เมนู

เขาได้อย่างไรว่า สัตบุรุษผู้นี้เป็นบัณฑิต ก็เพราะเหตุที่บัณฑิตย่อมเป็นผู้คิด
อารมณ์ดีโดยปกติ พูดคำดีโดยปกติ และทำการดีโดยปกตินั่นแล คนฉลาด
ทั้งหลายจึงรู้จักเขาได้ว่า สัตบุรุษผู้นี้เป็นบัณฑิต นี่แล ภิกษุทั้งหลาย ลักษณะ
นิมิต อปทาน 3 อย่างของบัณฑิต
เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกในข้อนี้อย่างนี้ว่า บุคคล
ประกอบด้วยธรรม 3 ประการเหล่าใด พึงทราบได้ว่าเป็นคนพาล เราทั้งหลาย
จักละเสียซึ่งธรรม 3 ประการนั้น บุคคลประกอบด้วยธรรม 3 ประการเหล่าใด
พึงทราบได้ว่าเป็นบัณฑิต เราทั้งหลายจักถือธรรม 3 ประการนั้น ประพฤติ
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล.
จบจินตสูตรที่ 3

อรรถกถาจินตสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในจินตสูตรที่ 3 ดังต่อไปนี้:-
บทว่า พาลลกฺขณานิ ได้แก่ ที่ชื่อว่า พาลลักษณะ (ลักษณะ
ของคนพาล) เพราะเป็นเครื่องให้คนทั้งหลายกำหนด คือรู้ได้ว่าผู้นี้เป็นพาล.
ลักษณะเหล่านั้นแล เป็นเหตุให้หมายรู้คนพาลนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
เครื่องหมายของคนพาล. บทว่า พาลาปทานนิ ได้แก่ ความประพฤติของ
คนพาล. บทว่า ทฺจฺจินฺติตจินฺตี ความว่า คนพาลเมื่อคิด ย่อมคิดแต่เรื่องที่

ไม่ดี ด้วยอำนาจ อภิชฌา พยาบาท และมิจฉาทิฏฐิ. บทว่า ทุพฺภาสิ-
ตภาสี
ความว่า แม้เมื่อจะพูด ก็ย่อมพูดแต่คำพูดที่ไม่ดี แยกประเภทเป็น
มุสาวาทเป็นต้น. บทว่า ทุกฺกฏกมฺมารี ความว่า แม้เมื่อทำย่อมทำแต่
สิ่งที่ไม่ดี ด้วยอำนาจปาณาติบาตเป็นต้น. บทมีอาทิว่า ปณฺฑิตลกฺขณานิ
พึงทราบตามทำนองลักษณะที่กล่าวแล้วนั่นแล.
ส่วนบททั้งหลายมีบทว่า สุจินฺติตจินฺตี เป็นต้น ในสูตรนี้ พึง
ประกอบด้วยอำนาจแห่งสุจริตทั้งหลาย มีมโนสุจริตเป็นต้น.
จบอรรถกถาจินตสูตรที่ 3

4. อัจจยสูตร



ว่าด้วยธรรมที่บ่งบอกว่าเป็นพาลหรือบัณฑิต



[443] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม 3 ประการ
พึงทราบได้ว่าเป็นคนพาล ธรรม 3 ประการคืออะไรบ้าง คือ ไม่เห็นความล่วง
เกินโดยเป็นความล่วงเกิน เห็นความล่วงเกินแล้ว ไม่ทำคืนตามวิธีที่ชอบ
อนึ่ง เมื่อคนอื่นแสดงโทษที่ล่วงเกิน ก็ไม่รับตามวิธีที่ชอบ บุคคลประกอบ
ด้วยธรรม 3 ประการนี้แล พึงทราบเถิดว่าเป็นคนพาล
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม 3 ประการ พึงทราบ
ได้ว่าเป็นบัณฑิต ธรรม 3 ประการคืออะไรบ้าง คือ เห็นความล่วงเกินโดย
เป็นความล่วงเกิน เห็นความล่วงเกินโดยเป็นความล่วงเกินแล้วทำคืนตามวิธี