เมนู

พวกเขา. บทว่า อนุทฺธํเสติ ความว่า ด่า คือบริภาษ ได้แก่ติเตียน.
บทว่า นตฺถิ กาเมสุ โทโส ความว่า ผู้ซ่องเสพกิเลสกามและวัตถุกาม
ไม่มีโทษ. บทว่า ปาตพฺยตํ ความว่า ความเป็นผู้จะต้องดื่ม คือความเป็นผู้
จะต้องบริโภค ได้แก่ความเป็นผู้จะต้องดื่มกิน เหมือนการดื่มน้ำของผู้กระ-
หายน้ำ ด้วยจิตปราศจากความรังเกียจ. ในพระสูตรนี้ ตรัสวัฏฏะไว้อย่างเดียว.
จบอรรถกถาอาปายิกสูตรที่ 1

2. ทุลลภสูตร



ว่าด้วยบุคคลหาได้ยาก 3 จำพวก



[554] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความมีปรากฏแห่งบุคคล 3 หาได้ยาก
ในโลก บุคคล 3 คือใคร คือ พระตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธะ 1 บุคคล
ผู้แสดงธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว บุคคลผู้กตัญญูกตเวที 1 ความมี
ปรากฏแห่งบุคคล 3 นี้แล หาได้ยากในโลก
จบทุลลภสูตรที่ 2

อรรถกถาทุลลภสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในทุลลภสูตรที่ 2 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า กตญฺญู กตเวที ได้แก่ บุคคลผู้รู้กรรมที่เขาทำแล้ว (แก่ตน)
ว่า ผู้นี้ทำคุณแก่เรา ดังนี้แล้ว ทำการตอบแทนให้ผู้อื่นรู้ คือให้ปรากฏ.
จบอรรถกถาทุลลภสูตรที่ 2

3. อัปปเมยยสูตร


ว่าด้วยบุคคล 3 จำพวก


[555] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล 3 จำพวกนี้มีปรากฏอยู่
ในโลก บุคคล 3 คือใคร คือ (สุปฺปเมยฺย) คนประมาณง่าย (ทุปฺปเมยฺย)
คนประมาณยาก (อปฺปเมยฺย) คนประมาณไม่ได้
คนประมาณง่ายเป็นอย่างไร ? บุคคลลางคนในโลกนี้ เป็นคนหยิ่ง
ยกตัวเอง หลุกหลิก ปากกล้า พูดพล่าม ลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ ใจไม่
มั่นคง วอกแวก มีอินทรีย์อันเปิดเผย (คือ ไม่สำรวมอินทรีย์) นี่เรียกว่า
คนประมาณง่าย
คนประมาณยากเป็นอย่างไร ? บุคคลลางคนในโลกนี้ เป็นคนไม่หยิ่ง
ไม่ยกตัว ไม่หลุกหลิก ไม่ปากกล้า ไม่พูดพล่าม ตั้งสติ มีสัมปชัญญะ
ใจมั่นคง แน่วแน่ มีอินทรีย์อันสำรวม นี่เรียกว่า คนประมาณยาก.
คนประมาณไม่ได้เป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นพระ
อรหันต์สิ้นอาสวะแล้ว นี่เรียกว่า คนประมาณไม่ได้.
นี้แล ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 3 จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก.
จบอัปปเมยยสูตรที่ 3