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มีความ
เป็นปฏิภาคกัน โดยเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน เพราะขัดขวางกันและกัน. ก็ในบทนี้
มีความย่อดังต่อไปนี้ บุคคลพึงรู้จักกุศลธรรมว่า เป็นกุศลธรรม. พึงรู้จัก
อกุศลธรรมว่า เป็นอกุศลธรรม. แม้ในบทมีอาทิว่า ธรรมที่มีโทษเป็นต้น
ก็มีนัย นี้แล. ส่วนในธรรมที่มีความเป็นปฏิภาคกัน ทั้งธรรมดำและธรรมขาว
ธรรมดำ บุคคลพึงรู้ว่า มีความเป็นปฏิภาคกับธรรมขาว ธรรมขาว บุคคล
พึงรู้ว่า เป็นปฏิภาคกับธรรมดำ ด้วยปัญญาจักษุใด จักษุแม้เห็นปานนั้นของ
บุคคลนั้นไม่มี นักศึกษาพึงทราบความหมาย แม้ในวาระที่เหลือโดยนัย

ดังกล่าวมานี้แล.
บทว่า น เจว โภคา ตถารูปา ความว่า แม้โภคะชนิดนั้น ย่อม
ไม่มีแก่บุคคลนั้น. บทว่า น จ ปุญฺญานิ กุพฺพติ ความว่า และเขา
ย่อมไม่ทำบุญ. ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ เป็นอันตรัสถึงความไม่มีแห่งจักษุที่
เป็นเหตุให้โภคะเกิดขึ้น และจักษุที่ทำให้เกิดญาณ (ปัญญาจักษุ). บทว่า
อุภยตฺถ กลิคฺคโห ได้แก่ ถือผิด อธิบายว่า ถือพลาดในโลกทั้ง 2 คือ
ในโลกนี้ และในโลกหน้า. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อุภยตฺถ กลิคฺคโห คือ
ถือประโยชน์ทั้ง 2 คือที่เป็นไปในทิฎฐธรรม และสัมปรายภพว่าเป็นโทษ
อธิบายว่า ถือเป็นความผิด. บทว่า ธมฺมามฺเมน ได้แก่ ด้วยธรรมคือ
กุศลกรรมบถ 10 บ้าง ด้วยธรรมคือ อกุศลกรรมบถ 10 บ้าง. บทว่า
สโฐ ได้แก่ มักโอ่. บทว่า โภคานิ ปริเยสติ คือ แสวงหาโภคะทั้งหลาย.
บทว่า เถยฺเยน กูฏกมฺเมน มุสาวาเทน จูภยํ ความว่า แสวงหา
โภคะทั้งหลายด้วยกรรมทั้งสอง ในบรรดากรรมมีไถยกรรมเป็นต้น. ถามว่า
แสวงหาด้วยกรรมทั้งสองอย่างไร. ตอบว่า อย่างนี้คือ แสวงหาโภคะทั้งหลาย
ด้วยไถยกรรม (การลักขโมย) และกูฏกรรม (การฉ้อโกง) ได้แก่ แสวงหา
ด้วยไถยกรรมและมุสาวาท และแสวงหาด้วยกูฏกรรม และมุสาวาท. บทว่า
สงฺฆาตุํ แปลว่า เพื่อรวบรวม. บทว่า ธมฺมลทฺเธหิ ได้แก่ ที่ได้มาโดย
ไม่ให้เสียธรรม คือกุศลกรรมบถสิบ. บทว่า อุฏฺฐานาธิคตํ คือ ที่ได้มา
ด้วยความเพียร. บทว่า อพฺยคฺคมานโส คือมีจิตปราศจากวิจิกิจฉา. บทว่า
ภทฺทกํ ฐานํ คือ สถานที่ที่ดีที่สุด ได้แก่ เทวสถาน. บทว่า น โสจติ
คือไม่เศร้าโศกด้วยความเศร้าโศกภายใน ในที่ใด.
จบอรรถกถาอันธสูตรที่ 9

10. อวกุชชิตสูตร



ว่าด้วยผู้มีปัญญา 3 จำพวก



[469] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล 3 นี้ มีอยู่ในโลก บุคคล 3
คือใคร คือ บุคคลปัญญาดังหม้อคว่ำ บุคคลปัญญาดังหน้าตัก บุคคล
ปัญญามาก

บุคคลปัญญาดังหม้อคว่ำเป็นอย่างไร. บุคคลลางคนในโลกนี้ไปวัด
เพื่อฟังธรรมในสำนักภิกษุทั้งหลายเนือง ๆ ภิกษุทั้งหลายแสดงธรรมอันงามใน
เบื้องต้น อันงามในท่ามกลาง อันงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้ง
อรรถทั้งพยัญชนะแจ่มแจ้งเต็มที่แก่บุคคลนั้น เขานั่ง ณ ที่นั่งนั้นไม่ใส่ใจถึง
เบื้องต้น ... ท่ามกลาง ... ที่สุดแห่ง (ธรรม) กถานั้นเลย แม้ลุกไปจาก
ที่นั่งนั้นแล้ว ก็ไม่ใส่ใจถึง... เปรียบเหมือนหม้อคว่ำ น้ำที่บุคคลราดลงไป
บนหม้อนั้น ย่อมไหลไปไม่ขังอยู่ ฉันใด บุคคลลางคนในโลกนี้ ไปวัดเพื่อ
ฟังธรรมในสำนักภิกษุทั้งหลายเนือง ๆ ฯลฯ ก็ไม่ใส่ใจถึง ... ฉันนั้น นี่ ภิกษุ
ทั้งหลาย เราเรียกว่า บุคคลปัญญาดังหม้อคว่ำ
ก็บุคคลปัญญาดังหน้าตักเป็นอย่างไร. บุคคลลางคนในโลกนี้ ไปวัด
เพื่อฟังธรรมในสำนักภิกษุทั้งหลายเนือง ๆ ภิกษุทั้งหลายแสดงธรรมอันงามใน
เบื้องต้น อันงามในท่ามกลาง อันงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้ง
อรรถทั้งพยัญชนะแจ่มแจ้งเต็มที่แก่บุคคลนั้น เขานั่ง ณ ที่นั่งนั้น ใส่ใจทั้ง
เบื้องต้น ... ทั้งท่ามกลาง ... ทั้งที่สุดแห่ง (ธรรม) กถานั้น ลุกจากที่นั่งนั้น
แล้วไม่ใส่ใจ ... เปรียบเหมือนของเคี้ยวต่าง ๆ วางรายอยู่บนหน้าตักของคน
เช่น งา ข้าวสาร แป้ง พุทรา คนนั้นเผลอตัวลุกขึ้นจากที่นั่งนั้น ( ของ