เมนู

เปรียบเหมือนเรือนยอด เมื่อมุงดีแล้ว ทั้งยอด ทั้งกลอน ทั้งฝา
เป็นอันได้รักษา ก็ไม่เปียก ไม่ผุ ฉันใด เมื่อจิตอันบุคคลรักษาแล้ว ฯลฯ
การตายย่อมเป็นการตายดี ฉันนั้น.
จบปฐมกูฏสูตรที่ 7

อรรถกถาปฐมสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในปฐมกูฏสูตรที่ 7 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อวสฺสุตํ โหติ แปลว่า ย่อมเปียก. บทว่า น ภทฺทกํ
มรณํ โหติ
ความว่า การตายดี เธอก็ไม่ได้เพราะกรรมทั้ง 3 เป็นปัจจัย
แห่งปฏิสนธิในอบาย. บทว่า กาลกิริยา เป็นไวพจน์ของบทว่า มรณํ นั่นเอง.
พึงทราบวินิจฉัย ในธรรมฝ่ายสุกปักษ์ (ธรรมฝ่ายขาว) ดังต่อไปนี้ การตายดี
เป็นอันเธอได้แล้ว เพราะกรรมทั้ง 3 เป็นปัจจัยแห่งปฏิสนธิในสวรรค์ แต่
การตายนั้น ใช้ได้สำหรับพระอริยสาวกทั้งหลาย 3 จำพวก มีพระโสดาบัน
เป็นต้น โดยส่วนเดียวเท่านั้น. บทที่เหลือ ในพระสูตรนี้ง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาปฐมกูฏสูตรที่ 7

8. ทุติยกูฏสูตร



ว่าด้วยกรรมพินาศและไม่พินาศเพราะจิต



[550] ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคฤหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระธรรมเทศนาว่า
คฤหบดี เมื่อจิตร้ายแล้ว กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมก็ร้ายด้วย
การตายของบุคคลผู้มีกายกรรมวจีกรรมมโนกรรมร้าย ย่อมไม่เป็นการตายดี

เปรียบเหมือนเรือนยอดเมื่อมุงไม่ดี ยอด กลอน ฝา ก็เสียด้วย ฉันใด
เมื่อจิตร้ายแล้ว ฯลฯ ย่อมไม่เป็นการตายดี ฉันนั้น
คฤหบดี เมื่อจิตไม่ร้ายแล้ว กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ก็ไม่ร้าย
การตายของบุคคลผู้มีกายกรรมวจีกรรมมโนกรรมไม่ร้าย ย่อมเป็นการตายดี
เปรียบเหมือนเรือนยอดเมื่อมุงดี ยอด กลอน ฝา ก็ไม่เสียฉันใด เมื่อจิต
ไม่ร้ายแล้ว ฯลฯ ย่อมเป็นการตายดี ฉันนั้น.
จบทุติยกูฏสูตรที่ 8

อรรถกถาทุติยกูฏสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในทุติยกูฏสูตรที่ 8 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า พฺยาปนฺนํ ได้แก่จิตที่ละปกติภาพแล้วตั้งอยู่ บทที่เหลือ
มีนัยดังกล่าวแล้วในสูตรก่อนนั่นแล.
จบอรรถกถาทุติยกูฏสูตรที่ 8

9. ปฐมนิทานสูตร



ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งธรรม 3 อย่าง



[551] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นเหตุอกุศลมูล 3 นี้ เพื่อความเกิด
ขึ้นพร้อมมูลแห่งกรรม ต้นเหตุ 3 คืออะไร คือ โลภะ โทสะ โมหะ
เป็นต้นเหตุเพื่อความเกิดขึ้นพร้อมมูลแห่งกรรม
กรรมที่บุคคลทำด้วยโลภะ โทสะ โมหะ เกิดแต่โลภะ
โทสะ โมหะ มีโลภะ โทสะ โมหะเป็นต้นเหตุ มีโลภะ โทสะ
โมหะเป็นแดนเกิดอันใด กรรมนั้นเป็นอกุศล กรรมนั้นมีโทษ กรรมนั้นมี
ทุกข์เป็นผล กรรมนั้นเป็นไปเพื่อกรรมสมุทัย (ความเกิดขึ้นพร้อมมูลแห่ง