เมนู

อรรถกถาสังฆสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในสังฆสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า โธวติ แปลว่า ล้าง. บทว่า สนฺโธวติ แปลว่า ล้างด้วยดี
คือ ล้างแล้วล้างอีก. บทว่า นิทฺโธวติ แปลว่า ล้างโดยไม่มีมลทินเหลือ.
บทว่า อนิทฺธนฺตํ คือ ยังไม่ได้ถลุง. บทว่า อนินฺนีตกาสาวํ คือ ยัง
ไม่ได้ไล่ขี้. บทว่า ปภงฺคุ ได้แก่ มีการแตกสลายไปเป็นสภาพ. เว้นทองคำ
ที่หลอมแล้ว (ที่เหลือ) เพียงเอากำปั้นทุบก็แตก. บทว่า ปฏฺฏกาย ได้แก่
เพื่อต้องการให้เป็นแผ่นทองคำ. บทว่า คีเวยฺยเก ได้แก่ เครื่องประดับคอ.
บทว่า อธิจิตฺตํ ได้แก่ จิตที่อบรมด้วยสมถะและวิปัสสนา. บทว่า อนุยุตฺ
ตสฺส
ได้แก่ เจริญ. บทว่า สเจตโส ได้แก่ สมบูรณ์ด้วยจิต.
บทว่า ทพฺพชาติโก ได้แก่ เป็นบัณฑิตโดยกำเนิด. ในวิตก
ทั้งหลายมีกามวิตกเป็นต้นมีอธิบายว่า วิตกที่ปรารภกามเกิดขึ้น ชื่อว่า กาม-
วิตก. วิตกที่สัมปยุตด้วยพยาบาท ชื่อว่า พยาปาทวิตก ที่สัมปยุตด้วยวิหิงสา
ชื่อว่า วิหิงสาวิตก.
ในวิตกทั้งหลายมีญาติวิตกเป็นต้น มีอธิบายว่า วิตกที่ปรารภญาติ
เกิดขึ้นโดยนัยเป็นต้นว่า ญาติของเราทั้งหลายจำนวนมากมีบุญ ชื่อว่า ญาติ
วิตก
. วิตกที่อาศัยเรือนซึ่งปรารภชนบทเกิดขึ้นโดยนัยเป็นต้นว่า ชนบทโน้น
ปลอดภัย หาภิกษาได้ง่าย ชื่อว่า ชนปทวิตก. บทว่า น ปณีโต คือ
ไม่เอิบอิ่ม. บทว่า น ปฏิปฺปสฺสทฺธลทฺโธ คือ ไม่ได้ความสงบระงับกิเลส.
บทว่า น เอโกทิภาวาธิคโต คือ ไม่ถึงความเป็นสมาธิ. บทว่า สสํขาร-

นิคฺคยฺหวาริตวโต ได้แก่ข่ม คือห้ามกันกิเลสทั้งหลายไว้ด้วยสสังขารอันเป็น
สัปปโยคะ ไม่ใช่เกิดขึ้นในที่สุดที่กิเลสทั้งหลายถูกตัดขาดไป แต่เกิดขึ้นห้าม
กิเลสทั้งหลาย.
ในบทว่า โหติ โส ภิกฺขเว สมโย นี้ มีอธิบายว่า ที่ชื่อว่า
สมัยได้แก่ เวลาที่ได้สัปปายะ 5 เหล่านี้ คือ ฤดูสัปปายะ อาหารสัปปายะ
เสนาสนสัปปายะ ปุคคลสัปปายะ ธัมมัสสวนสัปปายะ.. บทว่า ยนฺตํ จิตฺตํ
ได้แก่ ในสมัยใด วิปัสสนาจิตนั้น. บทว่า อชฺฌตฺตํเยว สนฺติฏฺฐติ ได้แก่
ดำรงอยู่ในตนนั่นเอง ก็วิสัยแห่งอารมณ์ที่เที่ยง ชื่อว่า อัชฌัตตะ ในที่นี้
แม้อารมณ์ภายในก็ควร. มีคำอธิบายว่า วิปัสสนาจิตละอารมณ์จำนวนมาก
แล้วตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ทีละอย่าง คือ ในอารมณ์ คือพระนิพพานเท่านั้น.
บทว่า สนฺนิสีทติ ได้แก่ สงบนิ่งด้วยดี. บทว่า เอโกทิภาโว โหติ
ได้แก่ เป็นจิตมีอารมณ์เดียวเป็นเลิศ. บทว่า สมาธิยติ ได้แก่ตั้งมั่นด้วยดี.
ในบทว่า สนฺโต เป็นต้น มีอธิบายว่า สมาธิ ชื่อว่า สงบ
เพราะสงบระงับกิเลสที่เป็นข้าศึก. สมาธิ ชื่อว่า ประณีต เพราะหมายความว่า
เอิบอิ่ม. สมาธิ ชื่อว่า ได้ความสงบระงับ เพราะได้ความระงับกิเลส. สมาธิ
ชื่อว่า ถึงความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะถึงความเป็นธรรมชาติมีอารณ์เดียว
เป็นเลิศ. สมาธิ ที่ชื่อว่า ไม่ต้องข่ม คือ กันกิเลสทั้งหลาย แล้วถูกห้ามไว้ด้วย
สัปปโยคะ เพราะเกิดขึ้นในที่สุดที่กิเลสทั้งหลายถูกตัดขาดไป เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่า ไม่ถูกสสังขารข่มกันห้ามไว้. ภิกษุนี้ ชื่อว่า ทำจิตให้หมุนกลับ
แล้วบรรลุพระอรหัตผล ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้.
บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงการแทงตลอดด้วยอภิญญาของภิกษุนั้น ผู้เป็น
พระขีณาสพ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า ยสฺส ยสฺส จ เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิญฺญาสจฺฉิกรณียสฺส ได้แก่ ที่ควรทำให้
ประจักษ์ด้วยรู้ยิ่ง. บทว่า สติ สติ อายตเน ความว่า เมื่ออายตนะกล่าว
คือ บุรพเหตุ และประเภทแห่งฌานเป็นต้นที่จะพึงได้ในบัดนี้ มีอยู่ คือ
เมื่อเหตุมีอยู่ ก็กถาพรรณนาเรื่องอภิญญานี้ ของพระขีณาสพนั้น พึงทราบ
โดยพิสดารตามนัยที่กล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรคนั่นแล. ส่วนบทว่า อาสวานํ
ขยา
เป็นต้น ในสูตรนี้พึงทราบว่า ตรัสไว้แล้วด้วยอำนาจผลสมาบัติ.
จบอรรถกถาสังฆสูตรที่ 10

11. สมุคคตสูตร



ว่าด้วยนิมิต 3


[542] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุผู้ประกอบอธิจิต ควรมนสิการ
นิมิต 3 ตามกาลอันควร คือ มนสิการสมาธินิมิต (ข่มจิตใจให้ตั้งมั่นอยู่ใน
อารมณ์เดียว) ตามกาลอันควร มนสิการปัคคาหนิมิต (ทำความเพียรยกจิต
ให้อาจหาญแช่มชื่นขึ้น) ตามกาลอันควร มนสิการอุเบกขานิมิต (เพ่งดูเฉย
อยู่ไม่ข่มไม่ยก เมื่อจิตเรียบร้อยแล้ว) ตามกาลอันควร
ถ้าภิกษุผู้ประกอบอธิจิตจะพึงมนสิการแต่สมาธินิมิตส่วนเดียวไซร้ เป็น
ฐานะอยู่ ที่จิตจะพึงเป็นไปทางโกสัชชะ (ความเกียจคร้านความซึมเซื่อง) ถ้า
จะพึงมนสิการแต่ปัคคาหนิมิตส่วนเดียวเล่า ก็เป็นฐานะอยู่ ที่จิตจะเป็นไปทาง
อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน) ถ้าจะพึงมนสิการแต่อุเบกขานิมิตโดยส่วนเดียวไซร้
ก็เป็นฐานะอยู่ ที่จิตจะไม่พึงตั้งมั่นเพื่อความสิ้นอาสวะ