เมนู

มโนทุจริต นี้แล ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 3 ประการ ย่อมเป็นไปทั้งเพื่อ
เบียดเบียนตน ... ทั้งเพื่อเบียดเบียนคนอื่น ... ทั้งเพื่อเบียดเบียนด้วยกันทั้ง
2 ฝ่าย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 3 ประการนี้ ย่อมไม่เป็นไปเพื่อเบียด-
เบียนตน ... เพื่อเบียดเบียนคนอื่น ... เพื่อเบียดเบียนด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย ธรรม
3 ประการคืออะไรบ้าง คือกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต นี้แล ภิกษุ
ทั้งหลาย ธรรม 3 ประการย่อมไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน ... เพื่อเบียดเบียน
คนอื่น ... เพื่อเบียดเบียนด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย.
จบอัตตสูตรที่ 7

อรรถกถาอัตตสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในอัตตสูตรที่ 7 ดังต่อไปนี้:-
บทว่า อตฺตพฺยาพาธาย ได้แก่ เพื่อให้ตนเองลำบาก. บทว่า
ปรพฺยาพาธาย ได้แก่ เพื่อให้บุคคลอื่นลำบาก. บทว่า กายสุจริตํ เป็นต้น
มาในตอนต้นด้วยอำนาจกุศลกรรมบถ 10. แต่ว่า ในขั้นสูงขึ้นไป จนกระทั่ง
ถึงอรหัตผล ท่านก็ไม่ได้ห้ามไว้เลย.
จบอรรถกถาอัตตสูตรที่ 7

8. เทวสูตร



ว่าด้วยสิ่งที่ควรรังเกียจ



[457] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกปริพาชกเดียรถีย์อื่นจะพึงถาม
ท่านทั้งหลายอย่างนี้ว่า แน่ะอาวุโสทั้งหลาย พระสมณโคดม ประพฤติ

พรหมจรรย์เพื่อเกิดในเทวโลกหรือ ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้
พึงระอา พึงละอาย พึงรังเกียจมิใช่หรือ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลรับว่า อย่างนั้น
พระพุทธเจ้าข้า ตรัสต่อไปว่า นั่นสิ ภิกษุทั้งหลาย นัยว่าท่านทั้งหลายระอา
ละอาย รังเกียจอายุทิพย์ ... วัณณทิพย์ ... สุขทิพย์ ... ยศทิพย์ ... อธิปไตยทิพย์
จะป่วยกล่าวไปไยถึงการที่ท่านทั้งหลาย ระอา ละอาย รังเกียจกายทุจริต ...
วจีทุจริต ... มโนทุจริต.
จบเทวสูตรที่ 8

อรรถกถาเทวสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในเทวสูตรที่ 8 ดังต่อไปนี้:-
บทว่า อฏฺฏิเยยฺยาถ ความว่า เธอทั้งหลายพึงเป็นผู้ถูกความระอา
บีบคั้น. บทว่า หราเยยฺยาถ ความว่า พึงละอาย. บทว่า ชิคุจเฉยฺยาถ
ความว่า พึงเกิดความรังเกียจ ในคำพูดนั้น เหมือนเกิดความรังเกียจในคูถ
ฉะนั้น. บทว่า อิติ ในคำว่า อิติ กิร นี้ พึงเห็นว่าเป็นความสละสลวย
แห่งพยัญชนะด้วยการเชื่อมบท. บทว่า กิร เป็นนิบาต ใช้ในความหมายว่า
ได้ฟังต่อ ๆ กันมา. บทว่า กิร นั้นพึงทราบการเชื่อมความอย่างนี้ว่า ได้ยินว่า
เธอทั้งหลาย พึงอึดอัดด้วยอายุทิพย์. บทว่า ปเคว โข ปน มีความหมาย
เท่ากับ ปฐมตรํ แปลว่า ก่อนกว่า (หรืออันดับแรก).