เมนู

อรรถกถาโคตมกเจติยสูตร

*
พึงทราบวินิจฉัยในโคตมกเจติยสูตรที่ 3 ดังต่อไปนี้:-
บทว่า โคตมเก เจติเย ได้แก่ในที่อาศัย (เทวสถาน) ของโคตมก-
ยักษ์. อธิบายว่า ในปฐมโพธิกาล โดยมาก พระตถาคตเจ้าประทับอยู่ที่
เทวาลัยเท่านั้น เป็นเวลาถึง 20 พรรษาอย่างนี้ คือ บางครั้งที่จาปาลเจดีย์
บางครั้งที่สารันททเจดีย์ บางครั้งที่พหุปุตตเจดีย์ บางครั้งที่สัตตัมพเจดีย์
แต่ในเวลานี้ พระองค์ทรงอาศัยเมืองเวสาลี ประทับอยู่แล้วในเทวสถานของ
โคตมกยักษ์. ด้วยเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์จึงกล่าวว่า โคตมเก
เจติเย
ดังนี้.
บทว่า เอตทโวจ นี้ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสคำนี้
คือพระสูตร มีอาทิว่า อภิญฺญายาหํ ดังนี้. ก็แลในการบังเกิดขึ้นแห่ง
เนื้อความ พระสูตรนี้ พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว. ถามว่า
ในการบังเกิดขึ้นแต่เนื้อความไหน. ตอบว่า ในการบังเกิดขึ้นแห่งเนื้อความ
ในมูลปริยายสูตร.
ได้ทราบว่า พราหมณ์บรรพชิต จำนวนมาก เกิดเมาความรู้ขึ้น
เพราะอาศัยพระพุทธพจน์ที่ตนเคยเรียนแล้ว ไม่ยอมไปโรงฟังธรรมด้วยคิดว่า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อจะตรัส ก็ตรัสคำที่พวกเรารู้แล้วเท่านั้น ไม่ตรัส
คำที่พวกเรายังไม่รู้ ดังนี้. ภิกษุทั้งหลายกราบทูล (ความนั้น) แก่พระตถาคตเจ้า
แล้ว พระศาสดาตรัสให้เรียกภิกษุเหล่านั้นมา ทรงถือเอามุขปฏิญญา (การ
รับปากของภิกษุเหล่านั้น) แล้วทรงแสดงมูลปริยายสูตร ภิกษุเหล่านั้นไม่ได้
เห็นที่มาที่ไป ของพระธรรมเทศนาเลย เมื่อไม่เห็นก็พากันคิดว่า พระสัมมา-
* พระสูตรเป็น โคตมสูตร

สัมพุทธเจ้า คงเข้าพระทัยว่า ธรรมกถาของเราตถาคต ย่อมนำสัตว์ออกไป
จากทุกข์ จึงตรัสพระธรรมเทศนาที่คล่องพระโอฐเท่านั้น. พระศาสดาทรงรู้
ใจของภิกษุเหล่านั้นแล้ว จึงทรงเริ่มพระสูตรนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิญฺญาย ความว่า รู้ คือแทงตลอด
ได้แก่กระทำให้ประจักษ์ ว่า ธรรมเหล่านี้ คือ ขันธ์ 5 อายตนะ 12
ธาตุ 18 อินทรีย์ 22 อริยสัจ 4 เหตุ 9 ผัสสะ 7 เวทนา 7 เจตนา 7
สัญญา 7 จิต 7. อนึ่ง อธิบายว่า รู้ คือแทงตลอด ได้แก่กระทำให้แจ้ง
นั่นแหละซึ่งธรรมเหล่านั้น ๆ โดยนัยมีอาทิว่า สติปัฏฐาน 4 เหล่านี้ ดังนี้.
บทว่า สนิทานํ ความว่า เราตถาคตกล่าวธรรมพร้อมทั้งปัจจัยนั่นแล ไม่ใช่
ไม่มีปัจจัย. บทว่า สปฺปาฏิหาริยํ ความว่า เราตถาคตกล่าวธรรมมีปาฏิหาริย์
นั่นแหละ เพราะขจัดข้าศึกได้ ไม่ใช่ไม่มีปาฏิหาริย์. บทว่า อลญฺจ ปน โว
ความว่า ก็แล (โอวาทานุสาสนี) ควรแก่เธอทั้งหลาย. บทว่า ตุฏฺฐิยา
มีอรรถาธิบายว่า ควรทีเดียว เพื่อจะทำความยินดีแก่เธอทั้งหลาย ผู้ระลึกถึง
เนือง ๆ ซึ่งรตนะทั้ง 3 โดยพระคุณว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ตรัสรู้ชอบ
ด้วยพระองค์เอง พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว พระสงฆ์
เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ดังนี้ แม้ในบททั้งสองที่เหลือ ก็มีนัยนี้แหละ.
บทว่า อกมฺปิตฺถ ได้แก่ ได้หวั่นไหวแล้วด้วยอาการ 6 อย่าง
อธิบายว่า ความหวั่นไหวแห่งปฐพีเห็นปานนี้ ได้มีแล้วที่โพธิมณฑล ได้ยินว่า
เมื่อพระโพธิสัตว์ เสด็จขึ้นสู่โพธิมณฑล ทางด้านทิศใต้ ด้านทิศใต้เบื้องล่าง
ก็ได้เป็นเหมือนลงไปถึงอเวจีมหานรก ด้านทิศเหนือ ได้เป็นเหมือนจะยกขึ้น
จดภวัคคพรหม ด้านทิศตะวันตกเบื้องล่าง ได้เป็นเหมือนลงไปถึงอเวจี
มหานรก ด้านทิศตะวันออกก็ได้เป็นเหมือนจะยกขึ้นจดภวัคคพรหม ทิศเหนือ
ด้านล่าง ก็ได้เป็นเหมือนลงไปถึงอเวจีมหานรก ด้านทิศใต้ ก็ได้เป็น

เหมือนจะยกขึ้นจดภวัคคพรหม ทิศตะวันออกเบื้องล่าง ได้เป็นเหมือน
ลงไปถึงอเวจีมหานรก ด้านทิศตะวันตก ได้เป็นเหมือนจะยกขึ้นจดภวัคคพรหม
แม้โพธิพฤกษ์เบื้องล่าง ก็ได้เป็นเหมือนจมลงไปถึงเวจีมหานรกคราวเดียวกัน
(ด้านบน) ได้เป็นเหมือนพุ่งขึ้นไปจดภวัคคพรหมคราวเดียวกัน. แม้ในวันนั้น
มหาปฐพี ในพันแห่งจักรวาลได้หวั่นไหวแล้ว ด้วยอาการ 6 อย่าง ดังพรรณนา
มาฉะนี้.
จบอรรถกถาโคตมกเจติยสูตรที่ 3

4. ภรัณฑุสูตร



ว่าด้วยศาสดา 3 จำพวก



[566] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในประเทศ
โกศล
ถึงกรุงกบิลพัสดุ์ เจ้ามหานาม ศากยะ ได้ทรงทราบว่า พระผู้มี-
พระภาคเจ้าเสด็จถึงกรุงกบิลพัสดุ์แล้ว เสด็จไปเฝ้า ถวายอภิวาทแล้วประทับ
ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะเจ้ามหานาม ศากยะ
ว่า มหานาม เธอจงไปหาเรือนที่พักในกรุงกบิลพัสดุ์ ที่พอพวกเรา จะพัก
ในวันนี้สักคืนหนึ่ง.
เจ้ามหานาม ศากยะ รับพระดำรัสแล้วเสด็จเข้ากรุงกบิลพัสดุ์เที่ยว
เสาะหาทั่วกรุง ไม่เห็นเรือนที่พอจะเป็นที่ประทับพักได้สักแห่ง จึงเสด็จกลับไป
กราบทูลว่า ไม่มี พระพุทธเจ้าข้า เรือนในกรุงกบิลพัสดุ์ ที่พอจะเป็นที่
ประทับพัก ในวันนี้ พระพุทธเจ้าข้า ท่านภรัณฑุกาลามะ เพื่อนประพฤติ
พรหมจรรย์เก่าแก่ของพระผู้มีพระภาคเจ้ามีอยู่ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงประทับ
พักในอาศรมของท่านสักคืนเถิด.