เมนู

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เข้าไปอาศัยหมู่บ้าน
หรือตำบลแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีเข้าไปหาภิกษุนั้น
นิมนต์รับอาหารเช้า ฯลฯ คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้นอังคาสเธอด้วยขาทนียะ
โภชนียะอันประณีต ด้วยมือตน จนอิ่มหนำพอเพียง เธอไม่นึกชมว่า ดีจริง
ฯลฯ จนอิ่มหนำพอเพียง ไม่นึกหวังต่อไปว่า โอหนอ ฯลฯ จนอิ่มหนำ พอ
เพียงเถิด เธอไม่ติดใจหมกมุ่นพัวพัน เห็นส่วนที่เป็นโทษ มีปัญญาสลัดออกได้
ฉันบิณฑบาตนั้น เธอตรึกเนกขัมมวิตก (ตรึกในทางพรากจากกาม) บ้าง
อพยาบาทวิตก (ตรึกในทางไม่พยาบาท) บ้าง อวิหิงสาวิตก (ตรึกในทางไม่
เบียดเบียน) บ้าง ณ อาสนะที่นั่งฉันนั้น ภิกษุทั้งหลาย ทานที่ให้แก่ภิกษุ
เช่นนี้ เรากล่าวว่ามีผลมาก เพราะเหตุอะไร เพราะภิกษุเป็นผู้ไม่มัวเมาอยู่.
จบกุสินารสูตรที่ 1

กุสินารวรรควรรณนาที่ 3



อรรถกถากุสินารสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในกุสินารสูตรที่ 1 แห่งวรรคที่ 3 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า กุสินารยํ ได้แก่ในพระนครที่มีชื่ออย่างนี้. บทว่า พลิหร-
เณ วนสณฺเฑ
ได้แก่ในไพรสณฑ์ที่มีชื่ออย่างนี้. ได้ยินว่า คนทั้งหลายนำ
พลีกรรมไป เพื่อทำพลีกรรมแก่ภูตที่ไพรสณฑ์นั้น เพราะฉะนั้นไพรสณฑ์นั้น
ชนทั้งหลายจึงเรียกว่า พลิหรณะ. บทว่า อากงฺขมาโน ได้แก่ปรารถนาอยู่.
บทว่า สหตฺถา ได้แก่ ด้วยมือของตน. บทว่า สมฺปวาเรติ ความว่า
ห้ามด้วยวาจาว่า พอแล้ว พอแล้ว และด้วยการไหวมือ.

บทว่า สาธุ วต มายํ ความว่า ดีจริงหนอ (คหบดีหรือบุตร
แห่งคหบดี) นี้ เลี้ยงเราให้อิ่มหนำสำราญ. บทว่า คธิโต ความว่า ติดใจ
ด้วยความยินดีด้วยอำนาจตัณหา. บทว่า มุจฉิโต ได้แก่ สยบแล้วด้วย
ความสยบด้วยอำนาจแห่งตัณหานั้นเอง. บทว่า อชฺโฌปนฺโน ความว่า
กลืนลงไปให้เสร็จสิ้นด้วยอำนาจแห่งตัณหา. บทว่า อนิสฺสรณปญฺโญ
ความว่า ภิกษุผู้ละฉันทราคะแล้ว ฉันภัตโดยฉุดตนออกจากความติดในรส
จึงจะชื่อว่า ผู้มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก ภิกษุนี้ไม่เป็นเช่นนั้น เธอยังมี
ฉันทราคะอยู่ ฉันอาหาร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อนิสฺสรณปญฺโญ
(ผู้ไม่มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก). ธรรมฝ่ายขาวบัณฑิตพึงทราบ โดยผิดจาก
ปริยายดังกล่าวแล้ว. อนึ่ง ในพระสูตรนี้พึงทราบว่า พระองค์ตรัสเนกขัมม-
วิตกเป็นต้น คละกันไปฉะนี้แล.
จบอรรถกถากุสินารสูตรที่ 1

2. ภัณฑนสูตร



ว่าด้วยเหตุแห่งความบาดหมาง 3 อย่าง



[564] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในทิศใด เกิดแก่งแย่งทะเลาะ
วิวาทกัน ทิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปาก แม้แต่นึกถึงทิศนั้นก็ไม่เป็นที่
ผาสุกแก่เรา ไม่ต้องกล่าวไปถึงการที่ภิกษุเป็นเช่นนั้น เราแน่ใจว่า
เธอเหล่านั้นละทิ้งธรรม 3 ประการ มัวประกอบธรรม 3 ประการ ละทิ้งธรรม
3 ประการคืออะไร คือ เนกขัมมวิตก อพยาบาทวิตก อวิหิงสาวิตก มัว-
ประกอบธรรม 3 ประการคืออะไร คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก
ภิกษุทั้งหลาย ในทิศใด ภิกษุเกิดแก่งแย่งทะเลาะวิวาทกัน ทิ่มแทงกันและกัน