เมนู

ยถาเวทนิยกรรม


บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงสภาพแห่งยถาเวทนิยกรรมนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า อิธ ภิกฺขเว เอกจฺจสฺส เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า อปฺปมตฺตกํ ได้แก่ ปริตตกรรม คือ กรรมนิดหน่อย กรรมเบา
กรรมเล็กน้อย กรรมลามก. บทว่า ตาทิสํเยว ได้แก่ วิบากที่เห็นสมด้วย
กับกรรมนั้นแล. บทว่า ทิฏฺฐธมฺมเวทนิยํ ความว่า ในกรรมนั้นแล มี
อธิบายว่า กรรมที่จะพึงให้ผล เมื่อได้วาระที่จะให้ผลในปัจจุบัน ก็จะกลาย
เป็นทิฏฐธรรมเวทนิยกรรม. บทว่า นาณุปิ ขายติ ความว่า (กรรมเล็กน้อย
นั้น) ไม่ปรากฏแม้ (เพียง) เล็กน้อยในอัตภาพที่ 2 อธิบายว่า ไม่ให้ผล
แม้เพียงเล็กน้อยในอัตภาพที่ 2. บทว่า พหุเทว ความว่า ส่วนกรรมที่มาก
จักให้ผลได้อย่างไรเล่า ?1
ปุถุชนผู้เว้นจากภาวนา (เจริญสติปัฏฐาน) ในกาย เป็นผู้มีปกติไป
สู่วัฏฏะ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงด้วยบทว่า อภาวิตกาโย เป็นต้น.
บทว่า ปริตฺโต ได้แก่ มีคุณนิดหน่อย. บทว่า อปฺปาตุโม ความว่า
อัตภาพเรียกว่า อาตุมะ ปุถุชนชื่อว่ามีอัตภาพเล็กน้อยโดยแท้ เพราะแม้เมื่อ
อัตภาพนั้นจะใหญ่ แต่ก็มีคุณเล็กน้อย. บทว่า อปฺปทุกฺขวิหารี ความว่า
มีปกติอยู่เป็นทุกข์ด้วยวิบากเล็กน้อย. พระขีณาสพ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
แสดงด้วยบทว่า ภาวิตกาโย เป็นต้น. อธิบายว่า พระขีณาสพนั้น ชื่อว่า
มีกายอบรมแล้ว ด้วยภาวนากล่าวคือกายานุปัสสนา หรือชื่อว่า มีกายอบรมแล้ว
เพราะเจริญกายานุปัสสนา. บทว่า ภาวิตสีโล แปลว่า เจริญศีล. แม้ใน
สองบทที่เหลือก็มีนัยนี้แล.
1. ปาฐะว่า พหุกํ ปน วิปากเมว ทสฺเสติ ฉบับพม่าเป็น พหุกํ ปน วิปากํ กิเมว ทสฺสติ

อีกอย่างหนึ่ง พระขีณาสพ ชื่อว่า มีกายอบรมแล้ว ด้วยอบรม
ปัญจทวาร. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอินทรียสังวรศีล ด้วยบทว่า ภาวิตกาโย
นี้ ตรัสศีล 3 ที่เหลือด้วยบทว่า ภาวิตสีโล นี้. บทว่า อปริตฺโต คือ
มีคุณมิใช่เล็กน้อย. บทว่า มหตฺตา คือ พระขีณาสพชื่อว่า มีอัตภาพใหญ่
เพราะแม้จะมีอัตภาพเล็กน้อย แต่ก็มีคุณมาก. ก็บทว่า อปฺปมาณวิหารี นี้
เป็นชื่อของพระขีณาสพโดยแท้ อธิบายว่า พระขีณาสพนั้นชื่อว่า อัปปมาณ-
วิหารี
(มีปกติอยู่ด้วยคุณธรรมอันหาประมาณมิได้) เพราะไม่มีกิเลสมีราคะ
เป็นต้นที่ทำให้มีประมาณ (คือจำกัดขอบเขตของคุณธรรม). บทว่า ปริตฺเต
แปลว่า เล็กน้อย. บทว่า อุทกมลฺลเก แปลว่า ในขันน้ำ.
บทว่า โอรพฺภิโก แปลว่า เจ้าของแกะ. บทว่า โอรพฺภฆาตโก
แปลว่า คนฆ่าแกะ. บทว่า ชาเปตุํ วา ได้แก่ เพื่อทำให้เสื่อมด้วยความ
เสื่อมทรัพย์. ปาฐะว่า ฌาเปตุํ ดังนี้ก็มี ความหมายก็อย่างเดียวกันนี้แล.
บทว่า ยถาปจฺจยํ วา กาตุํ ความว่า เพื่อทำได้ตามปรารถนา. บทว่า
อุรพฺภธนํ ได้แก่ ราคาค่าตัวแกะ. ก็เจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะนั้น ถ้า
ปรารถนาก็จะให้ราคาแกะนั้น ถ้าไม่ปรารถนาก็จะให้จับคอลากออกไป.
บทที่เหลือพึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสวัฏฏะและวิวัฏฏะ (นิพพาน) ไว้ในสูตรนี้แล.
จบอรรถกถาโลณกสูตรที่ 9

10. สังฆสูตร



ว่าด้วยอุปกิเลส 3 อย่าง



[541] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีอยู่ อุปกิเลส (เครื่องทำให้หมอง)
อย่างหยาบ ของทอง คือทรายปนดิน หินกรวด คนล้างดินหรือลูกมือเอาทอง
นั้นใส่ลงในรางแล้ว ล้างซาวเอาเครื่องมัวหมองอย่างหยาบนั้นออก เมื่อสิ้น
เครื่องมัวหมองอย่างหยาบแล้ว ยังมีเครื่องมัวหมองอย่างกลาง คือกรวดละเอียด
ทรายหยาบ คนล้างดินหรือลูกมือก็ล้างซาวเอาเครื่องมัวหมองอย่างกลางนั้นออก
ครั้นหมดเครื่องมัวหมองอย่างกลางแล้ว ยังมีเครื่องมัวหมองอย่างละเอียด
คือทรายละเอียด ผงดำ คนล้างดินหรือลูกมือ ก็ล้างซาวเอาเครื่องมัวหมอง
อย่างละเอียดนั้นออกอีก เมื่อเครื่องมัวหมองอย่างละเอียดสิ้นไปแล้ว ทีนี้
ก็เหลืออยู่แต่แร่ทอง
ช่างทองหรือลูกมือ เอาแร่ทองนั้นใส่เบ้าสูบเป่าไล่ขี้ ทองนั้นยังมิได้
สูบเป่าไล่ขี้ ยังไม่ละลาย ยังไม่หมดราคี ก็ยังไม่อ่อน ยังแต่งไม่ได้ สียัง
ไม่สุก ยังแตกได้ และใช้การยังไม่ได้ดี ต่อเมื่อช่างทองหรือลูกมือสูบเป่า
ไล่ขี้ไป จนได้ที่หมดราคีแล้ว ทองนั้นจึงอ่อนแต่งได้ สีสุก ไม่แตก และใช้
การได้ดี จะประสงค์ทำเป็นเครื่องประดับชนิดใด ๆ เช่นเข็มขัด ตุ้มหู
สร้อยคอ สังวาล ก็ได้ตามต้องการ
ฉันนั้นแหละ ภิกษุทั้งหลาย อุปกิเลสอย่างหยาบของภิกษุผู้ประกอบ
อธิจิตมีอยู่ คือกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ภิกษุชาติบัณฑิตมีจิตสมบูรณ์
ละ ถ่ายถอน อุปกิเลสอย่างหยาบนั้น ให้สิ้นไป ให้ไม่มีต่อไป ครั้นละ
อุปกิเลสอย่างหยาบให้สิ้นไปแล้ว ยังมีอุปกิเลสอย่างกลาง คือกามวิตก
พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก ภิกษุชาติบัณฑิตมีจิตสมบูรณ์ ละ ถ่ายถอน