เมนู

อีกข้อหนึ่งบุคคลลางคนในโลกนี้ ล่วงวิญญาณัญจายตนะหมด (ถือ
เอาความไม่มีอะไรเหลือสักน้อยหนึ่งเป็นอารมณ์) บริกรรมว่า (นตฺถิ กิญฺจิ)
ไม่มีอะไร ๆ เข้าอากิญจัญญายตนฌาน อยู่บุคคลนั้นติดใจยินดีปลื้มใจด้วย
ฌานนั้น ยับยั้งอยู่ในฌานนั้น ปักใจในฌานนั้น น้อมใจอยู่ด้วยฌานนั้น
มากด้วยฌานนั้น อยู่ไม่เสื่อม (จากฌานนั้น) จนกระทำกาลกิริยา ย่อมไปเกิด
อยู่ร่วมกับเทวดาเหล่าอากิญจัญญายตนะ.
ภิกษุทั้งหลาย 60,000 กัปเป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าอากิญ
จัญญายตนะ (บุคคลผู้สำเร็จฌานนั้น) ที่เป็นปุถุชนอยู่ตลอดกำหนดอายุใน
เทวโลกชั้นนั้นแล้ว (จุติจากเทวโลกนั้น) ไปนรกก็ได้ ไปกำเนิดดิรัจฉาน
ก็ได้ ไปกำเนิดเปรตก็ได้ ส่วน (บุคคลผู้สำเร็จฌานนั้น) ที่เป็นสาวกของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า อยู่ตลอดกำหนดอายุในเทวโลกชั้นนั้นแล้ว ย่อมปรินิพพาน
ในภพนั้นนั่นเอง นี่เป็นความพิเศษแปลกต่างกันแห่งอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว
กับปุถุชนผู้มีได้สดับ เฉพาะในเมื่อคติอุปบัติมีอยู่.
นี้แล ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 3 จำพวกมีปรากฏอยู่ในโลก.
จบอาเนญชสูตรที่ 4

อรรถกถาอาเนญชสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในอาเนญชสูตรที่ 4 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ตทสฺสาเทติ ได้แก่ ชอบใจฌานนั้นน. บทว่า ตํ นิกาเมฺติ
ได้แก่ ปรารถนาฌานนั้นแหละ. บทว่า เตน จ วิตฺตึ อาปชฺชติ ได้แก่
ถึงความยินดีด้วยฌานนั้น. บทว่า ตตฺถ ฐิโต ได้แก่ ตั้งอยู่ในฌานนั้น.

บทว่า ตทฺธิมุตฺโต ได้แก่น้อมใจไปในฌานนั้นแหละ. บทว่า ตพฺพหุลวิ หารี
ได้แก่ อยู่กับฌานนั้นเป็นส่วนมาก. บทว่า สหพฺยตํ อุปปชฺชติ ได้แก่
เข้าถึงความเป็นสหาย อธิบายว่า ย่อมบังเกิดในเทวโลกนั้น.
คำมีอาทิว่า นิรยมฺปิ คจฺฉติ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึงการ
ไปนรกนั้น ด้วยสามารถแห่งปริยายอื่น เพราะไม่พ้นจากนรกเป็นต้นไปได้
เพราะว่า เขาไม่มีอกุศลกรรมที่มีกำลังมากกว่าอุปจารฌาน ซึ่งจะเป็นเหตุให้
เกิดในอบายติดต่อกัน. บทว่า ภควโต ปน สาวโก ได้แก่พระสาวก
องค์ใดองค์หนึ่ง บรรดาพระสาวกผู้เป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี และ
พระอนาคามีทั้งหลาย. บทว่า ตสฺมึเยว ภเว ได้แก่ ในอรูปภพนั่นเอง.
บทว่า ปรินิพฺพายติ ความว่า จะปรินิพพาน ด้วยปรินิพพานที่หาปัจจัยมิได้.
ความเพียรเป็นเครื่องประกอบอย่างยิ่ง ชื่อว่า อธิปฺปายาโส คำที่เหลือใน
พระสูตรนี้ พึงทราบตามนัยที่กล่าวมาแล้ว นั่นแล. อนึ่ง ในพระสูตรนี้ ฌาน
ที่จะเป็นเหตุให้อุปบัติ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้สำหรับปุถุชน สำหรับ
พระอริยสาวก ตรัสทั้งความที่เป็นเหตุให้อุปบัตินั่นเอง ทั้งฌานที่เป็นบาท
แห่งวิปัสสนาด้วย.
จบอรรถกถาอาเนญชสูตรที่ 4

5. อยสูตร



ว่าด้วยวิบัติ 3 และสัมปทา 3



[557] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิบัติ (ความเสีย) 3 นี้ วิบัติ 3 คือ
อะไร คือ สีลวิบัติ (ความเสียทางศีล) จิตตวิบัติ (ความเสียทางจิต) ทิฏฐิ-
วิบัติ (ความเสียทางทิฏฐิ)