เมนู

อรรถกถาอสุจิสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในอสุจิสูตรที่ 4 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อสุจินา ได้แก่ ด้วยกรรมที่ไม่สะอาด เช่นกับด้วยคูถ.
บทว่า สุจินา ได้แก่ ด้วยกรรมที่สะอาด.
จบอรรถกถาอสุจิสูตรที่ 4

5. ปฐมขตสูตร

*

ว่าด้วยเหตุให้ตนถูกทำลายและไม่ถูกทำลาย



[590] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม 3 ประการ
เป็นคนพาล เป็นคนโง่เขลา เป็นอสัตบุรุษครองตน (เป็นเหมือนต้นไม้)
ถูกขุด (ราก) เสียแล้ว ตายไปครึ่งหนึ่งแล้ว (คือตายจากความดี อยู่แต่
ร่างกายอันไร้สาระ) เป็นคนประกอบด้วยโทษ ผู้รู้ติเตียน และได้สิ่งอันไม่
เป็นบุญมากด้วย ธรรม 3 ประการคืออะไรบ้าง ? คือ กายกรรมเป็นอกุศล
วจีกรรมเป็นอกุศล มโนกรรมเป็นอกุศล บุคคลประกอบด้วยธรรม 3 ประการ
นี้แล เป็นคนพาล ฯลฯ และได้สิ่งที่ไม่เป็นบุญมากด้วย.
บุคคลประกอบด้วยธรรม 3 ประการเป็นบัณฑิต ฉลาด เป็นสัตบุรุษ
ครองตนอันไม่ถูกขุด ไม่ตายไปครึ่งหนึ่ง เป็นผู้ไม่มีโทษ ผู้รู้ไม่ติเตียน
และได้บุญมากด้วย ธรรม 3 ประการ คืออะไรบ้าง ? คือ กายกรรมเป็นกุศล
วจีกรรมเป็นกุศล มโนกรรมเป็นกุศล ฯลฯ
จบปฐมขตสูตรที่ 5
* สูตรที่ 5 เป็นต้น มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

6. ทุติยขตสูตร



ว่าด้วยเหตุให้ตนถูกทำลายและไม่ถูกทำลาย



[591] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม 3 ประการ
ฯลฯ คือด้วยกายกรรมที่มีโทษ วจีกรรมที่มีโทษ มโนกรรมที่มีโทษ ฯลฯ
คือด้วยกายกรรมที่ไม่มีโทษ วจีกรรมทีไม่มีโทษ มโนกรรมที่ไม่มีโทษ ฯลฯ
จบทุติยขตสูตรที่ 6

7. ตติยขตสูตร



ว่าด้วยเหตุให้ตนถูกทำลายและไม่ถูกทำลาย



[592] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม 3 ประการ
ฯลฯ คือด้วยกายกรรมผิด วจีกรรมผิด มโนกรรมผิด ฯลฯ คือด้วยกายกรรมชอบ
วจีกรรมชอบ มโนธรรมชอบ ฯลฯ
จบตติยขตสูตรที่ 7

8. จตุตถขตสูตร



ว่าด้วยเหตุให้ตนถูกทำลายและไม่ถูกทำลาย



[593] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม 3 ประการ
ฯลฯ คือด้วยกายกรรมโสโครก วจีกรรมโสโครก มโนกรรมโสโครก ฯลฯ
คือด้วยกายกรรมสะอาด วจีกรรมสะอาด มโนกรรมสะอาด ฯลฯ
จบจตุตถขตสูตรที่ 8