เมนู

อีกข้อหนึ่งบุคคลลางคนในโลกนี้ ล่วงวิญญาณัญจายตนะหมด (ถือ
เอาความไม่มีอะไรเหลือสักน้อยหนึ่งเป็นอารมณ์) บริกรรมว่า (นตฺถิ กิญฺจิ)
ไม่มีอะไร ๆ เข้าอากิญจัญญายตนฌาน อยู่บุคคลนั้นติดใจยินดีปลื้มใจด้วย
ฌานนั้น ยับยั้งอยู่ในฌานนั้น ปักใจในฌานนั้น น้อมใจอยู่ด้วยฌานนั้น
มากด้วยฌานนั้น อยู่ไม่เสื่อม (จากฌานนั้น) จนกระทำกาลกิริยา ย่อมไปเกิด
อยู่ร่วมกับเทวดาเหล่าอากิญจัญญายตนะ.
ภิกษุทั้งหลาย 60,000 กัปเป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าอากิญ
จัญญายตนะ (บุคคลผู้สำเร็จฌานนั้น) ที่เป็นปุถุชนอยู่ตลอดกำหนดอายุใน
เทวโลกชั้นนั้นแล้ว (จุติจากเทวโลกนั้น) ไปนรกก็ได้ ไปกำเนิดดิรัจฉาน
ก็ได้ ไปกำเนิดเปรตก็ได้ ส่วน (บุคคลผู้สำเร็จฌานนั้น) ที่เป็นสาวกของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า อยู่ตลอดกำหนดอายุในเทวโลกชั้นนั้นแล้ว ย่อมปรินิพพาน
ในภพนั้นนั่นเอง นี่เป็นความพิเศษแปลกต่างกันแห่งอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว
กับปุถุชนผู้มีได้สดับ เฉพาะในเมื่อคติอุปบัติมีอยู่.
นี้แล ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 3 จำพวกมีปรากฏอยู่ในโลก.
จบอาเนญชสูตรที่ 4

อรรถกถาอาเนญชสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในอาเนญชสูตรที่ 4 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ตทสฺสาเทติ ได้แก่ ชอบใจฌานนั้นน. บทว่า ตํ นิกาเมฺติ
ได้แก่ ปรารถนาฌานนั้นแหละ. บทว่า เตน จ วิตฺตึ อาปชฺชติ ได้แก่
ถึงความยินดีด้วยฌานนั้น. บทว่า ตตฺถ ฐิโต ได้แก่ ตั้งอยู่ในฌานนั้น.