เมนู

อรรถกถาอปัณณกสูตร



พึงทราบวินิจฉัยใน อปัณณกสูตรที่ 6 ดังต่อไปนี้:-
บทว่า อปณฺณกปฏิปทํ ความว่า พระอริยบุคคลเป็นผู้ปฏิบัติ
ข้อปฏิบัติที่ไม่ผิดพลาด คือข้อปฏิบัติที่ดีโดยส่วนเดียว ข้อปฏิบัติที่นำสัตว์
ออกจากกาม ข้อปฏิบัติที่ประกอบด้วยเหตุ ข้อปฏิบัติที่มีสาระ ข้อปฏิบัติ
ที่เป็นหลัก (มัณฑปฏิปทา) ข้อปฏิบัติที่ไม่เป็นข้าศึก ข้อปฏิบัติที่เหมาะสม
ข้อปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่ใช่ปฏิบัติโดยการคาดคะเน (ตักกวิทยา)
หรือโดยถือเอาตามนัย. เพราะว่า ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรือ อุบาสิกา
ผู้ก่อปฏิบัติอย่างนี้ (ถือโดยตักกะ ถือโดยนัย)จะเสื่อมจากมนุษยสมบัติ เทวสมบัติ
และนิพพานสมบัติ. ส่วนผู้ปฏิบัติอปัณณกปฏิปทา จะไม่เสื่อมจากสมบัติเหล่านั้น.

นายกองเกวียน 2 พวก



เหมือนในอดีตสมัย เมื่อนายกองเกวียน 2 พวก เดินทางไปสู่ที่
กันดาร นายกองเกวียนผู้โง่เขลา เชื่อคำของยักษ์ ถึงความฉิบหายพร้อมกับ
พวกพ่อค้า (ส่วน) นายกองเกวียนผู้ฉลาด ไม่เชื่อฟังคำของยักษ์ คิดว่า
เราจักทิ้งน้ำในที่เราได้พบน้ำ ดังนี้แล้ว ให้สัญญาณกับพวกพ่อค้า1 แล้วจึง
เดินทางไป ซึ่งท่านหมายเอา กล่าว คาถานี้ ว่า
คนพวกหนึ่งได้กล่าว ฐานะ ที่ไม่
ผิด นักคาดคะเน กล่าวฐานะที่สอง (ผิด)
นักปราชญ์รู้ฐานะถูกผิดนี้แล้ว ควรถือเอา
แต่ฐานะที่ไม่ผิด.

1. ปาฐะว่า สตฺถวาเหน สทฺธึ สตฺเถ อนยพฺสนํ ปตเต ฉบับพม่าเป็น พาลสตฺถวาโห สทฺธึ
สตฺเถน อพฺยสนํ ปตฺเต แปลตามฉบับพม่า.