เมนู

อรรถกถาวิวิตตสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในวิวิตตสูตรที่ 2 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า จีวรปวิเวกํ ได้แก่ ความสงัดจากกิเลสที่เกิดขึ้นเพราะอาศัย
จีวร. แม้ในสองบทที่เหลือ ก็มีนัย อย่างเดียวกันนี้แล. บทว่า
สาณานิ ได้แก่ผ้าที่ทอด้วยป่าน. บทว่า มสาณานิ ได้แก่ ผ้ามีเนื้อปนกัน.
บทว่า ฉวทุสฺสานิ ได้แก่ ผ้าที่ทิ้งจากร่างของคนตาย. หรือผ้านุ่งที่ทำโดย
กรองหญ้าเอรกะเป็นต้น. บทว่า ปํสุกูลานิ ได้แก่ ผ้าไม่มีชายที่ทิ้งไว้
บนแผ่นดิน. บทว่า ติรีฏกานิ ได้แก่ผ้าเปลือกไม้. บทว่า อชินจมฺมานิ
ได้แก่ หนังเสือเหลือง. บทว่า อชินกฺขิปํ ได้แก่ หนังเสือเหลืองนั้นแล
ที่ผ่ากลาง อาจารย์บางพวกกล่าวว่า สหขุรกํ หนังเสือที่มีเล็บติด ดังนี้บ้าง.
บทว่า กุสจีรํ ได้แก่ จีวรที่ถักหญ้าคาทำ. แม้ในผ้าคากรองและผ้าเปลือกไม้
ก็มีนัย นี้แล. บทว่า เกสกมฺพลํ ได้แก่ ผ้ากัมพลที่ทำด้วยผมมนุษย์.
บทว่า วาลกมฺพลํ ได้แก่ ผ้ากัมพลที่ทำด้วยหางม้าเป็นต้น. บทว่า
อุลูกปกฺขิกํ ได้แก่ ผ้านุ่งที่ทำโดยปีกนกฮูก.
บทว่า สากภกฺขา ได้แก่มี ผักสดเป็นภักษา. บทว่า สามากภกฺขา
ได้แก่ มีข้าวฟ่างเป็นภักษา. ในบทว่า นิวาระ เป็นต้น วีหิชาติที่งอกขึ้นเอง
ในป่า ชื่อว่า นิวาระ (ลูกเดือย). บทว่า ททฺทุลํ ได้แก่ เศษเนื้อที่พวก
ช่างหนังแล่หนังแล้วทิ้งไว้. ยางเหนียวก็ดี สาหร่ายก็ดี ยางไม้มีต้นกรรณิการ์
เป็นต้นก็ดี เรียกว่า หฏะ. บทว่า กณํ แปลว่า รำข้าว. บทว่า อาจาโม
ได้แก่ ข้าวตังที่ติดหม้อข้าว เดียรถีย์ทั้งหลายเก็บเอาข้าวตังนั้นในที่ที่เขา
ทิ้งไว้แล้วเคี้ยวกิน. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า โอทนกญฺชิยํ ดังนี้บ้าง. งาป่น