เมนู

9. โลณกสูตร



ว่าด้วยการให้ผลของกรรม



[540] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใครพึงกล่าวว่า คนทำกรรมอย่างใดๆ
ย่อมเสวยกรรมนั้นอย่างนั้น ๆ ดังนี้ เมื่อเป็นอย่างนั้น การอยู่ประพฤติพรหม-
จรรย์ก็มีไม่ได้ ช่องทางที่จะทำที่สุดทุกข์โดยชอบก็ไม่ปรากฏ ส่วนใครกล่าวว่า
คนทำกรรมอันจะพึงให้ผลอย่างใด ๆ ย่อมเสวยผลของกรรมนั้นอย่างนั้น ๆ
ดังนี้ เมื่อเป็นอย่างนี้ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมมีได้ ช่องทางที่จะทำ
ที่สุดทุกข์โดยชอบก็ย่อมปรากฏ.
ภิกษุทั้งหลาย บาปกรรมแม้ประมาณน้อย ที่บุคคลลางคนทำแล้ว
บาปกรรมนั้นย่อมนำเขาไปนรกได้ บาปกรรมประมาณน้อย อย่างเดียวกันนั้น
ลางคนทำแล้ว กรรมนั้นเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม (ให้ผลในภพปัจจุบัน)
ไม่ปรากฏผลมากต่อไปเลย
บาปกรรมแม้ประมาณน้อย บุคคลชนิดไรทำแล้ว บาปกรรมนั้นจึง
นำเขาไปนรกได้ ? บุคคลลางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีกายมิได้อบรม มีศีลมิได้
อบรม มีจิตมิได้อบรม มีปัญญามิได้อบรม มีคุณความดีน้อย เป็นอัปปาตุมะ
(ผู้มีใจคับแคบ ใจหยาบ ใจต่ำทราม) เป็นอัปปทุกขวิหารี (มีปกติอยู่เป็น
ทุกข์ด้วยเหตุเล็กน้อย คือเป็นคนเจ้าทุกข์) บาปกรรมแม้ประมาณน้อย บุคคล
ชนิดนี้ทำแล้ว บาปกรรมนั้นย่อมนำเขาไปนรกได้
บาปกรรมประมาณน้อยอย่างเดียวกัน บุคคลชนิดไรทำแล้ว กรรม
นั้นจึงเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ไม่ปรากฏผลมากต่อไปเลย ? บุคคลลางคน
ในโลกนี้ เป็นผู้มีกายได้อบรมแล้ว มีศีลได้อบรมแล้ว มีจิตได้อบรมแล้ว

มีปัญญาได้อบรมแล้ว มีคุณความดีมาก เป็นมหาตมะ (ผู้มีใจกว้างขวาง
ใจบุญ ใจสูง) เป็นอัปปมาณวิหารี (มีปกติอยู่ด้วยธรรมอันหาประมาณมิได้
คือเป็นคนไม่มีหรือไม่แสดงกิเลส ซึ่งจะเป็นเหตุให้เขาประมาณได้ว่าเป็นคน
แค่ไหน) บาปกรรมประมาณน้อยอย่างเดียวกันนั้น บุคคลชนิดนี้ทำแล้ว
กรรมนั้นเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ไม่ปรากฏผลมากต่อไปเลย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต่างว่าคนใส่เกลือลงไปในถ้วยน้ำเล็กๆหนึ่งก้อน
ท่านทั้งหลายจะสำคัญว่ากระไร น้ำอันน้อยในถ้วยน้ำนั้นจะกลายเป็นน้ำเค็ม
ไม่น่าดื่มไปเพราะเกลือก้อนนั้นใช่ไหม.
ภิ. เป็นเช่นนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
พ. เพราะเหตุไร.
ภิ. เพราะเหตุว่า น้ำในถ้วยน้ำนั้นมีน้อย มันจึงเค็มได้...เพราะเกลือ
ก้อนนั้น.
พ. ต่างว่า คนใส่เกลือก้อนขนาดเดียวกันนั้น ลงไปในแม่น้ำคงคา
ท่านทั้งหลายจะสำคัญว่ากระไร น้ำในแม่น้ำคงคานั้นจะกลายเป็นน้ำเค็ม ดื่ม
ไม่ได้เพราะเกลือก้อนนั้นหรือ.
ภิ. หามิได้ พระพุทธเจ้าข้า.
พ. เพราะเหตุอะไร.
ภิ. เพราะเหตุว่า น้ำในแม่น้ำคงคามีมาก น้ำนั้นจึงไม่เค็ม...เพราะ
เกลือก้อนนั้น.
พ. ฉันนั้นนั่นแหละ ภิกษุทั้งหลาย บาปกรรมแม้ประมาณน้อย บุคคล
ลางคนทำแล้ว บาปกรรมนั้นย่อมนำไปนรกได้ ส่วนบาปกรรมประมาณน้อย
อย่างเดียวกันนั้น ลางคนทำแล้ว กรรมนั้นเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ไม่
ปรากฏผลมากต่อไปเลย...

ภิกษุทั้งหลาย คนลางคนย่อมผูกพันเพราะทรัพย์ แม้กึ่งกหาปณะ...
แม้ 1 กหาปณะ... แม้ 100 กหาปณะ ส่วนลางคนไม่ผูกพันเพราะทรัพย์
เพียงเท่านั้น
คนอย่างไร จึงผูกพันเพราะทรัพย์แม้กึ่งกหาปณะ ฯลฯ คนลางคน
ในโลกนี้เป็นคนจน มีสมบัติน้อย มีโภคะน้อย คนอย่างนี้ย่อมผูกพันเพราะ
ทรัพย์แม้กึ่งกหาปณะ. ฯลฯ
คนอย่างไร ไม่ผูกพันเพราะทรัพย์เพียงเท่านั้น ? คนลางคนในโลกนี้
เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก คนอย่างนี้ ย่อมไม่ผูกพันเพราะทรัพย์
เพียงเท่านั้น
ฉันนั้นนั่นแหละ ภิกษุทั้งหลาย บาปกรรมแม้ประมาณน้อย บุคคล
ลางคนทำแล้ว บาปกรรมนั้นย่อมนำเขาไปนรกได้ ส่วนบาปกรรมประมาณ
น้อยอย่างเดียวกันนั้น บุคคลลางคนทำแล้ว กรรมนั้นเป็นทิฏฐธรรมเวทนีย-
กรรม ไม่ปรากฏผลมากต่อไปเลย...
ภิกษุทั้งหลาย พรานแกะหรือคนฆ่าแกะลางคน อาจฆ่า มัด ย่าง
หรือทำตามประสงค์ซึ่งแกะที่ขโมยเขามาได้ ลางคนไม่อาจทำอย่างนั้น
พรานแกะหรือคนฆ่าแกะเช่นไร จึงอาจฆ่า มัด ย่าง หรือทำตาม
ประสงค์ ซึ่งแกะที่ขโมยเขามาได้ ? ลางคนเป็นคนยากจน มีสมบัติน้อย
มีโภคะน้อย พรานแกะหรือคนฆ่าแกะเช่นนี้ อาจฆ่า ฯลฯ ซึ่งแกะที่ขโมย
เขามาได้
พรานแกะหรือคนฆ่าแกะเช่นไร ไม่อาจทำอย่างนั้น ? ลางคนเป็นผู้
มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก เป็นพระราชาหรือราชมหาอำมาตย์ พรานแกะ
หรือคนฆ่าแกะเช่นนี้ไม่อาจทำอย่างนั้น มีแต่ว่าคนอื่นจะประณมมือขอกะเขาว่า
ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านโปรดให้แกะหรือทรัพย์ค่าซื้อแกะแก่ข้าพเจ้าบ้าง ดังนี้
ฉันใด

ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย บาปกรรมแม้ประมาณน้อย บุคคล
ลางคนทำแล้ว บาปกรรมนั้นนำเขาไปนรกได้ ส่วนบาปกรรมประมาณน้อย
อย่างเดียวกันนั้น ลางคนทำแล้ว กรรมนั้นเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ไม่
ปรากฏผลมากต่อไปเลย. . .
ภิกษุทั้งหลาย ใครกล่าวว่า คนทำกรรมอย่างใด ๆ ย่อมเสวยกรรม
นั้นอย่างนั้นๆ ดังนี้ เมื่อเป็นอย่างนั้น ๆ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมมีไม่ได้
ช่องทางที่จะทำที่สุดทุกข์โดยชอบก็ไม่ปรากฏ ส่วนใครกล่าวว่า คนทำกรรม
อันจะพึงให้ผลอย่างใด ๆ ย่อมเสวยผลของกรรมนั้นอย่างนั้น ๆ ดังนี้ เมื่อเป็น
อย่างนี้ การอยู่พระพฤติพรหมจรรย์ย่อมมีได้ ช่องทางที่จะทำที่สุดทุกข์โดยชอบ
ก็ย่อมปรากฏ.
จบโลณกสูตรที่ 9

อรรถกถาโลณกสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในโลณกสูตรที่ 9 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ยถา ยถายํ ตัดบทเป็น ยถา ยถา อยํ. บทว่า ตถา
ตถา ตํ
ได้แก่ ตถา ตถา ตํ กมฺมํ. มีคำอธิบายดังนี้ว่า ผู้ใดพึงกล่าว
ไว้อย่างนี้ว่า บุคคลทำกรรมไว้โดยประการใด ๆ ก็จะเสวยวิบาก (ผล) ของ
กรรมนั้นโดยประการนั้นๆ เพราะว่าใครๆไม่สามารถที่จะไม่เสวยวิบากของกรรม
ที่ทำไว้แล้ว เพราะฉะนั้น บุคคลทำกรรมไว้เท่าใด ก็จะเสวยวิบากของกรรม
เท่านั้นทีเดียว. บทว่า เอวํ สนฺตํ คือ เอวํ สนฺเต แปลว่า เมื่อเป็น
อย่างนี้. บทว่า พฺรหฺมจริยวาโส น โหติ ความว่า อุปปัชชเวทนียกรรมใด