เมนู

บทว่า อลํ แปลว่า ควรแล้ว. เหตุตรัสเรียกว่า ธรรม ในบทนี้ว่า
ธมฺมปฺปโมทิตานํ สตํ เมื่อคนทั้งหลาย รื่นเริง บันเทิงอยู่ด้วยเหตุบางอย่าง
บทว่า สิตํ สิตมตฺตาย มีคำอธิบายว่า เมื่อมีเหตุที่ต้องหัวเราะ การหัวเราะ
ที่เธอจะกระทำเพียงเพื่อยิ้ม คือเพื่อแสดงเพียงอาการเบิกบาน ให้เห็นปลายฟัน
เท่านั้น ก็พอแล้ว สำหรับเธอทั้งหลาย.
จบอรรถกถาโรณสูตรที่ 5

6. อติตตสูตร



ว่าด้วยสิ่งที่เสพไม่รู้อิ่ม 3 อย่าง



[548] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความอิ่มหนำในการเสพสิ่งทั้ง 3 ไม่มี
สิ่งทั้ง 3 คืออะไร คือความหลับ การดื่มสุราเมรัย การประกอบเมถุนธรรม
ความอิ่มหนำในการเสพสิ่งทั้ง 3 นี้แล ไม่มี.
จบอติตตสูตรที่ 6

อรรถกถาอติตตสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในอติตตสูตรที่ 6 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สุปฺปสฺส ได้แก่ความหลับ. บทว่า ปฏิเสวนาย นตฺถิ
ติตฺติ
ความว่า จะเสพไปเท่าไร ๆ ก็ยังพอใจอยู่เท่านั้น ๆ เพราะฉะนั้น
ขึ้นชื่อว่า ความอิ่มจึงยังไม่มี. แม้ในบททั้งสองที่เหลือ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
ก็ถ้าหากน้ำในมหาสมุทรจะกลายเป็นสุราไป และนักเลงสุราจะเกิดเป็นปลา

เมื่อเขาแหวกว่ายอยู่ก็ดี นอนอยู่ก็ดี ในน้ำนั้น ขึ้นชื่อว่า ความอิ่มก็ไม่พึงมี.
ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงวัฏฏะอย่างเดียว.
จบอรรถกถาอติตตสูตรที่ 6

7. ปฐมกูฏสูตร



ว่าด้วยธรรมที่เกิดจากการรักษาและไม่รักษาจิต



[549] ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคฤหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระธรรมเทศนาว่า
คฤหบดี เมื่อจิตอันบุคคลไม่รักษาแล้ว กายกรรม วจีกรรม
มโนกรรม. ก็เป็นอันไม่ได้รักษาด้วย เมื่อกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
ไม่ได้รักษาแล้ว กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมก็เปียก (ด้วยน้ำ คือ
กิเลสโทษ) เมื่อกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม เปียกแล้ว กายกรรม
วจีกรรม มโนกรรมก็เสีย บุคคลผู้มีกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมเสีย
การตายย่อมไม่เป็นการตายดี
เปรียบเหมือนเรือนยอด เมื่อมุงไม่ดี ทั้งยอด ทั้งกลอน ทั้งฝา
เป็นอันไม่ได้รักษา ก็เปียก ก็ผุ ฉันใด เมื่อจิตอันบุคคลไม่รักษา
แล้ว ฯลฯ การตายย่อมไม่เป็นการตายดี ฉันนั้น
คฤหบดี เมื่อจิตอันบุคคลรักษาแล้ว กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
ก็เป็นอันได้รักษาด้วย เมื่อกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมได้รักษาแล้ว
กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมก็ไม่เปียก เมื่อกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
ไม่เปียกแล้ว กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมก็ไม่เสีย บุคคลผู้มีกายกรรม
วจีกรรม มโนกรรมไม่เสีย การตายย่อมเป็นการตายดี