เมนู

อรรถกถาทุติยนิทานสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในทุติยนิทานสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้:-
บทว่า กมฺมานํ ได้แก่ กรรมที่เป็นวัฏฏคามีนั่นเอง. บทว่า
ฉนฺทราคฏฺฐานิเย ความว่า เป็นเหตุแห่งฉันทราคะ. บทว่า อารพฺภ
ได้แก่อาศัย คือหมายเอา เจาะจง. บทว่า ฉนฺโท ได้แก่ความพอใจด้วย
อำนาจแห่งตัณหา. บทว่า โย เจตโส สาราโค ความว่า ความกำหนัด
ความยินดีแห่งจิต ความที่จิตกำหนัดแล้ว อันใด ความกำหนัดแห่งจิตนี้
เราตถาคตกล่าวว่า เป็นสังโยชน์ คือเป็นเครื่องผูก.
พึงทราบวินิจฉัยในธรรมฝ่ายขาว ดังต่อไปนี้ บทว่า กมฺมานํ
ได้แก่กรรมที่เป็นวิวัฏฏคามี (กรรมที่เลิกหมุนเวียน). บทว่า ตทภินิวตฺเตติ
ความว่า ให้ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งราคะเป็นต้น และวิบากของธรรมนั้น
หมุนกลับเฉพาะ คือว่า เมื่อใดเขารู้ คือ เข้าใจวิบาก โดยเป็นที่ตั้ง
(แห่งฉันทราคะเป็นต้น) เมื่อนั้น เขาจะยังธรรมเหล่านั้นด้วย วิบากนั้นด้วย
ให้หมุนกลับเฉพาะ. อนึ่ง ด้วยบทนี้ พระองค์ตรัสวิปัสสนาไว้แล้ว. ด้วยบทว่า
ตทภินิวฏฺเฏตฺวา นี้ ตรัสมรรคไว้. แต่ด้วยบทว่า เจตสา อภิวิราเชตฺวา
นี้ ตรัสมรรคไว้อย่างเดียว. บทว่า ปญฺญาย อติวิชฺฌ ปสฺสติ ความว่า
เห็นทะลุ ปรุโปร่ง ด้วยมรรคปัญญา พร้อมด้วยวิปัสสนา. ในทุก ๆ บท
พึงทราบความอย่างนี้ ก็ในพระสูตรนี้ ตรัสไว้ทั้งวัฏฏะ และวิวัฏฏะฉะนี้แล.
จบทุติยนิทานสูตรที่ 10
จบสัมโพธิวรรควรรณนาที่ 1

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. ปุพพสูตร 2. มนุสสสูตร 3. อัสสาทสูตร 4. สมณสูตร
5. โรณสูตร 6. อติตตสูตร 7. ปฐมกูฏสูตร 8. ทุติยกูฏสูตร 9. ปฐม-
นิทานสูตร 10. ทุติยนิทานสูตร และอรรถกถา.