เมนู

พระนิพพาน ท่านจึงเรียกว่า ฉนฺทราควินโย (นำฉันทราคะออกไป)
ฉนฺทราคปฺปหานํ (ละฉันทราคะเสียได้). บทว่า อิทํ โลกนิสฺสรณํ
ความว่า พระนิพพานนี้ ท่านเรียกว่า โลกนิสฺสรณํ (เป็นแดนแล่นออกไป
จากโลก) เพราะสลัดออกไปแล้วจากโลก. บทว่า ยาวกีวํ ความว่า ตลอดกาล
มีประมาณเท่าใด. บทว่า อพฺภญฺญาสึ ความว่า ได้รู้แล้ว ด้วยอริยมรรค
ญาณ อันประเสริฐยิ่ง. แม้ด้วยบททั้งสองนี้ว่า ญาณญฺจ ปน เม ทสฺสนํ
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึงปัจจเวกขณญาณ. บทที่เหลือในพระสูตรนี้
ง่ายทั้งนั้น ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาปุพพสูตรที่ 1

2. มนุสสสูตร



ว่าด้วยเหตุให้ปฏิญาณว่าเป็นผู้ตรัสรู้



[544] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราได้ตรวจค้นอัสสาทะของโลกแล้ว
อันใดเป็นอัสสาทะในโลก เราได้ประสบอันนั้นแล้ว อัสสาทะในโลกมีเท่าใด
อัสสาทะนั้นเราได้เห็นอย่างดีด้วยปัญญาแล้ว เราได้ตรวจค้นอาทีนพของโลก
แล้ว อันใดเป็นอาทีนพในโลก เราได้ประสบอันนั้นแล้ว อาทีนพในโลก
มีเท่าใด อาทีนพนั้นเราได้เห็นอย่างดีด้วยปัญญาแล้ว เราได้ตรวจค้นนิสสรณะ
ของโลกแล้ว อันใดเป็นนิสสรณะในโลก เราได้ประสบอันนั้นแล้ว นิสสรณะ
ในโลกมีอย่างไร นิสสรณะนั้นเราได้เห็นอย่างดีด้วยปัญญาแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย เรายังมิได้รู้แจ้งชัดซึ่งอัสสาทะอาทีนพและนิสสรณะของ
โลกอย่างถูกต้องแท้จริงตราบใด ฯลฯ* บัดนี้ ภพใหม่ไม่มี.
จบมนุสสสูตรที่ 2
* ดูปุพพสูตรที่ 1 ประกอบ

อรรถกถามนุสสสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในมนุสสสูตรที่ 2 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อสฺสาทปริเยสนํ อจรึ ความว่า ได้ท่องเที่ยวไป เพื่อ
ประโยชน์แก่การแสวงหาอัสสาทะ. ถามว่า ได้ท่องเที่ยวไป จำเดิมแต่ไหน ?
ตอบว่า ได้ท่องเที่ยวไป ตั้งแต่เป็นสุเมธดาบส*. บทว่า ปญฺญาย ได้แก่
มรรคปัญญา พร้อมด้วยวิปัสสนา. บทว่า สุทิฏฺโฐ ได้แก่แทงตลอดแล้ว
ด้วยดี. พึงทราบความในทุก ๆ บท โดยอุบายนี้.
จบอรรถกถามนุสสสูตรที่ 2

3. อัสสาทสูตร



ว่าด้วยเหตุให้หลุดพ้นจากโลก



[545] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าอัสสาทะในโลกจักไม่มีแล้วไซร้
สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงติดใจในโลก เพราะเหตุที่อัสสาทะในโลกมีอยู่ เพราะ
เหตุนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงติดใจในโลก
ถ้าอาทีนพในโลกจักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงเบื่อหน่าย
ในโลก เพราะเหตุที่อาทีนพในโลกมีอยู่ เพราะเหตุนั้น สัตว์ทั้งหลายจึง
เบื่อหน่ายในโลก
ถ้านิสสรณะในโลกจักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงออกจาก
โลกได้ ก็เพราะเหตุที่นิสสรณะในโลกมีอยู่ เพราะเหตุนั้น สัตว์ทั้งหลายจึง
ออกจากโลกได้
* ปาฐะว่า ปฏฺฐาย ฉบับพม่าเป็น ปฏฺฐายาติ