เมนู

แม้ในภาวะที่บุคคลมีจิตเปรียบด้วยเพชร ก็มีข้อเปรียบเทียบดังต่อไปนี้
จริงอยู่ อรหัตมัคคญาณ พึงเห็นเหมือนเพชร. กิเลสทั้งหลายที่พระอรหัตมัคค-
ญาณตัดแล้ว พึงเห็นเหมือนกระเปาะแก้วมณี หรือกระเปาะหิน ภาวะที่กิเลส
ทั้งหลาย ที่พระอรหัตมัคคญาณจะตัดไม่ขาดไม่มี พึงเห็นเหมือนภาวะที่เพชร
จะไม่ตัดกระเปาะแก้ว หรือกระเปาะหินไปไม่มี การที่กิเลสที่พระอรหัตมัคค-
ญาณตัดได้แล้ว จะไม่กลับเกิดขึ้นอีก พึงเห็นเหมือนการที่กระเปาะแก้ว หรือ
กระเปาะหิน ที่ถูกเพชรตัดแล้ว จะไม่กลับเต็มขึ้นมาอีก ฉะนั้นแล.
จบอรรถกถาวชิรสูตรที่ 5

6. เสวิตัพพสูตร



ว่าด้วยผู้ควรคบและไม่ควรคบ



[465] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล 3 นี้ มีอยู่ในโลก บุคคล 3
คือใคร คือ บุคคลที่ไม่ควรเสพไม่ควรคบไม่ควรเข้าใกล้ก็มี บุคคลที่ควรเสพ
ควรคบควรเข้าใกล้ก็มี บุคคลที่ควรสักการะเคารพแล้ว จึงเสพ จึงคบ จึง
เข้าใกล้ก็มี
บุคคลที่ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้เป็นอย่างไร ? บุคคล
ลางคนในโลกนี้ เป็นผู้ด้อย โดยศีลโดยสมาธิโดยปัญญา บุคคลเช่นนี้ ไม่
ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้ เว้นแต่เอ็นดู เว้นแต่อนุเคราะห์
บุคคลที่ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าใกล้เป็นอย่างไร ? บุคคล
ลางคนในโลกนี้เป็นผู้เช่นเดียวกัน โดยศีลโดยสมาธิโดยปัญญา บุคคลเช่นนี้
ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าใกล้ นั่นเพราะเหตุอะไร ? เพราะเมื่อเราเป็นผู้
เสมอกันโดยศีล ... โดยสมาธิ ... โดยปัญญาแล้ว สีลกถา (การพูดกันถึง

เรื่องศีล) ... สมาธิกถา (การพูดกันถึงเรื่องสมาธิ) ... ปัญญากถา (การพูด
ถึงเรื่องปัญญา) ก็จักมีด้วย การพูดกันของเรานั้นจักไปกันได้ด้วย การพูดกัน
ของเรานั้นจักเป็นความผาสุกด้วย เพราะเหตุนั้น บุคคลเช่นนี้ จึงควรเสพ
ควรคบ ควรเข้าใกล้
บุคคลที่ควรสักการะเคารพแล้วจึงเสพจึงคบจึงเข้าใกล้ เป็นอย่างไร
บุคคลลางคนในโลกนี้ เป็นผู้ยิ่งโดยศีล โดยสมาธิ โดยปัญญา บุคคลเช่นนี้
ควรสักการะเคารพแล้วจึงเสพ จึงคบ จึงเข้าใกล้ นั่นเพราะเหตุอะไร เพราะ
เราจะได้ทำกองศีล ... กองสมาธิ ... กองปัญญาที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์บ้าง
จะได้ประคับประคอง กองศีล ... กองสมาธิ ... กองปัญญาที่บริบูรณ์แล้วไว้
ได้ด้วยความฉลาดในธรรมนั้น ๆ บ้าง เพราะเหตุนั้น บุคคลเช่นนี้ จึงควร
สักการะเคารพแล้ว จึงเสพ จึงคบ จึงเข้าใกล้
นี้แล ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 3 มีอยู่ในโลก
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พระสุคตศาสดา ได้ตรัสพระธรรมเทศนา
ไวยากรณภาษิตนี้แล้ว ครั้นแล้วจึงตรัสนิคมคาถาประพันธ์ นี้อีกว่า
คนผู้คบคนทราม ย่อมเสื่อม ส่วน
คนผู้คบคนเสมอกัน ไม่เสื่อมในกาลไหนๆ
ผู้คบคนที่ประเสริฐกว่า ย่อมเจริญเร็ว
เพราะฉะนั้น จึงควรคบคนที่ยิ่งกว่าตน.

จบเสวิตัพพสูตรที่ 6

อรรถกถาเสวิตัพพสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในเสวิตัพพสูตรที่ 6 ดังต่อไปนี้:-
บทว่า เสวิตพฺโพ ได้แก่ พึงเข้าไปหา. บทว่า ภชิตพฺโพ ได้แก่
พึงสนิทสนม. บทว่า ปยิรูปาสิตพฺโพ ได้แก่ พึงเข้าไปบ่อย ๆ ด้วยการ
นั่งในที่ใกล้. บทว่า สกฺกตฺวา ครุกตฺวา ความว่า ทำทั้งสักการะและ
ความเคารพ.
ในบทว่า หีโน โหติ สีเลน เป็นต้น พึงทราบความต่ำ (กว่ากัน )
โดยเทียบเคียงกัน. อธิบายว่า ในบรรดาคนเหล่านั้น ผู้รักษาศีล 10 ไม่ควร
คบคนรักษาศีล 5. ผู้รักษาจาตุปาริสุทธิศีล ไม่ควรคบคนรักษาศีล 10. บทว่า
อญฺญตฺร อนุทยา อญิญตร อนุกมฺปา ความว่า นอกจากจะเอ็นดู
จะอนุเคราะห์. เพราะว่า เพื่อประโยชน์ตนแล้ว ก็ไม่ควรคบคนเช่นนี้. แต่จะ
เข้าไปหาเขา โดยความเอ็นดู โดยอนุเคราะห์ก็ควร.
บทว่า สีลสามญฺญคตานํ สตํ ความว่า แก่เราทั้งหลายผู้ถึงความ
เป็นผู้มีศีลเสมอกันมีอยู่. บทว่า สีลกกา จ โน ภวิสฺสติ ความว่า กถา
ปรารภศีลนั่นแหละจักมีแก่เราทั้งหลาย ผู้มีศีลเสมอกันอย่างนี้. บทว่า สา จ
โน ปวตฺตนี ภวิสฺสติ
ความว่า กถาของพวกเราทั้งหลาย ที่พูดกันแม้
ตลอดวันนั้น จักดำเนินไป คือไม่ขาดระยะ. บทว่า สา จ โน ผาสุ ภวิสฺสติ
ความว่า และสีลกถาที่ดำเนินไปตลอดทั้งวันนั้น จักเป็นการอยู่อย่างสำราญ
ของเราทั้งหลาย. แม้ในสมาธิปัญญากถา ก็มีนัยเหมือนกันนี้แหละ.
บทว่า สีลกฺขนธํ ได้แก่กองศีล. บุคคลเว้นธรรมที่ไม่เป็นสัปปายะ
ของศีล คือไม่เป็นอุปการะแก่ศีล ซ่องเสพ (ประพฤติ) ธรรมที่เป็นสัปปายะ