เมนู

กรรม) กรรมนั้นไม่เป็นไปเพื่อกรรมนิโรธ (ความดับแห่งกรรม) นี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ต้นเหตุ 3 เพื่อความเกิดขึ้นพร้อมมูลแห่งกรรม
ภิกษุทั้งหลาย ต้นเหตุ 3 นี้ เพื่อความเกิดขึ้นพร้อมมูลแห่งกรรม
ต้นเหตุ 3 คืออะไร คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ เป็นต้นเหตุเพื่อ
ความเกิดขึ้นพร้อมมูลแห่งกรรม
กรรมที่บุคคลทำเพราะอโลภะ อโทสะ อโมหะ เกิดแต่อโลภะ
อโทสะ อโมหะ มีอโลภะ อโทสะ อโมหะเป็นต้นเหตุ มีอโลภะ
อโทสะ อโมหะ เป็นแดนเกิดอันใด กรรมนั้นเป็นกุศล กรรมนั้นหา
โทษมิได้ กรรมนั้นมีสุขเป็นผล กรรมนั้นเป็นไปเพื่อกรรมนิโรธ กรรมนั้น
ไม่เป็นไปเพื่อกรรมสมุทัย นี้แล ภิกษุทั้งหลาย ต้นเหตุ 3 เพื่อความเกิดขึ้น
พร้อมมูลแห่งกรรม.
จบปฐมนิทานสูตรที่ 9

อรรถกถาปฐมนิทานสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในปฐมนิทานสูตรที่ 9 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า นิทานานิ ได้แก่เหตุทั้งหลาย. บทว่า กมฺมานํ สมุทยาย
ความว่า เพื่อประโยชน์แก่การทำการประมวลมาซึ่งกรรมที่เป็นวัฏฏคามี (กรรม
ที่ทำให้สัตว์เวียนว่ายตายเกิด). บทว่า โลภปกตํ ความว่า ทำด้วยความโลภ.
บทว่า สาวชฺชํ แปลว่า มีโทษ. บทว่า ตํ กมฺมํ กมฺมสมุทยาย สํวตฺตติ
ความว่า กรรมนั้นย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่การทำการประมวล ซึ่งกรรม
สมุทัย (เหตุที่จะให้เกิดกรรม) แม้เหล่าอื่นที่เป็นวัฏฏคามี. บทว่า น ตํ กมฺมํ

กมฺมนิโรธาย ความว่า แต่กรรมนั้นไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่การดับ
วัฏฏคามีกรรม. พึงทราบวินิจฉัย ในกรรมฝ่ายขาวดังต่อไปนี้ บทว่า กมฺมานํ
สมุทยาย
ความว่า เพื่อประโยชน์แก่การเกิดขึ้นแห่งวัฏฏคามีกรรม. บททั้งปวง
พึงทราบความโดยนัยนี้.
จบอรรถกถาปฐมนิทานสูตรที่ 9

10. ทุติยนิทานสูตร



ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งกรรม 3 อย่าง



[552] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นเหตุ 3 นี้ เพื่อความเกิดขึ้นพร้อม
มูลแห่งกรรม ต้นเหตุ 3 คืออะไรบ้าง คือความพอใจเกิดเพราะปรารภธรรม
ทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะ (ความรักใคร่ พอใจ) ที่เป็นอดีต 1
ความพอใจเกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลาย อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็น
อนาคต 1 ความพอใจเกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันท-
ราคะที่เป็นปัจจุบัน 1
ความพอใจเกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะ
ที่เป็นอดีตอย่างไร ? คือบุคคลตรึกตรองไปถึงธรรมอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะ
ที่ล่วงไปแล้ว เมื่อตรึกตรองตามไป ความพอใจก็เกิดขึ้น ผู้เกิดความพอใจแล้ว
ก็ชื่อว่าถูกธรรมเหล่านั้นผูกไว้แล้ว เรากล่าวความติดใจนั้น ว่าเป็นสังโยชน์
(เครื่องผูก) ความพอใจเกิด เพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่ง
ฉันทราคะที่เป็นอดีตอย่างนี้แล