เมนู

ภรัณฑุ กาลามะ และพระผู้มีพระภาคเจ้า ต่างก็พูดและรับสั่งยืนคำ
อยู่อย่างนั้นถึง 3 ครั้ง ภรัณฑุ กาลามะ สำนึกขึ้นว่า เราหนอถูกพระ-
สมณโคดมรุกรานเอาถึง 3 ครั้ง ต่อหน้าเจ้ามหานาม ศากยะ ผู้มเหสักข์
ไฉนหนอ เราพึงไปจากกรุงกบิลพัสดุ์เถิด ไม่ช้า ภรัณฑุ กาลามะ ก็หลีกไป
จากกรุงกบิลพัสดุ์ เขาได้หลีกไปเหมือนอย่างนั้นทีเดียว ไม่กลับมาอีก.
จบภรัณฑุสูตรที่ 4

อรรถกถาภรัณฑุสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในภรัณฑุสูตรที่ 4 ดังต่อไปนี้:-
บทว่า เกวลกปฺปํ ได้แก่ รอบด้านทั้งสิ้น. บทว่า อาหิณฺฑนฺโต
ได้แก่เสด็จเที่ยวไป. บทว่า น อทฺทสา ความว่า เพราะเหตุใด เจ้ามหานาม
ศากยะ จึงไม่ทรงพบ. ได้ยินว่า ภรัณฑุ กาลามดาบสนี้ ขบฉันบิณฑบาต
อันเลิศของเจ้าศากยะทั้งหลาย ท่องเที่ยวไป. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า
ในเวลาที่พระองค์เสด็จถึงที่อยู่ของดาบสนั้น พระธรรมเทศนา กัณฑ์หนึ่งจะ
เกิดขึ้น จึงได้ทรงอธิฏฐานไว้ โดยไม่ให้ที่พักแห่งอื่นปรากฏเห็น เพราะฉะนั้น
เจ้ามหานามศากยะ จึงไม่เห็น.
บทว่า ปุราณสพฺรหฺมจารี ได้แก่ เคยเป็นผู้ร่วมประพฤติพรหม-
จรรย์กันมาก่อน. ได้ยินว่า ภรัณฑุกาลามดาบสนั้น ได้อยู่ในอาศรมนั้น
ในสมัยอาฬารดาบสกาลามโคตร. พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวหมายถึงดาบส
นั้นนั่นเอง. บทว่า สนฺถรํ ปญฺญาเปหิ มีอธิบายว่า เธอจงปูอาสนะ
ที่จะต้องปู. บทว่า สนฺถรํ ปญฺญาเปตฺวา ความว่า ปูผ้าสำหรับปูนอน

บนเตียง อันเป็นกัปปิยะ การก้าวล่วง ชื่อว่า ปริญญา ในบทว่า กามานํ
ปริญฺญํ ปญฺญาเปติ
นี้ เพราะฉะนั้น ศาสดาบางพวก จึงบัญญัติการ
ก้าวล่วงกามทั้งหลายว่า เป็นปฐมฌาน. บทว่า น รูปานํ ปริญฺญํ ความว่า
ไม่บัญญัติธรรมที่เป็นเหตุก้าวล่วงรูปว่า เป็นอรูปาวจรสมาบัติ. บทว่า
น เวทนานํ ปริญฺญํ ความว่า ไม่บัญญัติการก้าวล่วงเวทนาว่า เป็นนิพพาน
คติ คือความสำเร็จ ชื่อว่า นิฏฺฐา. บทว่า อุทาหุ ปุถุ ความว่า หรือ
ต่างกัน.
จบอรรถกถาภรัณฑุสูตรที่ 4

5. หัตถกสูตร



ว่าด้วยหัตถกเทพบุตรไม่อิ่มธรรม 3 อย่าง



[567] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับ ณ พระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกคฤหบดี ใกล้กรุงสาวัตถี ครั้งนั้นเทวบุตรชื่อ
หัตถกะ เมื่อราตรีล่วง (ปฐมยาม) แล้ว มีผิวพรรณงดงาม (เปล่งรัศมี)
ทำให้สว่างไปทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นเข้าไปถึงที่
ประทับแล้ว หมายใจว่าจักยืนเฝ้าต่อพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า แต่ตัวย่อม
จมลงและจมลง ไม่ดำรงอยู่ได้ เปรียบเหมือนเนยใสหรือน้ำมัน ที่คนราดลง
บนทราย ย่อมซึมหายไปภายใต้ไม่ค้างอยู่ฉันใด หัตถกเทวบุตรหมายใจว่า
จักยืนเฝ้าต่อพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า แต่ตัวย่อมจมลงและจมลง ไม่ดำรง
อยู่ได้ฉันนั้น