เมนู

อรรถกถาปริสาสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในปริสาสูตรที่ 4 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า พาหุลฺลิกา น โหนฺติ ความว่า ไม่เป็นผู้มักมากด้วย
ปัจจัย. บทว่า น สาถลิกา คือ ไม่รับสิกขา 3 ทำให้ย่อหย่อน. บทว่า
โอกฺกมเน นิกฺขิตตฺธุรา ความว่า นิวรณ์ 5 เรียกว่า โอกกมนะ เพราะ
หมายความว่า ทำให้ตกต่ำ (ภิกษุผู้เถระ) เป็นผู้ทอดทิ้งธุระในนิวรณ์ซึ่งทำ
ให้ตกต่ำเหล่านั้น. บทว่า ปวิเวเก ปุพฺพงฺคมา ความว่า เป็นหัวหน้าใน
วิเวก 3 อย่าง กล่าวคือ กายวิเวก จิตตวิเวก และอุปธิวิเวก. บทว่า
วิริยํ อารภนฺติ ได้แก่ เริ่มความเพียรทั้ง 2 อย่าง. บทว่า อปฺปตฺตสฺส
ได้แก่ ไม่บรรลุคุณวิเศษ กล่าวคือ ฌาน วิปัสสนา มรรค และผล. แม้
ในสองบทที่เหลือก็มีนัย นี้แล.
บทว่า ปจฺฉิมา ชนตา ได้แก่ ประชุมชนภายหลังมีสัทธิวิหาริก
และอันเตวาสิกเป็นต้น. บทว่า ทิฏฺฐานุคตึ อาปชฺชติ ความว่า ทำตาม
ที่อุปัชฌาย์และอาจารย์ได้ทำมาแล้ว. ประชุมชนภายหลังนี้ชื่อว่า ถึงการดำเนิน
ไปตามสิ่งที่ประชุมชนนั้นได้เห็นมาแล้ว ในอุปัชฌาย์อาจารย์. บทว่า อยํ
วุจฺจติ ภิกฺขเว อคฺควตี ปริสา
ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้
เรียกว่า บริษัทที่มีแต่คนดี.
บทว่า ภณฺฑนชาตา แปลว่า เกิดการบาดหมางกัน. บทว่า
กลหชาตา แปลว่า เกิดการทะเลาะกัน ก็ส่วนเบื้องต้นของการทะเลาะกัน
ชื่อว่า การบาดหมางในสูตรนี้. การล่วงเกินกันด้วยอำนาจ (ถึงขนาด) จับมือ
กันเป็นต้น ชื่อว่า การทะเลาะกัน. บทว่า วิวาทาปนฺนา ได้แก่ ถึงการ