เมนู

อรรถกถาหัตถกสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในหัตถกสูตรที่ 5 ดังต่อไปนี้:-
อภิกฺกนฺต ศัพท์ ในบทว่า อภิกฺกนฺตาย รตฺติยา นี้ ปรากฏ
ในความว่า สิ้นไป ดี รูปงาม และน่าอนุโมทนายิ่ง เป็นต้น. ในอรรถ 4
อย่างนั้น อภิกฺกนฺต ศัพท์ ปรากฏในความสิ้นไป เช่นในประโยคทั้งหลาย
มีอาทิอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ราตรีสิ้นไปแล้ว ปฐมยามผ่านไปแล้ว
ภิกษุสงฆ์นั่งอยู่นานแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรง
แสดงปาฏิโมกข์ แก่ภิกษุทั้งหลายเถิด พระเจ้าข้า. ปรากฏในความว่าดี เช่นใน
ประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า ผู้นี้ทั้งงาม ทั้งประณีตกว่าบุคคล 4 จำพวกเหล่านี้.
ปรากฏ ในความว่า รูปงาม เช่นในประโยคทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า
ใครรุ่งโรจน์อยู่ด้วยฤทธิ์ ด้วยยศ มี
ผิวพรรณงามยิ่งนัก ยังทิศทั้งปวงให้สว่าง-
ไสว ไหว้เท้าทั้งสองของเราอยู่ ดังนี้.

ปรากฏ ในความว่า อนุโมทนาอย่างยิ่ง เช่นในประโยคทั้งหลาย
มีอาทิอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอนุโมทนายิ่งนัก. แต่ในบทว่า
อภิกฺกนฺตาย รตฺติยา นี้ อภิกฺกนฺต ศัพท์ ปรากฏในความดี. ด้วยเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวขยายความไว้ว่า บทว่า อภิกฺกนฺตาย รตฺติยา ความว่า
ในราตรีที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ. อภิกฺกนฺตาย ศัพท์ ในบทว่า
อภิกฺกนฺตวณฺณา นี้ ปรากฏในความว่า รูปงาม.
ส่วน วณฺณ ศัพท์ ปรากฏใน ฉวิ (ผิวพรรณ) ถุติ (การชมเชย)
กุลวรรค (ชนชั้น) การณะ (เหตุ) สัณฐาน (รูปร่าง) ปมาณ (ขนาด)

และในรูปายตนะเป็นต้น. ในบรรดาอรรถ 6 อย่างนั้น วณฺณ ศัพท์ ปรากฏ
ในผิว เช่นในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ทรงมีพระฉวี
เพียงดังวรรณะแห่งทอง. ปรากฏในความชมเชย เช่นในประโยคมีอาทิ
อย่างนี้ว่า ดูก่อนคฤหบดี ก็การสรรเสริญคุณของพระสมณโคดม ท่านได้
ผูกพันไว้ แต่เมื่อไร. ปรากฏใน กุลวรรค (ชนชั้น) เช่นในประโยคมี
อาทิอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ วรรณะของข้าพระองค์มี 4 อย่าง.
ปรากฏใน การณะ เช่นในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า อนึ่ง ด้วยเหตุเพียง
เท่าไรหนอ เขาเรียกว่า คนฺธตฺเถโน (ขโมยกลิ่น). ปรากฏในสัณฐาน
เช่นในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า เนรมิต สัณฐาน (รูปร่าง) เป็นพญาช้างใหญ่.
ปรากฏในประมาณ เช่นในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า ประมาณ (ขนาด)
ของบาตรมี 3 อย่าง. ปรากฏใน รูปายตนะ เช่นในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า
รูป (วรรณะ) คันธะ รสะ โอชา. วัณณ ศัพท์นั้น ในที่นี้ พึงทราบว่า
ได้แก่ผิว. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวขยายความไว้ว่า บทว่า อภิกฺกนฺตวณฺณา
ความว่า มีผิวพรรณงาม คือมีผิวพรรณน่าปรารถนา มีผิวพรรณน่าพอใจ.
เกวล ศัพท์ ในบทว่า เกวลกปฺปํ นี้ มีอรรถมิใช่น้อย เช่น
อนวเสส (ไม่มีส่วนเหลือ) เยภุยฺย (โดยมาก) อพยามิสฺส (ไม่เจือปนกัน)
นาติเรก (ไม่มาก) ทฬฺหตฺถ (มุ่งมั่น) วิสํโยคะ (พรากจากกัน)
จริงอย่างนั้น เกวล ศัพท์นั้น มีเนื้อความไม่มีส่วนเหลือในประโยคมีอาทิ
อย่างนี้ว่า พรหมจรรย์บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง. ความที่เกวลศัพท์ใช้ความ-
หมายว่า โดยมาก เช่นในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า ก็ชาวอังคะและมคธ
จำนวนมากจักพากันถือเอาขาทนียและโภชนียาหาร อันพอเพียง เข้าไปเฝ้า.
ความที่ เกวลศัพท์ มีความหมายว่า ไม่เจือปน ดังในประโยคมีอาทิ
อย่างนี้ว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ล้วน ๆ ย่อมมี. ความที่ เกวลศัพท์

มีความหมายว่าไม่มาก ดังในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุนี้ มีเพียง
ศรัทธาอย่างเดียว (ไม่มาก). ความที่ เกวลศัพท์ มีความหมายว่า มุ่งมั่น
เช่นในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ สัทธิวิหาริก ของท่าน-
อนุรุทธะ ชื่อว่า พาหิกะ ดังอยู่ในสังฆเภทเห็นแม่นมั่น. เกวลศัพท์ มีความว่า
พรากจากกันเป็นอรรถ เช่นในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า ผู้แยกกันอยู่ท่าน
เรียกว่า อุตตมบุรุษ. แต่ในที่นี้ ทรงประสงค์เอาความไม่มีส่วนเหลือว่า
เป็นความหมายของเกวลศัพท์นั้น
ส่วนกัปปศัพท์ มีความหมายมากอย่าง เช่นเป็นต้น ว่าอภิสัททหนะ
(การปลงใจเธอ) โวหาร (การเรียกร้อง) กาลบัญญัติ เฉทนะ (การตัด)
วิกัปปะ (กำหนด) เลศ (ข้ออ้าง) สมันตภาว (ภาวะใกล้เคียง).
จริงอย่างนั้น กัปปศัพท์นั้น มีความปลงใจเชื่อเป็นอรรถ เช่นในประโยค
มีอาทิอย่างนี้ว่า พระดำรัสนี้ ของพระโคดมผู้เจริญ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้า น่าปลงใจเชื่อ. กัปปศัพท์ มีโวหาร (การเรียกร้อง) เป็นอรรถ
เช่นในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตอนุญาตให้ฉัน
ผลไม้ ตามสมณโวหาร 5 อย่าง. กัปปศัพท์ มีกาลเป็นอรรถ เช่นใน
ประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า เราจะอยู่ตลอดกาลเป็นนิตย์ โดยอาการใด. กัปปศัพท์
มีบัญญัติเป็นอรรถ เช่นในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุชื่อว่า กัปปะ
ทูลถามว่า...ดังนี้. กัปปศัพท์ มีการตัดเป็นอรรถ เช่นในประโยคมีอาทิ
อย่างนี้ว่า ผู้ประดับแล้ว โกนผมและหนวดแล้ว. กัปปศัพท์ มีการกำหนด
เป็นอรรถ เช่นในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า กำหนด 2 องคุลี ย่อมควร.
กัปปศัพท์ มีเลศเป็นอรรถ เช่นในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า เลศเพื่อจะนอน
มีอยู่. กัปปศัพท์ มีภาวะรอบด้านเป็นอรรถ เช่นในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า
ให้สว่างไสวทั่วทั้งพระเชตวัน. แต่ในที่นี้ ทรงประสงค์เอาความรอบด้าน

เป็นความหมายของกัปปศัพท์นั้น. เพราะฉะนั้น ในบทว่า เกวลกปฺปํ เชตวนํ
นี้ จึงมีความหมายว่า ยังพระเชตวัน ให้สว่างไสวรอบด้าน ไม่มีเหลือ.
บทว่า โอภาเสตฺวา ได้แก่แผ่รัศมีไป. บทว่า วาลุกาย ได้แก่
ทรายละเอียด. บทว่า น สณฺฐาติ ความว่า ไม่ยืนอยู่. บทว่า โอฬาริกํ
ความว่า เพราะว่า. ในเวลาที่พระพรหม และเทวายืนอยู่ที่แผ่นดิน ควรจะ
เนรมิตอัตภาพให้หยาบ หรือเนรมิตแผ่นดิน เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสอย่างนี้. ด้วยบทว่า ธมฺมา นี้ ทรงแสดงถึงพระพุทธพจน์ ที่หัตถก-
เทพบุตร เคยเรียนมาในกาลก่อน. บทว่า นปฺปวตฺติโน อเหสุํ ความว่า
ธรรมทั้งหลายได้เสื่อมไป จากการกล่าวของผู้ที่ลืมสาธยาย. บทว่า อปฺปฏิ
ภาโณ
ความว่า ไม่วกกลับ คือไม่กระสัน. บทว่า ทสพลสฺส ความว่า
ต่อการเห็นด้วยจักษุวิญญาณ. บทว่า อุปฏฺฐานสฺส ความว่า ต่อการบำรุง
ด้วยปัจจัย 4. บทว่า อธิสีลํ ได้แก่ศีล 10 อย่าง. ด้วยว่าศีล 10 นั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกว่า อธิศีล เพราะเทียบกับเบญจศีล. ด้วยบทว่า
อวิหํ คโต หัตถกเทพบุตร แสดงว่า ข้าพระองค์เกิดแล้ว ในพรหมโลกชั้น
อวิหา.
จบอรรถกถาหัตถกสูตรที่ 5

6. กฏุวิยสูตร



ว่าด้วยพระทำตัวเป็นของเน่า



[568] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ อิสิปตน-
มฤคทายวัน
ใกล้กรุงพาราณสี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เวลาเช้า ทรง
ครองสบงแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้ากรุงพาราณสี เพื่อบิณฑบาต
ได้ทอดพระเนตรเห็นภิกษุรูปหนึ่งเทียวบิณฑบาตอยู่ที่โคโยคมิลักขะ เป็น
ภิกษุไร้ความแช่มชื่นทางสมณะ มีความแช่มชื่นนอกทางสมณะ ลืมสติ ไม่มี
สัมปชัญญะใจไม่มั่น มีจิตกวัดแกว่ง มีอินทรีย์อันเปิด จึงตรัสกะภิกษุนั้นว่า
แน่ะภิกษุ เธออย่าทำตัวให้เป็นของเน่า ตัวที่ถูกทำให้เป็นของเน่าแล้วส่งกลิ่น
เหม็นคาวคลุ้ง แมลงวันจักไม่ไต่ไม่ตอม นั่นเป็นไปไม่ได้.
ภิกษุนั้นได้รับพระโอวาทแล้ว ก็รู้สึกสลดทันที
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเที่ยวบิณฑบาตในกรุงพาราณสีแล้ว ภายหลัง
ภัตตาหาร กลับจากบิณฑบาตแล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เมื่อเช้านี้ เราครองสบงแล้วถือบาตรจีวร เข้ากรุงพาราณสีเพื่อ
บิณฑบาตเราได้เห็นภิกษุรูปหนึ่งเที่ยวบิณฑบาตอยู่ที่โคโยคมิลักขะ เป็นภิกษุ
ไร้ความแช่มชื่นทางสมณะมีความแช่มชื่นนอกทางสมณะ ลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ
ใจไม่มั่น มีจิตกวัดแกว่ง มีอินทรีย์เปิด เราจึงกล่าวกะภิกษุนั้นว่า แน่ะภิกษุ
เธออย่าทำตัวให้เป็นของเน่า ตัวที่ถูกทำให้เน่าแล้ว ส่งกลิ่นเหม็นคาวคลุ้ง
แมลงวัน จักไม่ไต่ไม่ตอม นั่นเป็นไปไม่ได้ ภิกษุนั้นได้รับโอวาทแล้ว รู้สึก
สลดทันที.