เมนู

รู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไปรอบ เพื่อละ เพื่อความสิ้นไป เพื่อความ
เสื่อมไป เพื่อความสำรอก เพื่อความดับ เพื่อความสละ เพื่อความสละคืน
โทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา
สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ ทมะ ปมาทะ จึงควรเจริญ
ธรรม 3 ประการนี้ ฉะนี้แล.
จบติกนิบาต

อรรถกถาพระสูตรที่ไม่สงเคราะห์เข้าเป็นปัณณาสก์


ในสูตรทั้งหลายต่อจากนี้ไป พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อาคาฬฺหา ปฏิปทา ได้แก่ปฏิปทาที่ย่อหย่อน คือหละหลวม
ได้แก่ ยึดถือไว้อย่างมั่นคง ด้วยอำนาจโลภะ บทว่า นิชฺฌามา ได้แก่
ปฏิปทาที่ตึงมากไป คือแผดเผาตน ทำตนให้ร้อนรน ด้วยสามารถแห่ง
อัตตกิลมถานุโยค. บทว่า มชฺฌิมา ได้แก่ ปฏิปทาที่ไม่หย่อน ไม่ตึง อยู่
ตรงกลาง.
บทว่า อเจลโก คือไม่มีผ้า ได้แก่เป็นคนเปลือย. บทว่า มุตฺตาจาโร
ได้แก่ปล่อยปละละเลย อาจาระ. เขาเป็นผู้เว้นจากอาจาระของกุลบุตร ในทาง
โลภ ในกิจส่วนตัวทั้งหลายมีการถ่ายอุจจาระเป็นต้น ยืนถ่ายอุจจาระ ยืนถ่าย
ปัสสาวะ ยืนเคี้ยว ยืนกิน. บทว่า หตฺถาวเลขโน ความว่า เนื้อก้อนข้าว
ในมือหมดแล้ว (นักบวชเปลือยมีปฏิปทาตึงนั้น) ก็ใช้ลิ้นเลียมือ หรือไม่ก็
ถ่ายอุจจาระแล้ว เป็นผู้มีความสำคัญในมือนั้นแหละ ว่าเป็นน้ำ เอามือเช็ด
(ทำความสะอาด). นักบวชเปลือย ชื่อว่า น เอหิภทนฺติโก เพราะหมาย-
ความว่า เมื่อประชาชนกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ขอท่านได้โปรดมาเพื่อรับ