เมนู

อรรถกถาอุปปาทสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในอุปปาทสูตรที่ 4 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ธมฺมฏฐิตตา ได้แก่ภาวะที่ทรงตัวอยู่ได้เองตามสภาพ. บทว่า
ธมฺมนิยามตา ได้แก่ความแน่นอนโดยสภาพ. บทว่า สพฺเพ สงฺขารา
ได้แก่สังขารอัน เป็นไปในภูมิ 4. บทว่า อนิจฺจา ความว่า ชื่อว่า อนิจฺจา
ด้วยอรรถว่า เป็นแล้วกลับไม่เป็น. บทว่า ทุกฺขา ความว่า ชื่อว่าทุกข์
ด้วยอรรถว่า บีบคั้นเสมอ. บทว่า อนตฺตา ความว่า ชื่อว่า อนตฺตา
เพราะอรรถว่า ไม่เป็นไปตามอำนาจ. ในพระสูตรนี้ เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสลักษณะทั้ง 3 อย่างไว้คละกัน ดังพรรณนามาฉะนี้.
จบอรรถกถาอุปปาทสูตรที่ 4

5. เกสกัมพลสูตร



ว่าด้วยโมฆบุรุษเป็นไซดักมนุษย์



[577] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผ้าที่ทอด้วยด้ายทุกชนิด ผ้าเกสกัมพล
(ทำด้วยผมคน) ปรากฏว่าเลวกว่าผ้าเหล่านั้นทั้งหมด เพราะผ้าเกสกัมพล
ยามอากาศหนาวก็เย็น คราวอากาศร้อนก็ร้อน สีก็ไม่งาม กลิ่นก็ไม่ดี สัมผัส
ก็หยาบฉันใด สมณประวาท (วาทะของนักบวชภายนอกพระพุทธศาสนาที่เป็น
ปฏิปักษ์คือขัดแย้งกับพระพุทธศาสนา) เป็นอันมากทุกประเภท มักขลิวาท
(วาทะของเจ้าลัทธิชื่อ มักขลิ) ปรากฏว่าเลวกว่าสมณประวาทเหล่านั้นทั้งหมด

มักขลิโมฆบุรุษ (คนเปล่า คนไม่มีแก่นสาร) มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้
ว่า (นตฺถิ กมฺมํ) กรรมไม่มี (นตฺถิ กิริยํ) กิริยาไม่มี (นตฺถิ วิริยํ)
วิริยะไม่มี.
ภิกษุทั้งหลาย พระอรหันตสัมมาสัมพุทธะเหล่าใดที่มีแล้วในอดีตกาล
พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้เหล่านั้นย่อมเป็นกรรมวาทะ (กล่าวว่า กรรมมี) เป็น
กิริยวาทะ (กล่าวว่า กิริยามี) และเป็นวิริยวาทะ (กล่าวว่า วิริยะมี) มักขลิ
โมฆบุรุษ คัดค้านพระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านั้นด้วยวาทะว่า กรรมไม่มี กิริยา
ไม่มี วิริยะไม่มี พระอรหันตสัมมาสัมพุทธะเหล่าใดที่จักมีในอนาคตกาล
พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้เหล่านั้น ก็จักเป็นกรรมวาทะกิริยวาทะ และวิริยวาทะ
มักขลิ โมฆบุรุษ คัดค้านพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้เหล่านั้นด้วยวาทะว่า กรรม
ไม่มี กิริยาไม่มี วิริยะไม่มี ถึงตัวเราผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะในกาลบัดนี้
ก็เป็นกรรมวาทะ กิริยวาทะ วิริยวาทะ มักขลิ โมฆบุรุษ คัดค้านเราด้วย
เหมือนกัน ด้วยวาทะว่า กรรมไม่มี กิริยาไม่มี วิริยะไม่มี.
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนชาวประมง ลงไซไว้ที่ปากแม่น้ำ เพื่อ
ความไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อฉิบหาย เพื่อวอดวาย แห่งปลาจำนวนมาก
ฉันใด มักขลิ โมฆบุรุษ ก็เป็นเสมือนไซดักคน เกิดขึ้นในโลก เพื่อความ
ไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความเสื่อม เพื่อความพินาศ แห่งคนเป็นอันมาก
ฉันนั้น.
จบเกสกัมพลสูตรที่ 5

อรรถกถาเกสกัมพลสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในเกสกัมพลสูตรที่ 5 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ตนิตาวุตานํ วตฺถานํ เป็นฉัฏฐีวิภัติ ลงในอรรถแห่ง
ปฐมาวิภัติ. อธิบายว่า ได้แก่ผ้าที่ทอด้วยเส้นด้าย. ผ้ากัมพลทีทอด้วยผมมนุษย์
ชื่อว่า เกสกัมพล. แม้บทว่า ปวาทนํ นี้ ก็เป็นฉัฏฐีวิภัติ ลงในอรรถ
แห่งปฐมาวิภัติ. บทว่า ปฏิกิฏีโฐ ความว่า ลัทธิหลัง เลว. บทว่า
โมฆปุริโส แปลว่า บุรุษเปล่า คือ บุรุษหลงงมงาย. บทว่า ปฏิพาหติ
แปลว่า ปฏิเสธ. บทว่า ขิปฺปํ อุฑฺเฑยฺย ได้แก่ ดักไซ.
จบอรรถกถาเกสกัมพลสูตรที่ 5

6. สัมปทาสูตร



ว่าด้วยสัมปทา 3 อย่าง



[578] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมปทา (สมบัติ) 3 นี้ สัมปทา 3
คืออะไร คือสัทธาสัมปทา (สมบัติคือศรัทธา) สีลสัมปทา (สมบัติคือศีล)
ปัญญาสัมปทา (สมบัติคือปัญญา) นี้ สัมปทา 3.
จบสัมปทาสูตรที่ 6

7. วุฑฒิสูตร



ว่าด้วยวุฑฒิ 3 อย่าง



[579] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วุฑฒิ (ความเจริญ) 3 นี้ วุฑฒิ 3 คือ
อะไร คือ สัทธาวุฑฒิ (ความเจริญแห่งศรัทธา) สีลวุฑฒิ (ความเจริญแห่งศีล)
ปัญญาวุฑฒิ (ความเจริญแห่งปัญญา) นี้วุฑฒิ 3.
จบวุฑฒิสูตรที่ 7