เมนู

แต่ก็จะมีกิตติศัพท์อันงามขจรไปว่า เป็นคนมีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
เพราะเหตุนั้น บุคคลอย่างนี้จึงควรเสพ ควรคบ ควรเข้าใกล้
นี้แล ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 3 มีอยู่ในโลก.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสนิคมคาถาว่า
คนผู้คบคนทราม ย่อมเสื่อม ส่วน
คนผู้คบคนเสมอกัน ไม่เลื่อมในกาลไหนๆ
ผู้คบคนที่ประเสริฐกว่า ย่อมเจริญเร็ว
เพราะฉะนั้น จึงควรคบคนที่ยิ่งกว่าตน.

จบชิคุจฉิตัพพสูตรที่ 7

อรรถกถาชิคุจฉิตัพพสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในชิคุจฉิตัพพสูตรที่ 7 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ชิคุจฺฉิตพฺโพ ความว่า บุคคลที่ใคร ๆ พึงรังเกียจเหมือน
คูถฉะนั้น. บทว่า อถโข นํ เท่ากับ อถโข อสฺส. บทว่า กิตฺติสทฺโท
คือ เสียงที่กล่าวขานกัน. ในบทว่า เอวเมว โข นี้ พึงทราบข้อเปรียบเทียบ
ดังต่อไปนี้
ความเป็นผู้ทุศีล พึงเห็นเหมือนหลุมคูถ. บุคคลผู้ทุศีล พึงเห็น
เหมือนงูเรือน ตัวตกลงไปในหลุมคูถฉะนั้น ภาวะที่บุคคลพึงจะคบหาบุคคล
ผู้ทุศีล (แต่) ไม่ทำตามบุคคลผู้ทุศีลนั้น พึงเห็นเหมือนภาวะที่บุคคลถูกงูที่
เขายกขึ้นจากหลุมคูถไต่ขึ้นสู่ร่างกาย แต่ไม่กัดฉะนั้น เวลาที่บุคคลคบหาผู้
ทุศีล จนชื่อเสียงที่ไม่ดีระบือไปทั่ว พึงทราบเหมือนเวลาที่เขาถูกงูตัวเปื้อน
คูถแล้ว กัดเอาฉะนั้น. บทว่า ติณฑุกาลาตํ ได้แก่ ดุ้นฟืนไม้มะพลับ.
บทว่า ภิยฺโยโส มตฺตาย จิจิฏายติ ความว่า ก็ดุ้นฟืนไม้มะพลับนั้น เมื่อ

ถูกเผาตามปกติสะเก็ดจะกระเด็นหลุดออกส่งเสียงดัง จิจิฏะ จิจิฏะ. อธิบายว่า
แต่ดุ้นฟืนที่ถูกเคาะจะส่งเสียงดังกว่ามาก.
บทว่า เอวเมว โข ความว่า บุคคลผู้มักโกรธก็ฉันนั้นเหมือนกันแล
คือ แม้ตามธรรมดาของตนก็เป็นผู้ไม่สงบ ดุร้ายเที่ยวไป. แต่ในเวลาที่ได้ฟัง
คำพูด (ว่ากล่าว) แม้เพียงเล็กน้อย ก็กลับเที่ยวเกรี้ยวกราดดุร้ายยิ่งขึ้นไปอีกว่า
คนนี้ พูดอย่างนี้ ๆ กับ คนเช่นเราได้.1 บทว่า คูถกูโป ได้แก่ หลุมที่
เต็มไปด้วยคูถ หรือหลุมคูถนั่นแล. ก็ในที่นี้ พึงทราบการเปรียบเทียบโดยนัย
ก่อนนั้นแล.
บทว่า ตสฺมา เอวรูโป ปุคฺคโล อชณุเปกฺ ขิตพฺโพ น เสวิ-
ตพฺโพ
ความว่า เพราะเหตุที่บุคคลผู้มักโกรธ เมื่อใครคบหาใกล้ชิดก็โกรธ
(เขา) เหมือนกัน ย่อมโกรธ แม้กะบุคคลที่ด่าย้อนให้ว่า คนผู้นี้มี
ประโยชน์อะไร ฉะนั้น เขาจึงเป็นเหมือนไฟไหม้ฟาง ที่ทุกคนควรวางเฉย
ไม่ควรเข้าไปคบหาสมาคม. ท่านกล่าวอธิบายไว้อย่างไร ? ท่านกล่าวอธิบาย
ไว้ว่า บุคคลที่เข้าไปใกล้ไฟไหม้ฟางจนเกินไปจะร้อน ร่างกายของเขาจะพลอย
ถูกไหม้ไปด้วย บุคคลที่ถอยออกห่างมากเกินไปจะ (ไม่) ร้อน ความหนาว
ของเขาก็ยังไม่หาย ส่วนบุคคลที่ผิงไฟอยู่ในระยะพอดี ไม่เข้าใกล้จนเกินไป
(และ) ไม่ถอยออกห่างจนเกินไป ความหนาวก็จะหาย เพราะฉะนั้น บุคคล
ผู้มักโกรธเป็นเหมือนไฟไหม้ฟาง จึงควรถูกวางเฉยเสีย โดยการวางตัวเป็น
กลาง ไม่ควรที่ใคร ๆ จะเสพ ไม่ควรที่ใคร ๆ จะคบหา ไม่ควรที่ใคร ๆ
จะเข้าไปนั่งใกล้
1. ปาฐะว่า เอวเมว โกธโนติ อตฺคโน ธมฺมตายปิ อุฏฐิโต จณฺฑิกโต หุตฺวา จรติ.
อปฺปมตฺคกํ ปน วจนํ วุตฺตกาเล มาทิสํ นาม เอวํ วทติ เอวํ วทติติ อิตเรกตรํ อุฏฺฐิโต
จณฺฑิกโต หุตฺวา กุชฺฌติ. ฉบับพม่าเป็น เอวเมวํ โกธโน อตฺตโน ธมฺมตายปิ อุทฺธโต
จณฺฑิกโต หุตวา จรติ อปฺปมตฺตกํ ปน วจนํ สุตกาเล มาทิสํ นาม เอวํ วทติ เอวํ
วทตีติ อติเรกตรํ อุทฺธโต จณฺฑิกโต หุตวา จรติ แปลตามฉบับพม่า.

บทว่า กลฺยาณมิตฺโต ได้แก่ มิตรผู้สะอาด. บทว่า กลฺยาณ-
สหาโย
ได้แก่ สหายผู้สะอาด. ที่ชื่อว่า สหาย ได้แก่ผู้มีปกติไปร่วมกัน
และเที่ยวไปร่วมกัน. บทว่า กลฺยาณสมฺปวงฺโก ได้แก่ ผู้โอนไปใน
กัลยาณมิตรทั้งหลาย คือ ในบุคคลผู้สะอาด อธิบายว่า ผู้มีใจน้อมโน้ม
เหนี่ยวนำไปในกัลยาณมิตรนั้น.
จบอรรถกถาชิคุจฉิตัพพสูตรที่ 7

8. คูถภาณีสูตร



ว่าด้วยผู้พูด 3 จำพวก



[467] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล 3 นี้ มีอยู่ในโลก บุคคล 3
คือใคร คือ คูถภาณี (คนพูดเหม็น) ปุปผภาณี (คนพูดหอม) มธุภาณี
(คนพูดหวาน)
บุคคลคูถภาณีเป็นอย่างไร บุคคลลางคนในโลกนี้ เข้าสภาก็ดี เข้า
ชุมนุมชนก็ดี เข้าหมู่ญาติก็ดี เข้าหมู่ข้าราชการก็ดี เข้าหมู่เจ้าก็ดี ถูกนำตัว
ไปซักถามเป็นพยานว่า "มา บุรุษผู้เจริญ ท่านรู้อันใดจงบอกอันนั้น" บุคคล
นั้น ไม่รู้ กล่าวว่ารู้บ้าง รู้ กล่าวว่าไม่รู้บ้าง ไม่เห็น กล่าวว่าเห็นบ้าง เห็น
กล่าวว่าไม่เห็นบ้าง เป็นผู้กล่าวเท็จทั้งรู้ เพราะเห็นแก่ตนบ้าง เพราะเห็น
แก่คนอื่นบ้าง เพราะเห็นแก่ลาภผลเล็กน้อยบ้าง ดังนี้ นี่ ภิกษุทั้งหลาย
เราเรียกว่า บุคคลคูถภาณี
ก็บุคคลปุปผภาณีเป็นอย่างไร บุคคลลางคนในโลกนี้ เข้าสภาก็ดีฯลฯ
ถูกนำตัวไปซักถามเป็นพยาน ฯลฯ บุคคลนั้นไม่รู้ ก็กล่าวว่าไม่รู้ รู้ ก็กล่าว