เมนู

อรรถกถาทุติยปาปณิกสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้:-

พ่อค้าผู้มีปัญญา



บทว่า จกฺขุมา ความว่า พ่อค้าเป็นผู้มีปัญญาจักษุ. บทว่า วิธุโร
ความว่า เป็นผู้มีธุระอันสำคัญ คือมีธุระอันสูงสุด ได้แก่ประกอบด้วยวิริยะ
ที่สัมปยุตด้วยญาณ. บทว่า นิสฺสยสมฺปนฺโน คือถึงพร้อมด้วยที่พึ่ง ได้แก่
ถึงพร้อมด้วยที่พำนัก.
บทว่า ปณิยํ ได้แก่สินค้าที่ขาย. ในบทนั้นว่า เอตฺตกํ มูลํ ภวิสฺสติ
เอตฺตโก อุทฺรโย
มีอธิบายว่า สินค้าที่ซื้อมานั้น โดยการซื้อมีปริยายดังที่
ตรัสไว้ว่า ซื้ออย่างนี้ ขายอย่างนี้. สินค้านั้นจัดเป็นทุน คือจำนวนที่ซื้อมา
เท่านี้ ฉะนั้น เมื่อจำหน่ายสินค้านั้นไป ในการจำหน่ายสินค้าจักมีกำไรเท่านี้
คือเพิ่มขึ้นเท่านี้.
บทว่า กุสโล โหติ ปณิยํ เกตุญฺจ วิกเกตุญฺจ ความว่า พ่อค้า
ผู้ฉลาด ไปหาซื้อยังที่ที่สินค้าหาได้ง่าย และไปขายยังที่ที่สินค้าหาได้ยาก ชื่อว่า
เป็นผู้ฉลาดในที่นี้ เขาย่อมได้ลาภเพิ่มขึ้น 10 เท่าบ้าง 20 เท่าบ้าง.
บทว่า อทฺธา ได้แก่ อิสรชน คือผู้ถึงพร้อมด้วยทรัพย์ที่เก็บไว้
จำนวนมาก. บทว่า มหทฺธนา ได้แก่ ผู้มีทรัพย์มาก ด้วยอำนาจเครื่อง
ใช้สอย บทว่า มหาโภคา ได้แก่ ผู้มีโภคะมาก ด้วยสิ่งของที่เป็นเครื่อง
อุปโภคและบริโภค บทว่า ปฏิพโล ได้แก่ ชื่อว่า เป็นผู้สามารถ เพราะ
ถึงพร้อมด้วยกำลังกาย และกำลังความรู้. บทว่า อมฺหากญฺจ กาเลน กาลํ
อนุปฺปาเทตุํ
ความว่า เพื่อเพิ่มให้ดอกเบี้ยอันเกิดจากทรัพย์ที่เขาหยิบยืมไป