เมนู

แม้ในภาวะที่บุคคลมีจิตเปรียบด้วยเพชร ก็มีข้อเปรียบเทียบดังต่อไปนี้
จริงอยู่ อรหัตมัคคญาณ พึงเห็นเหมือนเพชร. กิเลสทั้งหลายที่พระอรหัตมัคค-
ญาณตัดแล้ว พึงเห็นเหมือนกระเปาะแก้วมณี หรือกระเปาะหิน ภาวะที่กิเลส
ทั้งหลาย ที่พระอรหัตมัคคญาณจะตัดไม่ขาดไม่มี พึงเห็นเหมือนภาวะที่เพชร
จะไม่ตัดกระเปาะแก้ว หรือกระเปาะหินไปไม่มี การที่กิเลสที่พระอรหัตมัคค-
ญาณตัดได้แล้ว จะไม่กลับเกิดขึ้นอีก พึงเห็นเหมือนการที่กระเปาะแก้ว หรือ
กระเปาะหิน ที่ถูกเพชรตัดแล้ว จะไม่กลับเต็มขึ้นมาอีก ฉะนั้นแล.
จบอรรถกถาวชิรสูตรที่ 5

6. เสวิตัพพสูตร



ว่าด้วยผู้ควรคบและไม่ควรคบ



[465] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล 3 นี้ มีอยู่ในโลก บุคคล 3
คือใคร คือ บุคคลที่ไม่ควรเสพไม่ควรคบไม่ควรเข้าใกล้ก็มี บุคคลที่ควรเสพ
ควรคบควรเข้าใกล้ก็มี บุคคลที่ควรสักการะเคารพแล้ว จึงเสพ จึงคบ จึง
เข้าใกล้ก็มี
บุคคลที่ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้เป็นอย่างไร ? บุคคล
ลางคนในโลกนี้ เป็นผู้ด้อย โดยศีลโดยสมาธิโดยปัญญา บุคคลเช่นนี้ ไม่
ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้ เว้นแต่เอ็นดู เว้นแต่อนุเคราะห์
บุคคลที่ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าใกล้เป็นอย่างไร ? บุคคล
ลางคนในโลกนี้เป็นผู้เช่นเดียวกัน โดยศีลโดยสมาธิโดยปัญญา บุคคลเช่นนี้
ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าใกล้ นั่นเพราะเหตุอะไร ? เพราะเมื่อเราเป็นผู้
เสมอกันโดยศีล ... โดยสมาธิ ... โดยปัญญาแล้ว สีลกถา (การพูดกันถึง