เมนู

เหตุนั้น ในเรื่องนี้ พึงชักสะพานเสีย ในส่วนการขับร้อง การฟ้อนรำ
(ส่วนการหัวเราะนั้น) เมื่อท่านทั้งหลายเกิดธรรมปราโมทย์ (ความยินดีร่าเริง
ในธรรม) ก็ควรแต่เพียงยิ้มแย้ม.
จบโรณสูตรที่ 5

อรรถกถาโรสูตร



สูตรที่ 5 ข้าพเจ้าจะยกเรื่องขึ้นแสดง ตามอัตถุปปัตติ (เรื่องราวที่
เกิดขึ้น). ถามว่า เรื่องราวเกิดขึ้นอย่างไร. ตอบว่า เรื่องเกิดขึ้นในเพราะ
อนาจาร (การประพฤตินอกรีดนอกรอย) ของพระฉัพพัคคีย์ทั้งหลาย. เล่ากัน
มาว่า พระฉัพพัคคีย์เหล่านั้น ขับร้อง ฟ้อนรำ หัวเราะ เที่ยวไป. ภิกษุ
ทั้งหลาย พากันกราบทูลพระทศพล พระบรมศาสดาตรัสเรียกภิกษุฉัพพัคคีย์
เหล่านั้นมา แล้วทรงปรารภพระสูตรนี้ เพื่อพุทธประสงค์ จะทรงสั่งสอน
ภิกษุเหล่านั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รุณฺณํ แปลว่า การร้องไห้. บทว่า
อุมฺมตฺตกํ ได้แก่ กิริยาของคนบ้า. บทว่า โกมาริกํ ได้แก่ เรื่องที่เด็ก ๆ
จะต้องกระทำ. บทว่า ทนฺตวิทํสกหสิตํ ได้แก่ การหัวเราะด้วยเสียงอันดัง
ของผู้ยิงฟัน ปรบมือ. ด้วยบทว่า เสตุฆาโต คีเต พระผู้มีด้วยเสียงอันดัง
ทรงแสดงว่า การตัดปัจจัย ในการขับร้องของเธอทั้งหลาย จงยกไว้ก่อน
เธอทั้งหลาย จะละการขับร้อง พร้อมทั้งเหตุ. แม้ในการฟ้อนรำ ก็มีนัยนี้
เหมือนกัน.


บทว่า อลํ แปลว่า ควรแล้ว. เหตุตรัสเรียกว่า ธรรม ในบทนี้ว่า
ธมฺมปฺปโมทิตานํ สตํ เมื่อคนทั้งหลาย รื่นเริง บันเทิงอยู่ด้วยเหตุบางอย่าง
บทว่า สิตํ สิตมตฺตาย มีคำอธิบายว่า เมื่อมีเหตุที่ต้องหัวเราะ การหัวเราะ
ที่เธอจะกระทำเพียงเพื่อยิ้ม คือเพื่อแสดงเพียงอาการเบิกบาน ให้เห็นปลายฟัน
เท่านั้น ก็พอแล้ว สำหรับเธอทั้งหลาย.
จบอรรถกถาโรณสูตรที่ 5

6. อติตตสูตร



ว่าด้วยสิ่งที่เสพไม่รู้อิ่ม 3 อย่าง



[548] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความอิ่มหนำในการเสพสิ่งทั้ง 3 ไม่มี
สิ่งทั้ง 3 คืออะไร คือความหลับ การดื่มสุราเมรัย การประกอบเมถุนธรรม
ความอิ่มหนำในการเสพสิ่งทั้ง 3 นี้แล ไม่มี.
จบอติตตสูตรที่ 6

อรรถกถาอติตตสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในอติตตสูตรที่ 6 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สุปฺปสฺส ได้แก่ความหลับ. บทว่า ปฏิเสวนาย นตฺถิ
ติตฺติ
ความว่า จะเสพไปเท่าไร ๆ ก็ยังพอใจอยู่เท่านั้น ๆ เพราะฉะนั้น
ขึ้นชื่อว่า ความอิ่มจึงยังไม่มี. แม้ในบททั้งสองที่เหลือ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
ก็ถ้าหากน้ำในมหาสมุทรจะกลายเป็นสุราไป และนักเลงสุราจะเกิดเป็นปลา