เมนู

อนึ่งอีก ภิกษุทั้งหลาย บุคคล (ศิษย์) อาศัยบุคคล (อาจารย์) ใด
จึงกระทำให้แจ้งเข้าถึงพร้อมซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ เพราะ
สิ้นอาสวะทั้งหลาย ด้วยความรู้ยิ่งด้วยตนเองอยู่ในปัจจุบันนี่ บุคคล (อาจารย์)
นี่เป็นผู้มีอุปการะมากแก่บุคคล (ศิษย์) นี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าบุคคลอื่นจะมีอุปการะมากแก่บุคคล
(ศิษย์) นี้ ยิ่งกว่าบุคคล 3 นี่ไม่มี อนึ่ง เรากล่าวว่า บุคคล (ศิษย์) นี้
จะทำการสนองคุณแก่บุคคล (อาจารย์) 3 นี้ไม่ได้ง่ายเลย แต่เพียงด้วยการ
กราบ ลุกรับ ทำอัญชลี สามีจิกรรม และคอยให้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และยาแก้ไข้.
จบพหุการสูตรที่ 4

อรรถกถาพหุการสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในพหุการสูตรที่ 4 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ตโยเม ภิกฺขเว ปุคฺคลา ได้แก่บุคคลผู้เป็นอาจารย์ 3
จำพวก. บทว่า ปุคฺคลสฺส พพุการา ได้แก่ ผู้มีอุปการะมากแก่คนผู้เป็น
อันเตวาสิก บทว่า พุทฺธํ ได้แก่ พระสัพพัญญูพุทธเจ้า. บทว่า สรณํ
คโต โหติ
ความว่า ถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่ง. บทว่า ธมฺมํ ได้แก่
นวโลกุตรธรรม พร้อมทั้งแบบแผน (พระปริยัติธรรม). บทว่า สํฆํ ได้แก่
ชุมนุมพระอริยบุคคล 8 จำพวก.
ก็การถึงสรณะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ด้วยสามารถแห่งบุคคล
ผู้ไม่เคยถึงสรณะ คือผู้ไม่เคยทำความเชื่อมั่น. เป็นอันว่า อาจารย์ 3 จำพวก

คือ ผู้ให้สรณะ 1 ผู้ให้ถึงโสดาปัตติมรรค 1 ผู้ให้ถึงพระอรหัตมรรค 1
มาแล้วในพระสูตรนี้ ว่ามีอุปการะมาก. อาจารย์ 5 จำพวกคือ อาจารย์ผู้ให้
บรรพชา 1 อาจารย์ผู้ให้ (บอก) พุทธพจน์ 1 กรรมวาจาจาริย์ 1 อาจารย์
ผู้ให้บรรลุสกทาคามิมรรค 1 อาจารย์ผู้ให้บรรลุอนาคามิมรรค 1 ไม่ได้มา
แล้วในสูตรนี้.
ถามว่า อาจารย์เหล่านั้นไม่มีอุปการะมากหรือ.
ตอบว่า ไม่ใช่ไม่มีอุปการะมาก แต่พระธรรมเทศนานี้กำหนดไว้
2 ส่วน เพราะฉะนั้น อาจารย์เหล่านั้นแม้ทั้งหมด ชื่อว่ามีอุปการะมาก. ในบรรดา
คุณธรรมเหล่านั้น ผู้ไม่ได้ทำอภินิเวส (บุญญาธิการ) ไว้ ย่อมเหมาะใน
การถึงสรณคมน์เท่านั้น. ส่วนจตุปาริสุทธิศีล กสิณบริกรรม และวิปัสสนา-
ญาณ เป็นคุณธรรมที่อาศัยปฐมมรรค. (ส่วน) มรรคและผลเบื้องสูงทั้ง 2
อย่าง พึงทราบว่า อาศัยอรหัตมรรค.
บทว่า อิมินา ปุคฺคเลน ได้แก่บุคคลผู้เป็นอันเตวาสิกนี้. บทว่า
น สุปฺปฏิการํ วทามิ ความว่า เราตถาคตกล่าว การทำการตอบแทนว่า
ไม่ใช่เป็นของที่ทำได้ง่าย. พึงทราบอธิบายอย่างนี้ว่า จริงอยู่ บรรดาอภิวาทน
กรรมเป็นต้น อันเตวาสิก เมื่อหมอบลงไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ หลายร้อย
ครั้ง หลายพันครั้ง ลุกจากอาสนะไปต้อนรับ (อาจารย์) ในขณะที่เห็นทุกครั้ง
ประนมมือ ทำสามีจิกรรมที่สมควร ถวายจีวร 100 ผืน 1,000 ผืน ถวาย
บิณฑบาต 100 ครั้ง 1,000 ครั้ง ทุกวัน สร้างที่อยู่ล้วนไปด้วยแก้ว 7 ประการ
โดยมีจักรวาลเป็นขอบเขต (และ) ถวายเภสัชนานัปการ มีเนยใส เนยข้น
เป็นต้นเป็นประจำ ชื่อว่า ยังไม่สามารถจะทำการตอบแทนอุปการะที่อาจารย์
ทำแล้ว (ให้หมด) ได้.
จบอรรถกถาพหุการสูตรที่ 4

5. วชิรสูตร



ว่าด้วยผู้มีจิตเหมือนแผลเก่า - ฟ้าแลบ - เพชร



[464] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล 3 นี้ มีอยู่ในโลก บุคคล 3
เป็นไฉน คือ บุคคลที่มีจิตเหมือนแผล บุคคลมีจิตเหมือนสายฟ้า
บุคคลมีจิตเหมือนเพชร

ก็บุคคลมีจิตเหมือนแผลเป็นอย่างไร. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล
ลางคนในโลกนี้ เป็นคนขี้โกรธมีความแค้นมาก ถูกเขาว่าหน่อยก็ขัดเคือง
ขึ้งเคียด เง้างอด ทำความกำเริบ ความร้าย และความเดือดดาลให้ปรากฏ
เหมือนอย่างแผลร้าย ถูกไม้หรือกระเบื้องเข้าก็ยิ่งมีหนองไหลฉันใด บุคคล
ลางคนในโลกนี้ เป็นคนขี้โกรธ มีความแค้นมาก ถูกเขาว่าหน่อยก็ขัดเคือง
ขึ้งเคียด เง้างอด ทำความกำเริบ ความร้ายและความเดือดดาลให้ปรากฏฉันนั้น
นี่ เราเรียกว่าบุคคลผู้มีจิตเหมือนแผล
ก็บุคคลมีจิตเหมือนสายฟ้าเป็นอย่างไร. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล
ลางคนในโลกนี้ รู้ตามจริงว่า นี่ทุกข์ ... นี่เหตุเกิดทุกข์ ... นี่ความดับทุกข์
... นี่ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เหมือนอย่างคนตาดี พึงเห็นรูปทั้งหลาย
ได้ในระหว่างฟ้าแลบในกลางคืนมืดตื้อฉันใด บุคคลลางคนในโลกนี้ รู้ตามจริง
ว่า นี่ทุกข์ ฯลฯ นี่ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ฉันนั้น นี่ เราเรียกว่าบุคคล
มีจิตเหมือนสายฟ้า

ก็บุคคลมีจิตเหมือนเพชรอย่างไร. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลลางคน
ในโลกนี้ กระทำให้แจ้งเข้าถึงพร้อมซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะ
มิได้ เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย ด้วยความรู้ยิ่งด้วยตนเองอยู่ในปัจจุบันนี้