เมนู

อรรถกถาวิวิตตสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในวิวิตตสูตรที่ 2 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า จีวรปวิเวกํ ได้แก่ ความสงัดจากกิเลสที่เกิดขึ้นเพราะอาศัย
จีวร. แม้ในสองบทที่เหลือ ก็มีนัย อย่างเดียวกันนี้แล. บทว่า
สาณานิ ได้แก่ผ้าที่ทอด้วยป่าน. บทว่า มสาณานิ ได้แก่ ผ้ามีเนื้อปนกัน.
บทว่า ฉวทุสฺสานิ ได้แก่ ผ้าที่ทิ้งจากร่างของคนตาย. หรือผ้านุ่งที่ทำโดย
กรองหญ้าเอรกะเป็นต้น. บทว่า ปํสุกูลานิ ได้แก่ ผ้าไม่มีชายที่ทิ้งไว้
บนแผ่นดิน. บทว่า ติรีฏกานิ ได้แก่ผ้าเปลือกไม้. บทว่า อชินจมฺมานิ
ได้แก่ หนังเสือเหลือง. บทว่า อชินกฺขิปํ ได้แก่ หนังเสือเหลืองนั้นแล
ที่ผ่ากลาง อาจารย์บางพวกกล่าวว่า สหขุรกํ หนังเสือที่มีเล็บติด ดังนี้บ้าง.
บทว่า กุสจีรํ ได้แก่ จีวรที่ถักหญ้าคาทำ. แม้ในผ้าคากรองและผ้าเปลือกไม้
ก็มีนัย นี้แล. บทว่า เกสกมฺพลํ ได้แก่ ผ้ากัมพลที่ทำด้วยผมมนุษย์.
บทว่า วาลกมฺพลํ ได้แก่ ผ้ากัมพลที่ทำด้วยหางม้าเป็นต้น. บทว่า
อุลูกปกฺขิกํ ได้แก่ ผ้านุ่งที่ทำโดยปีกนกฮูก.
บทว่า สากภกฺขา ได้แก่มี ผักสดเป็นภักษา. บทว่า สามากภกฺขา
ได้แก่ มีข้าวฟ่างเป็นภักษา. ในบทว่า นิวาระ เป็นต้น วีหิชาติที่งอกขึ้นเอง
ในป่า ชื่อว่า นิวาระ (ลูกเดือย). บทว่า ททฺทุลํ ได้แก่ เศษเนื้อที่พวก
ช่างหนังแล่หนังแล้วทิ้งไว้. ยางเหนียวก็ดี สาหร่ายก็ดี ยางไม้มีต้นกรรณิการ์
เป็นต้นก็ดี เรียกว่า หฏะ. บทว่า กณํ แปลว่า รำข้าว. บทว่า อาจาโม
ได้แก่ ข้าวตังที่ติดหม้อข้าว เดียรถีย์ทั้งหลายเก็บเอาข้าวตังนั้นในที่ที่เขา
ทิ้งไว้แล้วเคี้ยวกิน. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า โอทนกญฺชิยํ ดังนี้บ้าง. งาป่น

เป็นต้น ก็ปรากฏชัดแล้วแล. บทว่า ปวตฺตผลโภชี ได้แก่ มีปกติบริโภค
ผลไม้ที่หล่นเอง. บทว่า ภุสาคารํ ได้แก่ โรงแกลบ.
บทว่า สีลวา ได้แก่ ประกอบด้วยปาริสุทธิศีล 4. บทว่า
ทุสฺสีลญฺจสฺส ปหีนํ โหติ ความว่า ทุศีล 5 เป็นอันภิกษุนั้นละได้แล้ว.
บทว่า สมฺมาทิฏฺฐิโก ได้แก่เป็นผู้มีทิฏฐิ (ความเห็น) ตามความเป็นจริง.
บทว่า มิจฺฉาทิฏฺฐิ ได้แก่ เป็นผู้มีทิฏฐิไม่เป็นไปตามความเป็นจริง. บทว่า
อาสวา ได้แก่ อาสวะ 4. บทว่า อคฺคปฺปตโต ได้แก่ ถึงยอดศีล. บทว่า
สารปฺปตฺโต ได้แก่ ถึงสีลสาระ (แก่นคือศีล). บทว่า สุทฺโธ แปลว่า
บริสุทธิ์. บทว่า สาเร ปติฏฺฐิโต ได้แก่ตั้งมั่นอยู่ในสารธรรม คือ ศีลสมาธิ
และปัญญา.
บทว่า เสยฺยถาปิห เท่ากับ ยถา นาม (ชื่อฉันใด). บทว่า สมฺปนฺนํ
คือ บริบูรณ์ ได้แก่ เต็มด้วยข้าวสาลีสุก. บทว่า สํฆราเปยฺย ได้แก่
ชาวนาพึงให้ขนมา. บทว่า อุพฺพหาเปยฺย ได้แก่ พึงให้นำมาสู่ลาน.
บทว่า ภุสิกํ แปลว่า แกลบ. บทว่า โกฏฺฏาเปยฺย ได้แก่ พึงให้เทลง
ไปในครก แล้วเอาสากตำ. บทว่า อคฺคปฺปตฺตานิ ได้แก่ (ธัญชาติทั้งหลาย)
ถึงความเป็นข้าวงาม. แม้ในบทว่า สารปฺปตฺตานิ เป็นต้น ก็มีนัยนี้แล.
ส่วนบทที่เหลือมีความหมายง่ายทั้งนั้น.
ส่วนคำใดที่ตรัสไว้ในสูตรนี้ว่า ความทุศีลภิกษุนั้นละได้แล้ว และ
มิจฉาทิฏฐิภิกษุนั้นก็ละได้แล้ว ดังนี้ คำนั้นพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสหมายเอาความทุศีล และมิจฉาทิฏฐิอันภิกษุละได้แล้วด้วยโสดาปัตติ-
มรรค.
จบอรรถกถาวิวิตตสูตรที่ 2

3. สรทสูตร



ว่าด้วยการละสังโยชน์ 3 ด้วยธรรมจักษุ


[534] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในหน้าสารท ท้องฟ้าแจ่ม ปราศจากเมฆ
ดวงอาทิตย์ส่องฟ้า ขจัดความมืดในอากาศสิ้น ทั้งสว่าง ทั้งสุกใส ทั้งรุ่งเรือง
ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมจักษุ (ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรม) อัน-
ปราศจากธุลีไม่มีมลทิน (คือกิเลส) เกิดขึ้นแก่อริยสาวก ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
พร้อมกับเกิดความเห็นขึ้นนั้น สังโยชน์ 3 คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา
สีลัพพตปรามาส
อริยสาวกย่อมละได้ ต่อไป เธอออกจากธรรมอีก 2
ประการ คืออภิชฌา และพยาบาท. เธอสงัดจากกาม...จากอกุศลธรรมทั้งหลาย
เข้าปฐมฌาน อันมีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวก. ภิกษุทั้งหลาย
ถ้าอริยสาวกทำกาลกิริยา (ตาย) ในสมัยนั้น สังโยชน์ซึ่งเป็นเหตุทำให้
อริยสาวกผู้ติดอยู่มาสู่โลกนี้อีก ย่อมไม่มี...
จบสรทสูตรที่ 3

อรรถกถาสรทสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในสรทสูตรที่ 3 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า วิทฺเธ คือ ปลอดโปร่งเพราะปราศจากเมฆ. บทว่า เทเว
คือ อากาศ. บทว่า อภิวิหจฺจ คือ กำจัด. บทว่า ยโต คือ ในกาลใด.
บทว่า วิรชํ คือ ปราศจากธุลีมีธุลีคือราคะเป็นต้น ที่ชื่อว่า ปราศจากมลทิน
เพราะมลทินเหล่านั้นแล ปราศจากไปแล้ว. บทว่า ธมฺมจกฺขุํ ได้แก่ จักษุ