เมนู

ตลอดกาลนาน เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่สรรเสริญภิกษุรูปนั้น จะเป็นเถระ
มัชฌิมะ นวกะก็ตาม
แต่ถ้าภิกษุเถระก็ดี ภิกษุมัชฌิมะก็ดี ภิกษุนวกะก็ดี เป็นผู้ใคร่
ศึกษา กล่าวคุณแห่งการบำเพ็ญสิกขา ชักชวนภิกษุอื่น ๆ ที่ไม่ใคร่ศึกษาให้
ศึกษา ยกย่องภิกษุอื่น ๆ ที่ใคร่ศึกษา โดยที่จริงที่แท้ตามเวลาอันควร
เราสรรเสริญภิกษุเถระ ภิกษุมัชฌิมะ และภิกษุนวกะ เช่นนี้ เพราะเหตุอะไร
เพราะเหตุว่า ภิกษุอื่น ๆ รู้ว่าพระศาสดาสรรเสริญเธอ ก็จะพึงคบเธอ ภิกษุ
เหล่าใดคบเธอ ภิกษุเหล่านั้นก็จะพึงได้เยี่ยงอย่างของเธอ ซึ่งจะพึงเป็นทาง
เกิดประโยชน์ เกิดสุขแก่ภิกษุผู้คบตลอดกาลนาน เพราะเหตุนั้น เราจึง
สรรเสริญภิกษุเช่นนั้นจะเป็นเถระ มัชฌิมะ นวกะก็ตาม.
จบปังกธาสูตรที่ 11
จบสมณวรรคที่ 4


อรรถกถาปังกธาสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในปังกธาสูตรที่ 11 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปํกธา นาม โกสลานํ นิคโม ความว่า นิคมในโกสลรัฐ
ที่มีชื่ออย่างนี้ว่า ปังกธา. บทว่า อาวาสิโก ความว่า ภิกษุเจ้าอาวาสร้าง
อาวาสหลังใหม่ ๆ ขึ้น บำรุงรักษาอาวาสหลังเก่าๆ. บทว่า สิกฺขาปทปฏิสํ-
ยุตฺตาย
ได้แก่ ปฏิสังยุตด้วยบทกล่าวคือสิกขา อธิบายว่า ประกอบด้วย
สิกขา 3. บทว่า สนฺทสฺเสติ ได้แก่ ทรงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นเหมือนอยู่
พร้อมหน้า. บทว่า สมาทเปติ ได้แก่ให้ภิกษุทั้งหลายถือเอา. บทว่า สมุตฺเต

เชติ คือ ให้ภิกษุทั้งหลายอาจหาญ. บทว่า สมฺปหํเสติ คือ ตรัสสรรเสริญ
ทำภิกษุทั้งหลายให้ผ่องใส ด้วยคุณที่ตนได้แล้ว. บทว่า อธิสลฺเลขติ ได้แก่
สมณะนี้ย่อมขัดเกลาเหลือเกิน อธิบายว่า สมณะนี้ย่อมกล่าวธรรมที่ละเอียดๆ
ทำให้ละเมียดละไมเหลือเกิน.
บทว่า อจฺจโย คือ ความผิด. บทว่า มํ อจฺจคฺคมา คือ ล่วงเกินเรา
ได้แก่ข่มเรา เป็นไป. บทว่า อหุเทว อกฺขนฺติ ความว่า ความไม่อดกลั้น
ได้มีแล้วทีเดียว. บทว่า อหุ อปฺปจฺจโย ความว่า อาการไม่ยินดีได้มีแล้ว.
บทว่า ปฏิคฺคณฺหาตุ ความว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงอดโทษ. บทว่า
อายตึ สํวราย คือ เพื่อประโยชน์แก่ความสำรวมในอนาคต อธิบายว่า เพื่อ
ต้องการจะไม่ทำความผิด คือโทษ ได้แก่ ความพลั้งพลาด เห็นปานนี้อีก.
บทว่า ตคฺฆ เป็นนิบาตโดยส่วนเดียว.
บทว่า ยถาธมฺมํ ปฏิกโรสิ คือ ธรรมดำรงอยู่โดยประการใด
เธอก็ทำโดยประการนั้น มีคำอธิบายว่า ให้อดโทษ. บทว่า ตํ เต มยํ
ปฏิคฺคณฺหาม
ความว่า เราทั้งหลายยอมยกโทษนั้นให้เธอ. บทว่า วุฑฒิ
เหสา กสฺสป อริยสฺส วินเย
ความว่า ดูก่อนกัสสปะ นี้ชื่อว่า เป็น
ความเจริญในศาสนาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า. ถามว่า ความเจริญเป็น
ไฉน ? ตอบว่า การเห็นโทษว่าเป็นโทษแล้ว ทำคืนตามธรรมถึงความสำรวม
ต่อไป. ก็ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงทำเทศนาให้เป็นปุคคลาธิษฐาน จึง
ตรัสว่า โย อจฺจยํ อริยสฺส ทิสฺวา ยถาธมฺมํ ปฏิกโรติ อายตึ สํวรํ
อาปชฺชติ
แปลว่า ผู้ใดเห็นโทษโดยความเป็นโทษ กระทำคืนตามธรรมเนียม
ย่อมถึงความสำรวมต่อไป ดังนี้.

บทว่า น สิกฺขากาโม ความว่า ภิกษุไม่ต้องการ คือ ไม่ปรารถนา
ได้แก่ ไม่กระหยิ่มใจต่อสิกขา 3. บทว่า สิกขาสมาทานสฺส คือ แห่งการ
บำเพ็ญสิกขาให้บริบูรณ์. บทว่า น วณฺณวาที คือ ไม่กล่าวคุณ. บทว่า
กาเลน คือ โดยกาลอันเหมาะสม. บทที่เหลือในสูตรนี้มีความหมาย ง่าย
ทั้งนั้น แล.
จบอรรถกถาปังกธาสูตรที่ 10
จบสมณวรรควรรณนาที่ 4


รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. สมณสูตร 2. คัทรภสูตร 3. เขตตสูตร 4. วัชชีปุตตสูตร
5. ปฐมเสขสูตร 6. ทุติยเสขสูตร 7. ตติยเสขสูตร 8. จตุตถเสขสูตร
9. ปฐมสิกขาสูตร 10. ทุติยสิกขาสูตร 11. ปังกธาสูตร และอรรถกถา