เมนู

มนสิการปัคคาหนิมิตตามกาลอันควร มนสิการอุเบกขานิมิตตามกาลอันควร
เมื่อนั้น จิตนั้นจึงเป็นจิตอ่อน ควรแก่การงาน เป็นจิตผุดผ่องและมั่น แน่วแน่
เป็นอย่างดีเพื่อความสิ้นอาสวะ
เธอน้อมจิต (อย่างนั้น) ไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยอภิญญา ซึ่งอภิญญา
สัจฉิกรณียธรรมใด ๆ ในเมื่อความพยายามมีอยู่ เธอย่อมถึงความเป็นผู้อาจ
ทำให้ประจักษ์ได้ในอภิญญาสัจฉิกรณียธรรมนั้น ๆ (คือ)
(1) ถ้าเธอจำนงว่า ขอเราพึงแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่างต่างวิธี ฯลฯ
(เหมือนสูตรก่อนจนจบ).
จบสมุคคตสูตรที่ 11
จบโลณผลวรรคที่ 5


อรรถกถาสมุคคตสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในสมุคคตสูตรที่ 11 ดังต่อไปนี้ :-
อธิจิต ได้แก่จิตในสมถะและวิปัสสนานั่นแล. บทว่า ตีณิ นิมิตฺ-
ตานิ
ได้แก่ เหตุ 3. บทว่า กาเลน กาลํ ได้แก่ ในกาลอันสมควร
อธิบายว่า ตลอดกาลอันเหมาะสม. ในบทว่า กาเลน กาลํ สมาธินิมิตฺตํ
มนสิกาตพฺพํ
เป็นต้น มีอธิบายว่า ภิกษุพึงกำหนดกาลนั้น ๆ แล้ว มนสิการ
ถึงเอกัคคตา (ความที่จิตมีอารมณ์เดียวเป็นเลิศ) ในเวลาที่จิตประกอบด้วย
เอกัคคตา.