เมนู

รู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไปรอบ เพื่อละ เพื่อความสิ้นไป เพื่อความ
เสื่อมไป เพื่อความสำรอก เพื่อความดับ เพื่อความสละ เพื่อความสละคืน
โทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา
สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ ทมะ ปมาทะ จึงควรเจริญ
ธรรม 3 ประการนี้ ฉะนี้แล.
จบติกนิบาต

อรรถกถาพระสูตรที่ไม่สงเคราะห์เข้าเป็นปัณณาสก์


ในสูตรทั้งหลายต่อจากนี้ไป พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อาคาฬฺหา ปฏิปทา ได้แก่ปฏิปทาที่ย่อหย่อน คือหละหลวม
ได้แก่ ยึดถือไว้อย่างมั่นคง ด้วยอำนาจโลภะ บทว่า นิชฺฌามา ได้แก่
ปฏิปทาที่ตึงมากไป คือแผดเผาตน ทำตนให้ร้อนรน ด้วยสามารถแห่ง
อัตตกิลมถานุโยค. บทว่า มชฺฌิมา ได้แก่ ปฏิปทาที่ไม่หย่อน ไม่ตึง อยู่
ตรงกลาง.
บทว่า อเจลโก คือไม่มีผ้า ได้แก่เป็นคนเปลือย. บทว่า มุตฺตาจาโร
ได้แก่ปล่อยปละละเลย อาจาระ. เขาเป็นผู้เว้นจากอาจาระของกุลบุตร ในทาง
โลภ ในกิจส่วนตัวทั้งหลายมีการถ่ายอุจจาระเป็นต้น ยืนถ่ายอุจจาระ ยืนถ่าย
ปัสสาวะ ยืนเคี้ยว ยืนกิน. บทว่า หตฺถาวเลขโน ความว่า เนื้อก้อนข้าว
ในมือหมดแล้ว (นักบวชเปลือยมีปฏิปทาตึงนั้น) ก็ใช้ลิ้นเลียมือ หรือไม่ก็
ถ่ายอุจจาระแล้ว เป็นผู้มีความสำคัญในมือนั้นแหละ ว่าเป็นน้ำ เอามือเช็ด
(ทำความสะอาด). นักบวชเปลือย ชื่อว่า น เอหิภทนฺติโก เพราะหมาย-
ความว่า เมื่อประชาชนกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ขอท่านได้โปรดมาเพื่อรับ

ภิกษาเถิด ดังนี้ ก็ไม่มา. นักบวชเปลือย ชื่อว่า นติฏฺฐภทนฺติโก เพราะ
หมายความว่า แม้เมือประชาชนกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น นิมนต์หยุดยืนอยู่ก่อน
ท่านผู้เจริญ ก็ไม่ยอมหยุดยืน. เล่ากันว่า นักบวชเปลือยนั้น ไม่ยอมทำทั้ง
การมา และการหยุดยืนทั้งสองนั้น ก็เพราะกลัวว่า จักเป็นการทำตามคำพูด
ของคนนิมนต์นั้น. บทว่า อภิหฏํ ได้แก่ ภิกษาที่เขาถือมาให้ก่อน (ที่ตน
จะไปถึง). บทว่า อุทฺทิสฺส กตํ ได้แก่ ภิกษาที่เขาบอกว่า คนเหล่านี้
ทำเจาะจง (ถวาย) พวกท่าน. บทว่า นิมนฺตนํ ความว่า นักบวชเปลือย
ถูกเขานิมนต์อย่างนี้ว่า ขอนิมนต์เข้าไป (รับภิกษา) ยังตระกูล ถนนหรือ
หมู่บ้าน ชื่อโน้น ก็ไม่ยินดี คือไม่รับแม้ภิกษา. บทว่า น กุมฺภิมุขา
ได้แก่ ไม่รับภิกษาที่เขาคดจากหม้อมาให้. บทว่า กโฬปิ ในคำว่า น กุมฺภิมุขา
ได้แก่หม้อข้าวหรือกระเช้า. นักบวชเปลือยจะไม่รับภิกษาจากหม้อข้าว หรือ
กระเช้าแม้นั้น . ถามว่า เพราะเหตุไรจึงไม่รับ ตอบว่า เพราะคิดว่า หม้อ
และกระเช้าอาศัยเราจึงได้กระทบกับทัพพี. บทว่า น เอลกมนฺตรํ ความว่า
ไม่รับภิกษาที่เขายืนคร่อมธรณีประตูถวาย. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า
เพราะคิดว่า บุคคลนี้อาศัยเราแล้วจึงได้การยืนคร่อมธรณีประตู. แม้ในท่อนไม้
และสากก็มีนัยนี้แล.
บทว่า ทฺวินฺนํ ความว่า เมื่อคนสองคนกำลังบริโภคกันอยู่ เมื่อ
คนหนึ่งลุกขึ้นให้ก็ไม่รับ. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะคิดว่า
มีอันตรายแต่คำข้าว. ส่วนในบทว่า น คพฺภนิยา เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัย
ดังต่อไปนี้ สำหรับหญิงมีครรภ์ ทารกที่อยู่ในท้อง จะได้รับการกระทบ-
กระเทือน. สำหรับหญิงที่กำลังให้ลูกดื่มน้ำนม อันตรายเนื่องจากการดื่มน้ำนม
จะมีแก่ทารก. สำหรับหญิง ที่อยู่กับชายอื่น อันตรายแห่งความกำหนัดยินดีจะมี
เพราะเหตุนั้น ดังว่ามานี้ นักบวชเปลือยจึงไม่รับภิกษา (จากหญิงเหล่านี้).
บทว่า น สงฺกิตฺตีสุ ได้แก่ ในภัตรที่เขาระบุให้ทำ.

เล่ากันว่า ในสมัยข้าวยากหมากแพง สาวกของอเจลกก็รวบรวมเอา
ข้าวสารเป็นต้น จากที่นั้น ๆ มาหุงเป็นข้าวสวย เพื่อประโยชน์แก่อเจลกทั้งหลาย
อเจลกผู้รังเกียจ ก็ไม่ยอมรับจากภัตรนั้น . บทว่า น ยตฺถ สา ความว่า
ในที่ใด สุนัขปรากฏตัวด้วยหวังว่า จะได้ก้อนข้าว ในที่นั้น อเจลก จะไม่
ยอมรับภิกษาที่ยังไม่ได้ให้แก่สุนัขนั้น แล้วนำมาให้ตน. ถามว่า เพราะเหตุไร.
ตอบว่า เพราะคิดว่า อันตรายแห่งก้อนข้าว (ที่ไม่ได้ก้อนข้าว) จะมีแก่
สุนัขนั้น. บทว่า สณฺฑสณฺฑจาริณี ได้แก่แมลงวัน บินไปเป็นกลุ่ม ๆ.
อธิบายว่า ถ้าผู้คนทั้งหลายเห็นอเจลกแล้ว เข้าไปสู่โรงครัวด้วยคิดว่า จักถวาย
แก่อเจลกนี้ และเมื่อผู้คนเหล่านั้นเข้าไป แมลงวันที่จับอยู่ตามปากกระเช้า
เป็นต้น ก็จะบินขึ้นไปเป็นกลุ่ม ๆ อเจลกจะไม่รับภิกษาที่นำมาจากที่ที่แมลงวัน
บินขึ้นไปนั้น. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะคิดว่า อันตรายในที่
หากินของแมลงวัน เกิดเพราะอาศัยเรา. บทว่า น ถูโสทกํ ได้แก่ น้ำดื่ม
ที่ทำด้วยเครื่องปรุง คือข้าวกล้าทุกชนิด. ก็ในที่นี้ การดื่มสุราเท่านั้นมีโทษ.
แต่อเจลกนี่มีความสำคัญในน้ำดื่มทุกชนิดว่า มีโทษ. อเจลกใดรับภิกษาใน
เรือนหลังเดียวแล้วกลับ อเจลกนั้นชื่อว่า เอกาคาริก อเจลกใดเลี้ยงอัตภาพ
ด้วยข้าวคำเดียวเท่านั้น อเจลกนั้นชื่อว่า เอกาโลปิกะ. แม้ในอเจลกประเภท
ทวาคาริกะ เป็นต้น ก็มีนัยนี้แล.
บทว่า เอกิสฺสาปิ ทตฺติยา ได้แก่ในถาดใบเดียว ที่ชื่อว่า ทตฺติ
ได้แก่ ถาดใบเล็ก ๆ ใบเดียว ที่ผู้คนใส่ภิกษาอันเลิศวางไว้. บทว่า เอกาหิตํ
ได้แก่อาหารที่งดรับประทานมื้อหนึ่ง. บทว่า อฑฺฒมาสิกํ ได้แก่อาหารที่งด
รับประทานครึ่งเดือน. บทว่า ปริยายภตฺตโภชนํ ได้แก่การบริโภคภัตร
ที่เขาถวาย ตามวาระ คือการบริโภคภัตรที่เขานำมาให้ตามวาระของกันอย่างนี้
คือ ตามวาระวันเดียว ตามวาระ 2 วัน ตามวาระ 7 วัน ตามวาระครึ่งเดือน

บทว่า สากภกฺโข เป็นต้น มีความหมายดังกล่าวแล้วแล. บทว่า อุพฺภฏฺฐโก
แปลว่า ผู้ยืนอยู่ข้างบน. บทว่า อุกฺกุฏิกปฺปธานมนุยุตฺโต ได้แก่ผู้ประกอบ
ความเพียร ในอิริยาบถกระโหย่ง แม้เมื่อกิน ก็เดินกระโหย่งไป คือกระโดด ๆ
ไป. บทว่า กณฺฏกาปสฺสยิโก ความว่า ตอกหนามเหล็กหรือหนามธรรมดา
ไว้ในพื้นดินแล้ว ลาดหนังบนหนามนั้น ทำการเคลื่อนไหวอิริยาบถมีการยืน
และการจงกรมเป็นต้น. บทว่า เสยฺยํ ได้แก่ แม้เมื่อนอนก็สำเร็จการนอน
อย่างเดียวกันนั้น . บทว่า เสยฺยํ ตติยมสฺส ได้แก่ประกอบการพยายาม
ลงอาบน้ำ มีเวลาเย็นเป็นครั้งที่ 3 คือวันละ 3 ครั้ง คือ เช้า กลางวัน
เย็น อยู่ ด้วยคิดว่า เราจักลอยบาป.
บทว่า กาเย กายานุปสฺสี เป็นต้น พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้ว
ในอรรถกถาเอกนิบาต ในหนหลัง. บทว่า อยํ วุจฺจติ ภิกฺขเว มชฺฌิมา
ปฏิปทา
ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทานี้ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดโต่ง 2
อย่าง คือ กามสุขัลลิกานุโยค และอัตตกิลมถานุโยค. อีกอย่างหนึ่ง
ปฏิปทาที่พ้นไปจากที่สุดโต่ง คือ สัสสตทิฏฐิ และอุจเฉททิฏฐิ พึงทราบว่า
เป็นมัชฌิมาปฏิปทา. บทว่า สมนุญฺโญ ได้แก่ มีอัธยาศัยเสมอกัน.
บทว่า ราคสฺส ได้แก่ ราคะเนื่องในเบญจกามคุณ. บทว่า อภิญฺญาย
แปลว่า เพื่อรู้ยิ่ง. วิปัสสนาแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยสมาธิทั้ง 3
มีบทว่า สุญฺญโต สมาธิ เป็นต้น. แท้จริงวิปัสสนาได้ชื่อเหล่านี้ก็เพราะ
ไม่มีการยึดถือ ว่าเที่ยง นิมิตว่าเที่ยง และความปรารถนาว่าเที่ยง. บทว่า
ปริญฺญาย แปลว่า เพื่อกำหนดรู้. แม้ในบทที่เหลือ ก็มีนัยนี้แล.
จบติกนิบาตวรรณนา
ในอรรถกถา อังคุตตรนิกาย ชื่อ มโนรถปูรณี