เมนู

อรรถกถาอัปปเมยสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในอัปปเมยยสูตรที่ 3 ดังต่อไปนี้:-
บุคคล ชื่อว่า สุปฺปเมยฺโย เพราะประมาณได้โดยง่าย. ชื่อว่า
ทุปฺปเมยฺโย เพราะประมาณได้โดยยาก. ชื่อว่า อปฺปเมยฺโย เพราะไม่อาจ
ประมาณได้. บทว่า อุนฺนโฬ ได้แก่ บุคคลผู้เป็นเหมือนไม้อ้อที่พุ่งขึ้น
อธิบายว่า ยกมานะที่ว่างเปล่าขึ้นตั้งไว้. บทว่า จปโล ได้แก่ ผู้ประกอบด้วย
ความหลุกหลิก มีการตกแต่งบาตรเป็นต้น. บทว่า มุขโร ได้แก่ คนปากจัด.
บทว่า วิกิณฺณวาโจ ได้แก่ คนผู้ไม่สำรวมถ้อยคำ. บทว่า อสมาหิโต
ได้แก่ ผู้ไม่มีจิตเป็นสมาธิ. บทว่า วิพฺภนฺตจิตฺโต ได้แก่ ผู้มีจิตเปลี่ยว
เปรียบเหมือนแม่โค และเนื้อป่า ตัวตื่นเตลิด. บทว่า ปากตินทฺริโย ได้แก่
ผู้มีอินทรีย์อันเปิดเผย. บทที่เหลือในพระสูตรนี้ ง่ายทั้งนั้น ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาอัปปเมยยสูตรที่ 3

4. อาเนญชสูตร



ว่าด้วยบุคคลผู้เจริญอรูปฌาน 3 จำพวก



[546] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล 3 จำพวกนี้มีปรากฏอยู่
ในโลก บุคคล 3 คือใคร คือบุคคลลางคนในโลกนี้ เพราะล่วงรูปสัญญา
(ความกำหนดในรูปธรรม อันเป็นอารมณ์แห่งรูปฌาน) หมด ดับปฏิฆสัญญา
(ความกำหนดในปฏิฆะ) หมด ไม่ทำในใจซึ่งนานัตตสัญญา (ความกำหนด
มีอาการต่าง ๆ กัน ) หมด (ถืออากาศเป็นอารมณ์) บริกรรมว่า (อนนฺโต