เมนู

ว่ารู้ ไม่เห็น ก็กล่าวว่าไม่เห็น เห็น ก็กล่าวว่าเห็น ไม่เป็นผู้กล่าวเท็จทั้งรู้
เพราะเห็นแก่ตนบ้างฯลฯ ดังนี้ นี่ ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกว่า บุคคลปุปผภาณี
ก็บุคคลมธุภาณีเป็นอย่างไร บุคคลลางตนในโลกนี้ เป็นผู้ละวาจา
หยาบ เว้นจากวาจาหยาบแล้ว วาจาใดไม่มีโทษ สบายหู น่าดูดดื่มจับใจ
เป็นคำชาวเมือง เป็นที่ใคร่ ... ที่พอใจแห่งชนมาก เป็นผู้กล่าววาจาอย่างนั้น
นี่ ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกว่า บุคคลมธุภาณี
นี้แล ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 3 มีอยู่ในโลก.
จบคูถภาณีสูตรที่ 8

อรรถกถาคูถภาณีสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในคูถภาณีสูตรที่ 8 ดังต่อไปนี้ :-
บุคคลใด กล่าวถ้อยคำส่งกลิ่นเหม็นเหมือนคูถ บุคคลนั้น ชื่อว่า
คูถภาณี. บุคคลใด กล่าวถ้อยคำส่งกลิ่นหอมเหมือนดอกไม้ บุคคลนั้น
ชื่อว่า ปุปผภาณี. บุคคลใด กล่าวถ้อยคำอ่อนหวานเหมือนน้ำผึ้ง บุคคลนั้น
ชื่อว่า มธุภาณี.
บทว่า สภาคโต คืออยู่ในสภา. บทว่า ปริสคโต คืออยู่ในหมู่
ชาวบ้าน. บทว่า ญาติมชฺฌคโต คืออยู่ในท่ามกลางทายาททั้งหลาย. บทว่า
ปูคมชฺฌคโต คืออยู่ในท่ามกลางเสนาทั้งหลาย. บทว่า ราชกุลมชฺฌคโต
คืออยู่ในท่ามกลางราชตระกูล คือ ในท้องพระโรง สำหรับวินิจฉัยของหลวง.

บทว่า อภินีโต คือ ถูกนำไปเพื่อต้องการจะซักถาม. บทว่า สกฺขิปุฏฺโฐ
คือถูกเขาอ้างให้เป็นพยาน แล้วซัก. บทว่า เอวํ โภ ปุริส นี้ เป็นอาลปนะ.
บทว่า อตฺตเหตุ วา ปรเหตุ วา ได้แก่ เพราะเหตุแห่งอวัยวะ มีมือ
และเท้าเป็นต้น ของตนหรือของบุคคลอื่น. ลาภ ท่านประสงค์เอาว่า อามิส
ในบทว่า อามิสกิญฺจิกฺขเหตุ วา นี้. บทว่า กิญฺจิกฺขํ ได้แก่ สิ่งของ
นิด ๆ หน่อย ๆ คือของเล็กน้อย อธิบายว่า เหตุแห่งอามิส โดยที่สุดแม้
เพียงนกกระทา นกคุ่ม ก้อนเนยใส และก้อนเนยข้น เป็นต้น. บทว่า
สมุปชานมุสา ภาสิตา โหติ ความว่า กล่าวมุสาวาททั้งที่รู้ ๆ.
โทษเรียกว่า เอละ ในบทว่า เนลา. วาจา ชื่อว่า เนลา
เพราะหมายความว่า ไม่มีโทษ อธิบายว่า หมดโทษ. วาจาไม่มีโทษเหมือนศีล
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ในคาถานี้ว่า. เนลงฺโค เสตปจฺฉาโท.
วาจา ชื่อว่า กัณณสุขา ได้แก่วาจาที่สบายหู เพราะมีพยัญชนะ
ไพเราะ. วาจานั้น ไม่ให้เกิดการเสียดแทงหู เหมือนใช้เข็มแทงฉะนั้น.
วาจา ชื่อว่า เปมนียา เพราะหมายความว่า ให้เกิดความรัก ไม่ให้
เกิดความโกรธ ทั่วทั้งร่างกาย เพราะมีอรรถไพเราะฉะนั้น.
วาจา ชื่อว่า หทยังคมา เพราะหมายความว่า ถึงใจคือไม่กระทบ
กระทั่ง เข้าไปสู่จิตโดยสะดวก
วาจา ชื่อว่า โปรี เพราะหมายความว่า มีในเมือง เพราะบริบูรณ์
ด้วยคุณ. อนึ่ง วาจา ชื่อว่า โปรี เพราะหมายความว่า ละเอียดอ่อนดี
เหมือนนารีที่เจริญเติบโตในเมือง ฉะนั้น. อนึ่ง วาจา ชื่อว่า โปรี เพราะ
หมายความว่า เป็นวาจาของชาวเมือง อธิบายว่า เป็นวาจาของคนที่อยู่ในเมือง.
จริงอยู่ ชาวเมืองย่อมมีถ้อยคำเหมาะสม คือเรียกคนวัยปูนพ่อว่า คุณพ่อ
เรียกคนวัยปูนพี่ชายหรือน้องชายว่า พี่ชาย น้องชาย.

ด้วยว่า ถ้อยคำชนิดนี้ ชื่อว่า พหุชนกันตา เพราะหมายความว่า
เป็นวาจาที่ชนเป็นอันมากรักใคร่.
วาจา ชื่อว่า พหุชนมนาปา เพราะหมายความว่า เป็นที่ชอบใจ
คือทำความเจริญใจให้แก่ชนเป็นอันมาก เพราะเป็นวาจาที่ชนเป็นอันมาก
รักใคร่นั่นเอง.
จบอรรถกถาคูถภาณีสูตรที่ 8

9. อันธสูตร



ว่าด้วยคนตาบอด - ตาเดียว - สองตา



[468] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล 3 มีอยู่ในโลก บุคคล 3
คือใคร ? คือ (อนฺธ) คนบอด (เอกจกฺขุ) คนตาเดียว (ทฺวิจกฺขุ) คนสองตา
ก็บุคคลบอดเป็นอย่างไร ? บุคคลลางคนในโลกนี้ ไม่มีดวงตา
(คือปัญญา) ที่เป็นเหตุจะให้ได้โภคทรัพย์อันยังไม่ได้ก็ดี เป็นเหตุจะที่
โภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้ทวีขึ้นก็ดี ทั้งไม่มีดวงตา (คือปัญญา) ที่เป็นเหตุจะ
ให้รู้ธรรมทั้งหลายอันเป็นกุศลและอกุศล ... อันมีโทษและไม่มีโทษ ... อัน
หยาบและละเอียด ... อันเป็นฝ่ายดำและฝ่ายขาว นี่ ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกว่า
บุคคลบอด.
ก็บุคคลตาเดียวเป็นอย่างไร ? บุคคลลางคนในโลกนี้ มีดวงตาที่
เป็นเหตุจะให้ได้โภคทรัพย์อันยังไม่ได้ก็ดี เป็นเหตุจะทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้ว
ให้ทวีขึ้นก็ดี แต่ไม่มีดวงตาที่เป็นเหตุจะให้รู้ธรรมทั้งหลายอันเป็นกุศลและ
อกุศล ฯลฯ นี่ ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกว่า บุคคลตาเดียว.