เมนู

โลณผลวรรควรรณนาที่ 5



อรรถกถาอัจจายิกสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในอัจจายิกสูตรที่ 1 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อจฺจายิกานิ แปลว่า รีบด่วน. บทว่า กรณียานิ แปลว่า
กิจที่ต้องทำอย่างแน่แท้ ก็ธุระใดไม่ต้องทำเป็นการแน่แท้ ธุระนั้นเรียกว่ากิจ
(งานอดิเรก) ธุระที่ต้องทำเป็นการแน่แท้ชื่อว่า กรณียะ (งานประจำ). บทว่า
สีฆสีฆํ แปลว่า โดยเร็ว ๆ. บทว่า ตํ ในคำว่า ตสฺส โข ตํ นี้ เป็น
เพียงนิบาต. บทว่า นตฺถิ สา อิทฺธิ วา อานุภาโว วา ความว่า
ฤทธิ์นั้นหรืออานุภาพนั้นไม่มี.
บทว่า อุตฺตรเสฺว ได้แก่ ในวันที่ 3 (วันมะรืน). บทว่า อุตุ-
ปริณามีนิ
ได้แก่ ธัญชาติทั้งหลายได้ความเปลี่ยนแปลงฤดู. บทว่า ชายนฺติปิ
ได้แก่ มีหน่อสีขาวงอกออกในวันที่ 3 เมื่อครบ 7 วัน หน่อก็กลับเป็นสีเขียว.
บทว่า คพฺภินีปิ โหนฺติ ความว่า ถึงเวลาเดือนครึ่งก็ตั้งท้อง. บทว่า
ปจนฺติปิ ความว่า ถึงเวลา 3 เดือนก็สุก.
บัดนี้ เพราะเหตุที่ พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มีความต้องการด้วย
คฤหบดีหรือด้วยข้าวกล้า แต่ที่ทรงนำอุปมานั้น ๆ มาก็เพื่อจะทรงแสดง
บุคคลหรืออรรถที่เหมาะสมกับเทศนานั้นในศาสนา ฉะนั้น เมื่อจะทรงแสดง
ความหมายที่พระองค์ทรงประสงค์จะแสดง (ซึ่งเป็นเหตุให้) นำอุปมานั้นมา
จึงตรัสคำว่า เอวเมว โข เป็นต้น. สูตรนั้น เมื่อว่าโดยอรรถ ง่ายทั้งนั้นแล.
ก็ สิกขา พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสไว้คละกัน แม้ในสูตรนี้.
จบอรรถกถาอัจจายิกสูตรที่ 1

2. วิวิตตสูตร



ว่าด้วยความสงัดจากกิเลส 3 อย่าง



[533] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปริพาชกทั้งหลายผู้ถือลัทธิอื่น ย่อม
บัญญัติปวิเวก (ความสงบสงัด) 3 นี้ ปวิเวก 3 คืออะไร คือ จีวรปวิเวก
(ความสงบสงัดเนื่องด้วยผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาตปวิเวก (ความสงบสงัดเนื่อง
ด้วยอาหาร) เสนาสนปวิเวก (ความสงบสงัดเนื่องด้วยที่อยู่อาศัย)
บรรดาปวิเวก 3 นั้น ในจีวรปวิเวก พวกปริพาชกบัญญัติผ้า ดังนี้
คือ เขาใช้ (สาณ) ผ้าทำด้วยเปลือกป่านบ้าง (มสาณ) ผ้าทำด้วยเปลือกป่าน
แกมด้ายบ้าง (ฉวทุสฺส) ผ้าห่อศพบ้าง (ปํสุกูล) ผ้าที่เขาทิ้งแล้วบ้าง
(ติรีฏก) เปลือกไม้บ้าง (อชิน) หนังสัตว์บ้าง (อชินกฺขิปา) หนังสัตว์
มีเล็บติดบ้าง (กุสจีร) คากรองบ้าง (วากจีร) เปลือกไม้กรองบ้าง (ผลกจีร)
ผลไม้กรองบ้าง (เกสกมฺพล) ผ้ากัมพลทำด้วยผมคนบ้าง (วาลกมฺพล)
ผ้ากัมพลทำด้วยขนหางสัตว์บ้าง (อุลูกปกฺข) ปีกนกเค้าบ้าง
ในบิณฑบาตปวิเวก เขาบัญญัติอาหารดังนี้ คือ (สากภกฺขา)
กินผักบ้าง (สามากภกฺขา) กินข้าวฟ่างบ้าง (นิวารภกฺขา) กินลูกเดือยบ้าง
(ททฺทุลภกฺขา) กินกากหนัง (ที่ช่างหนังขูดทิ้ง) บ้าง (หฏภกฺขา)
กินยางไม้บ้าง (กณภกฺขา) กินรำข้าวบ้าง (อาจามภกฺขา) กินข้าวตังบ้าง
(ปิญฺญากภกฺขา) กินงาป่นบ้าง (ติณภกฺขา) กินหญ้าบ้าง (โคมยภกฺขา)
กินมูลโคบ้าง (วนมูลผลาหาร) กินเง่าและผลไม้ป่าบ้าง (ปวตฺตผลโภชี)
กินผลไม้ที่มีอยู่ (ในพื้นเมือง) บ้าง ยังชีพให้เป็นไป